วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

The Selfish Gene

The Selfish Gene

ผู้แต่ง ริชาร์ด ดอว์กินส์

ตีพิมพ์ครั้งแรก ปี พ.ศ. ๒๕๓๓

ประเภท วิวัฒนาการ ปรัชญา วิเคราะห์

พิมพ์โดย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด

แนะนำโดย ชินวิทย์ เลิศบรรณพงษ์

เป็นที่ทราบกันดีว่า หนังสือจำพวกวิทยาศาสตร์ร่วมสมัย มักจะเหมาะกับผู้ใฝ่รู้ทุกเพศทุกวัย ในแง่ที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหา ที่ชวนปวดเศียรเวียนเกล้าพร้อมๆกับชวนง่วงนอน ให้กลายเป็นเนื้อหาที่ผู้คนทั่วไปอ่านเข้าใจง่าย และน่าติดตามในเวลาเดียวกันซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว จุดประสงค์อันดับแรกของผู้เขียนก็ย่อมต้องการให้ผู้อ่านในวงกว้าง “รับทราบ” ถึงความก้าวหน้าของแวดวงวิทยาศาสตร์ — อย่างน้อยก็เท่าที่ผู้เขียนคิดว่าสามารถอธิบายให้คนธรรมดาเข้าใจได้The Selfish Gene อาจเป็นหนังสืออีกเล่มที่เขียนขึ้นตามครรลองของวิทยาศาสตร์ร่วมสมัย ทว่า มันไม่ได้พอใจจะจำกัดบทบาทของตัวเองไว้เพียงแค่ตำราเรียนอ่านสนุกเท่านั้น หากพยายามก้าวข้ามขีดจำกัดของหนังสือประเภทนี้ ด้วยการท้าทายคติความเชื่อเดิมๆ ขณะเดียวกัน ก็กระตุ้นผู้อ่านในวงกว้างเข้ามา “มีส่วนร่วม” ในการขบคิดและถกเถียงประเด็นความขัดแย้งนี้ด้วยมีข้อควรระวังเล็กน้อยก่อนหยิบหนังสือเล่มนี้ ประการแรก ผู้อ่านควรมีความรู้พื้นฐานด้านชีววิทยาเบื้องต้นมาบ้าง โดยเฉพาะเกี่ยวกับกฏการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ประการที่สอง เนื้อหามองโลกในแง่ร้ายอาจไม่เหมาะสำหรับเยาวชนหรือผู้อ่านที่ยังไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอ และประการสุดท้าย นี่คือหนังสือที่ผู้อ่านควรทำความรู้จักเนื้อหาคร่าวๆของมันก่อน สำหรับพวกอนุรักษ์นิยม พวกเคร่งศีลธรรม หรือแม้แต่พวกมนุษย์นิยมบางประเภทแล้ว เนื้อหาแรงๆของ The Selfish Gene อาจทำให้น้ำลายฟูมปากได้ไม่ยากเลยในทางตรงกันข้าม สำหรับผู้ที่สอบผ่านคำเตือนดังกล่าวข้างต้นแล้ว The Selfish Gene คืออาหารสมองชั้นดีสำหรับนักอ่านที่เปิดใจกว้าง มันพูดถึงปริศนาของชีวิตในมุมกลับหัวกลับหางโดยมีหลักการวิทยาศาสตร์หนุนหลัง ขณะเดียวกัน ก็ยังสามารถนำเสนอสาระสำคัญที่น่าทึ่งและน่ากระอักกระอ่วนด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายThe Selfish Gene ยืนหยัดท้าทายความคิดความเชื่อของผู้อ่านทั่วโลกมาแล้วร่วม ๓ ทศวรรษ ได้รับการแปลเป็นภาษาอื่นๆกว่า ๒๐ ภาษา ซ้ำยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั้งแง่ชื่นชมและแง่เสียๆหายๆอย่างกว้างขวาง แน่นอน ไม่บ่อยนักที่จะมีหนังสือวิทยาศาสตร์ร่วมสมัยผ่านร้อนผ่านหนาวอย่างทรหดขนาดนี้ และนั่นก็คงเป็นคำจำกัดความของหนังสือได้อย่างดีก่อนที่คุณจะตัดสินใจอ่านมันในช่วงแรก ผู้เขียนพยายามทำความเข้าใจเบื้องต้นกับผู้อ่านเกี่ยวกับภาพกว้างๆของหนังสือเล่มนี้ ดอว์กินส์อ้างว่า ศีลธรรมอันดีของมนุษย์ไม่ได้มีเหตุผลทางทฤษฎีรองรับอยู่เลย การคาดหวังให้มนุษย์ปฏิบัติต่อกันด้วยความกรุณาและปราศจากความเห็นแก่ตัวนั้นขัดกับธรรมชาติของเราเอง เขาไม่ได้กล่าวโทษมนุษย์หรือยีนว่าเป็นต้นเหตุแห่งความชั่วร้าย แต่ “ความเห็นแก่ตัว” เป็นเรื่องปรกติธรรมดาสำหรับกฏการคัดเลือกโดยธรรมชาติยิ่งไปกว่านั้น หน่วยมูลฐานที่ผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาตินั้นไม่ใช่การคัดเลือกกลุ่ม หรือ การคัดเลือกเผ่าพันธุ์ อย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกัน การยึดถือเอาว่าสิ่งมีชีวิตเป็นผลผลิตของกระบวนการวิวัฒนาการ จึงอาจเป็นการทึกทักเอาเองจากวิธีมองโลกโดยยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ดอว์กินส์เสนอว่า หน่วยมูลฐานที่ผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติคือ ยีน นั่นหมายความว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ไม่ว่าปรสิต ต้นไม้ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หรือแม้แต่มนุษย์ อาจเป็นเพียงเกราะหุ้มหรือเครื่องกลสำหรับการดำรงชีวิตของยีนกลุ่มหนึ่งเท่านั้นดอว์กินส์ยังกล่าวอ้างถึงความสำเร็จในการสร้างโมเลกุลอินทรีย์ในห้องทดลอง ซึ่งเลียนแบบสภาพแวดล้อมโลกยุคดึกดำบรรพ์ การทดลองดังกล่าวยืนยันถึง ความเป็นไปได้ที่จะเกิดโมเลกุลอินทรีย ์ในมหาสมุทรยุคดึกดำบรรพ์ จนกระทั่ง ๓.๕ พันล้านปีก่อน มันจึงเริ่มมีความสามารถจำลองตัวเองได้ และอีกหกร้อยล้านปีให้หลัง นักจำลองตัวเองเหล่านี้ก็อาศัยอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และถูกเรียกโดยมนุษย์ว่า “ยีน”จากนั้นเขาจึงนำพาผู้อ่านไปรู้จักยีน โครโมโซม และดีเอ็นเอ ยีนหนึ่งๆ ต้องแย่งพื้นที่จำกัดบนโครโมโซมกับยีนคู่ตรงข้ามของมันเอง ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการอยู่รอดของตัวเอง ด้วยการลดโอกาสการอยู่รอดของศัตรู พฤติกรรมลักษณะนี้ผู้เขียนให้นิยามไว้ว่าเป็น ความเห็นแก่ตัวของยีน นอกจากนี้ โอกาสการอยู่รอดของตัวอ่อน – เครื่องกลเพื่อความอยู่รอด - ก็หมายถึงโอกาสการอยู่รอดของยีนเท่าๆกัน ต่อเมื่อผ่านพ้นช่วงที่ยีนจำลองตัวเองสำเร็จแล้ว เครื่องกลเพื่อความอยู่รอดจึงหมดประโยชน์ แก่ลง และตายจากไป อย่างไรก็ตาม หน่วยเล็กๆ จำนวนมากของยีนจะยังคงเพิ่มจำนวนและดำรงอยู่ในรุ่นลูก รุ่นหลาน และรุ่นต่อๆไปตลอดกาลสิ่งมีชีวิตต่างมีวิวัฒนาการที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ เพื่อปกป้องยีนที่อยู่ภายใน กระนั้น จิตสำนึกของเราก็ไม่ได้ถูกยีนบงการอยู่ตลอดเวลา ดอว์กินส์เปรียบเทียบประเด็นนี้ไว้อย่างน่าสนใจกับคอมพิวเตอร์ ที่ถูกโปรแกรมให้แข่งขันหมากรุกกับมนุษย์ นักเขียนโปรแกรมมีหน้าที่เพียง โปรแกรมให้คอมพิวเตอร์มีศักยภาพดีพอที่จะแข่งขันเท่านั้น แต่นักเขียนโปรแกรมไม่ได้มีส่วนร่วมใดใด กับการตัดสินใจของคอมพิวเตอร์ ระหว่างการแข่งขันเลย ยีนก็เช่นกัน มันไม่ได้มีอิทธิพลโดยตรง ต่อกระบวนการตัดสินใจของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน หากแต่มีส่วนต่อการกำหนดคุณสมบัติต่างๆมาตั้งแต่ต้น ซึ่งถ้าหากคุณสมบัติดังกล่าวส่งผลเสียต่อการดำรงชีวิต ณ สภาพแวดล้อมหนึ่งๆแล้ว ทั้งเครื่องกลเพื่อความอยู่รอดและยีนของมันก็จะต้อง “ถูกคัดออก” ในที่สุด“Good of the species” – ประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต - เป็นอีกวลีหนึ่ง ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะอนุมานเอาเองจากทฤษฎีวิวัฒนาการ ในมุมมองของการคัดเลือกกลุ่ม หรือชนิด ในความเป็นจริง การใช้กลยุทธหรือกลอุบายต่างๆ ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันเท่านั้น แต่มันยังแพร่หลายในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันด้วย เนื้อหาช่วงกลางของหนังสือแสดงให้เห็นว่า สิ่งมีชีวิตหนึ่งจะพยายามใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตอีกตัวหนึ่ง – ที่ไม่ใช่ลูกหลานหรือญาติใกล้ชิด - ราวกับมันเป็นเพียงสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งเท่านั้น ดอว์กินส์ยังอ้างถึงทฤษฎีเกม ที่นำมาประยุกต์กับสาขาชีววิทยาวิวัฒนาการ เพื่ออธิบายปฏิสัมพันธ์ของพฤติกรรมสัตว์ ทั้งระหว่างชนิดเดียวกัน และระหว่างชนิดต่างกัน ทั้งนี้ การคำนวณอัตราส่วนความเสถียรทางวิวัฒนาการ จะสามารถแสดงภาพคร่าวๆว่า สิ่งมีชีวิตซึ่งมีพฤติกรรมลักษณะหนึ่ง จะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไร ท่ามกลางสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีพฤติกรรมอีกแบบหนึ่ง ภายใต้กฏการคัดเลือกโดยธรรมชาติเป้าหมายสูงสุดของยีนหนึ่งๆ คือ การเพิ่มจำนวนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ใน ดังนั้น ยีนจะพยายามสำเนาตัวเองที่อาศัยอยู่ในเครื่องกลเพื่อความอยู่รอดอีกตัวหนึ่ง ความช่วยเหลือเกื้อกูลในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอาจถูกมองว่าเป็นความกรุณา แต่อีกนัยหนึ่ง มันก็คือความเห็นแก่ตัวอีกรูปแบบของยีน ความสัมพันธ์ใกล้ชิดของยีนในแต่ละปัจเจก จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญ ในการตัดสินใจของเครื่องกล เพื่อความอยู่รอด เช่น ความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่าง พ่อแม่-ลูก หรือ พี่-น้อง ที่มีค่าความเกี่ยวดองสูงถึงร้อยละห้าสิบ ย่อมมีความกรุณาต่อกัน มากกว่าความสัมพันธ์ที่เป็นญาติห่างๆ หรือสิ่งมีชีวิตเดียวกันแต่ไม่มีความเกี่ยวดองกันเลยดอว์กินส์มองว่ามนุษย์ในยุคปัจจุบันเป็นข้อยกเว้นประการหนึ่ง เนื่องจากการคุมกำเนิด และรัฐสวัสดิการ จัดเป็นกระบวนการที่ฝืนธรรมชาติ แม้จะสามารถเป็นตัวแทนของความกรุณาระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองได้ ในระดับหนึ่ง แต่มันก็เพิ่งเริ่มต้นได้เพียงอึดใจเดียวเท่านั้น เมื่อเทียบกับประวัติศาสตร์อันยาวนานของเราเขาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของพ่อแม่-ลูก-พี่-น้อง และหว่างพฤติกรรมของเพศผู้-เพศเมีย โดยอาศัยค่าความเกี่ยวดอง และอัตราส่วนความเสถียรทางวิวัฒนาการเข้ามาช่วย ดอว์กินส์อ้างถึงกลยุทธต่างๆ ที่ลูกแต่ละตัวใช้ เพื่อดึงดูดทรัพยากรจากพ่อแม่ ให้ได้มากกว่าพี่น้องของมันเอง นอกจากนี้ พ่อและแม่ก็ย่อมมีกลยุทธ ที่จะผลักภาระการเลี้ยงดูลูกให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเช่นกัน อย่างไรก็ดี ด้วยแรงกดดันทางวิวัฒนาการ สิ่งมีชีวิตเพศผู้จึงมักมีเซลล์สืบพันธุ์ที่มีขนาดเล็ก และคล่องตัวกว่า ดังนั้น ต้นทุนการเลี้ยงดูลูกจึงตกอยู่กับเพศเมียเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่เพศผู้มีแนวโน้มที่จะละเลยการเลี้ยงดูลูก หรือแม้แต่ละทิ้งลูก เพื่อไปสืบพันธุ์กับเพศเมียตัวอื่นๆในช่วงท้าย ดอว์กินส์ใช้ความคล้ายคลึงจากการจำลองตัวเองของยีน มาเทียบเคียงกับการจำลองตัวเองของแนวคิด – มีม – หมายถึง ชุดของแนวคิดที่จำลองตัวเองโดยผ่านการสื่อสารของมนุษย์ เช่น ความเชื่อทางศาสนา การเมือง วัฒนธรรมป๊อป รายการทีวี หรือแม้แต่หนังสือเล่มนี้เป็นต้น เช่นเดียวกับยีน มีมย่อมมีจุดมุ่งหมาย เพื่อจำลองตัวเองให้มีจำนวนมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ โดยกำจัดมีมที่ขัดแย้งกันออกไป โดยผ่านสื่อกลางคือ มนุษย์หกพันล้านคนทั่วโลกนั่นเองโดยสรุปแล้ว แม้ในปัจจุบัน นักชีววิทยาจะหันมาสนใจ เกี่ยวกับการคัดเลือกหลายลำดับกันมากขึ้น แต่นักชีววิทยาสมัยใหม่จำนวนมากก็มองว่า ทฤษฎีการคัดเลือกโดยยีน ยังคงสามารถอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ในกระบวนการวิวัฒนาการได้อย่างน่าพอใจกระนั้น นอกเหนือจากภาคทฤษฎีแล้ว ข้อสังเกตบางประการของดอว์กินส์ ก็ใช่ว่าจะหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ยืนยันได้ทั้งหมด ดังนั้น การอ่านหนังสือเล่มน ี้จึงออกจะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษอยู่สักหน่อย แต่ถึงอย่างไร The Selfish Gene ก็ไม่ควรถูกมองข้ามด้วยประการทั้งปวง สำหรับการทำความรู้จักตัวตนของพวกเรา — มนุษย์ — ในแง่มุมที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงหรืออยากพูดถึงนักริชาร์ด ดอว์กินส์ เกิดในประเทศเคนยาปี 1941 ใช้เวลาช่วงวัยเด็กในแอฟริกาตะวันออกถึงแปดปี ก่อนครอบครัวของเขาจะย้ายกลับมายังอังกฤษ ระหว่างศึกษาปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด เขาได้รับแรงบันดาลใจจากนิโก ทินเบอร์เกน นักชีววิทยารางวัลโนเบลชาวเดนมาร์ก ในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับศาสตร์ ว่าด้วยพฤติกรรมสัตว์ หรือ บุคลิกภาพวิทยาดอว์กินส์ เคยเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ ระยะสั้นๆ ก่อนย้ายกลับมาเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด และในช่วงต้นของทศวรรษ 70 นี้เอง เขาได้พัฒนา และสังเคราะห์ แนวความคิดสายบุคลิกภาพวิทยา เข้ากับทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน และชีววิทยาระดับโมเลกุลหลังจากหนังสือเล่มแรก The Selfish Gene ตีพิมพ์ในปีค.ศ. 1976 ชื่อของเขาก็เริ่มเป็นที่รู้จักทั้งในวงกว้างมากขึ้นส่วน The Extended Phenotype หนังสือเล่มสองของดอว์กินส์ ซึ่งต่อยอดจากแนวคิดในเล่มแรกโดยเพิ่มมิติทางสังคม สิ่งประดิษฐ์ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตสร้างสรรค์ขึ้น เขายังเคยปรารภไว้ครั้งหนึ่งว่า “ถ้าคุณจะอ่านหนังสือของผมแค่เล่มเดียวแล้วล่ะก็ อ่าน The Extended Phenotype เถอะ”เขายังเขียนหนังสือออกมาอย่างต่อเนื่อง หลายเล่มเข้าข่ายเบสต์เซลเลอร์ อย่างไรก็ดี ในรายชื่อหนังสือวิทยาศาสตร์ดี ๑๐๐ เล่มที่สถาบันเทคโนโลยีสตีเวนส์จัดทำขึ้น ได้ยกย่องให้เล่ม The Blind Watchmaker เป็นหนึ่งในนั้นตัวอย่างหนังสือขายดีเล่มอื่นๆ ของดอว์กินส์ ได้แก่ The Extended Phenotype (1982), The Blind Watchmaker (1986), River Out of Eden (1995), Climbing Mount Improbable (1996) และ Unweaving the Rainbow (1998)

The Selfish Gene - ยีนที่เห็นแก่ตัว ทำทุกวิธีเพื่อให้มันอยู่รอด
จากหนังสือ The selfish gene เขียนขึ้นโดย Richard Dawkins
ห่างหายจากบันทึกเล่มนี้ไปเสียนานด้วยเหตุผลหลายอย่าง สาเหตุหนึ่งก็คือ
การเขียนบันทึกเล่มนี้ต้องใช้พลังภายใน ความคิด และความรู้สึก สูงกว่าการเขียนบันทึกเล่มอื่น ๆ อาจด้วยเพราะเราเป็นเพียงมือสมัครเล่น วิทยายุทธ์จึงยังไม่สูงพอ
วันนี้จึงขอเขียนเรื่องง่าย ๆ เบาสมอง แต่ได้สาระแง่วิชาการเล็กน้อยนะคะ ช่วงนี้ได้วนเวียนอ่านพ๊อคเก็ตบุ๊คเล่มหนึ่ง หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ครั้งแรก 30 ปีที่แล้ว (1976) และเป็นหนึ่งในหนังสือที่ได้รับความนิยมของผู้เขียนท่านนี้ก็ว่าได้ นั่นก็คือหนังสือที่ชื่อว่า The Selfish Gene ที่เขียนขึ้นโดย Richard Dawkins
หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต โดยกล่าวถึงเจ้าสิ่งหนึ่งที่วิวัฒนาการตัวเองมาเป็นเวลาหลายล้านล้านปี นับตั้งแต่โลกใบนี้เกิดขึ้นมาก็ว่าได้ จนถึงตอนนี้มันก็ยังไม่มีวี่แววที่จะหยุดวิวัฒนาการเลย

สิ่งนี้เกิดขึ้นมาจากวัตถุดิบง่าย ๆ ที่โลกใบนี้มีอยู่เมื่อหลายล้านล้านปีที่แล้ว นั่นก็คือ น้ำ แสงแดด และอากาศ รวมตัวขึ้นเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ และพัฒนาความซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ ตามเวลาที่ผ่านไปจนถึงปัจจุบันมันก็ยังวิวัฒนาการตัวเองไม่หยุดยั้ง นักวิทยาศาสตร์ยังต้องตามค้นหาปริศนาและความสามารถอีกหลาย ๆ อย่าง และสิ่งนี้ปัจจุบันถูกตั้งชื่อที่เรารู้จักกันดีว่า ยีน (Gene)

ต่างคนต่างมองวิวัฒนาการในต่างแง่มุม Richard Dawkins มองว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในวิวัฒนาการคือ ยีน ในขณะที่สิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลกใบนี้ รวมทั้งมนุษย์เอง เป็นเพียงแค่พาหนะ (survival machines) ที่ถูกสร้างขึ้น ถูกควบคุม และถูกใช้ไปโดยยีนเท่านั้น

ยีนสร้างดีเอ็นเอและโครโมโซมขึ้นมาให้เป็นที่อยู่ของมัน ยีนสร้างเซลล์ขึ้นมาเพื่อป้องกันตัวเอง และเซลล์เหล่านี้รวมกันในรูปแบบที่ซับซ้อนขึ้นเป็นสิ่งมีชีวิต จุดมุ่งหมายก็เพื่อปกป้องยีนผู้เป็นเจ้านายของสิ่งมีชีวิต ให้ปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกและคู่ต่อสู้ของยีน เพื่อให้ยีนอยู่รอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งได้อย่างปลอดภัย

Richard Dawkins เสนอทฤษฎีว่า สิ่งมีชีวิตรวมทั้งมนุษย์เราเกิดมาและตายไป เช่นมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่เฉลี่ยไม่ถึงร้อยปี แต่สิ่งที่อยู่มาเป็นล้านปี ยังคงอยู่ต่อไปและวิวัฒนาการตัวเองอย่างไม่รู้จักสิ้นสุดคือ ยีน นั่นเอง
แล้วทำไม Richard Dawkins ถึงมองว่ายีนเป็นสิ่งที่เห็นแก่ตัว (selfish gene) นั่นก็เพราะยีนทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวมันเองอยู่รอด กำจัดยีนที่ไม่ดีทิ้ง และเก็บยีนที่ดีไว้ในที่พักหรือพาหนะ (ซึ่งก็คือสิ่งมีชีวิต) ที่เหมาะสม
ตัวอย่างเช่น ยีนที่ทำให้มีจงอยปากแหลม ถูกเก็บไว้ในสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่านก ยีนที่ทำให้ปีนป่ายต้นไม้ได้ไม่ร่วงตกมาง่าย ๆ ก็ถูกเก็บไว้ในสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าลิง ยีนที่ทำให้ว่ายน้ำได้ถูกเก็บไว้ในสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าปลา ยีนที่ทำให้ใช้ประโยชน์จากแสงแดดได้ถูกเก็บไว้ในสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าต้นไม้
ทั้งนก ลิง ปลา และต้นไม้ จึงจัดเป็นเพียงแค่ survival machines ให้กับยีน เพราะสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ไม่สามารถวิวัฒนาการตัวเองได้ มันเกิดขึ้นมาและมันก็ตายไป แต่สิ่งที่ถูกถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งต่อไปเรื่อย ๆ นั่นคือยีน ฉะนั้น แม้ปลารุ่นพ่อจะตายไป แต่ยีนสำหรับว่ายน้ำไม่ได้ตายไปด้วยเพราะปลารุ่นลูกยังว่ายน้ำต่อไปได้ เช่นเดียวกันกับปลารุ่นหลาน รุ่นเหลนยังคงว่ายน้ำต่อไปได้เช่นกันแม้ปลารุ่นก่อนหน้ามันจะตายไป เพราะปลาเป็นเพียงแค่ survival machine ให้ยีนสำหรับว่ายน้ำให้วิวัฒนาการตัวเองและอยู่ต่อไปเท่านั้นเอง
ในขณะเดียวกัน หากมีการกลายพันธุ์ของยีนสำหรับว่ายน้ำเกิดขึ้นระหว่างที่มีการถ่ายทอดยีนจากรุ่นพ่อไปรุ่นลูก การกลายพันธุ์นี้อาจจะทำให้ปลาว่ายน้ำไม่ได้อีกต่อไป แน่นอนว่าถ้าปลาว่ายน้ำไม่ได้ ยีนว่ายน้ำก็จะหายไปด้วย ฉะนั้น วิธีง่าย ๆ ที่ยีนว่ายน้ำใช้เพื่อไม่ให้ตัวมันสูญหายไปจากโลกนี้ก็คือ กำจัด survival machine ที่มียีนกลายพันธุ์ทิ้งไปซะ ที่เห็นชัดก็เช่น ทำให้ปลาตัวที่มียีนกลายพันธุ์ตัวนี้ฟักออกจากไข่ไม่ได้ ถ้ามันยังฟักออกมาได้ก็ให้มันตายไปตั้งแต่เกิดได้ใหม่ ๆ หรือถ้าปลาตัวนี้ยังมีชีวิตรอดต่อไปได้ ก็ทำให้มันเป็นหมันซะจะได้ไม่มีรุ่นลูกรุ่นหลานปลาที่ว่ายน้ำไม่ได้ เหล่านี้เป็นต้น
นี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งจากหนังสือเล่มนี้ ยังมีสิ่งที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้อีกหลายแง่มุม เช่น การต่อสู้กันระหว่างยีนเพื่อให้ยีนที่ดีที่สุดเท่านั้นอยู่รอด ยีนที่แพ้ต้องถูกกำจัด แต่เช่นเดียวกับนักรบ ยีนไหนล่ะจะยอมแพ้ง่าย ๆ ยีนที่แพ้ครั้งแรกพยายามหาวิถีทางอื่นเพื่อให้ตัวมันเองอยู่ได้และกลับมาต่อสู้กับยีนอื่น ๆ อีกครั้ง
ถ้ามีโอกาสเหมาะ ๆ จะแวะเวียนมาเล่าเพิ่มเติม หากใครสนใจหาหนังสือเล่มนี้มาอ่านเพิ่มเติมได้จากอ้างอิงที่ให้ไว้ค่ะ
อ้างอิง Title: The selfish gene, Author: Richard Dawkins, Publisher: Oxford University Press 3Rev Ed edition (16 Mar 2006), ISBN 978-0199291151
Selfish - Symbiosis: จากยีนเห็นแก่ตัว ถึงสัมพันธภาพแบบอิงอาศัย กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม บทความชิ้นนี้เคยได้รับการเผยแพร่แล้วที่ http://onehundredfirst.blogspot.com แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการในปัจจุบัน
หน้า 4 จาก 4
อีกมุมมองหนึ่งเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่น่าสนในเป็นของ ริชาร์ด ดอว์กิ้นส์ (Richard Dawkins, พ.ศ.2484-ปัจจุบัน) ซึ่งได้เขียนหนังสือเรื่อง The Selfish Gene ตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2519 เขากล่าวว่าตัวการที่ก่อให้เกิดวิวัฒนาการคือ ยีนในตัวสิ่งมีชีวิตนั่นเอง เพราะยีนจะเป็นหน่วยสำคัญที่บงการให้สิ่งมีชีวิตต้องทำสิ่งต่างๆเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตนั้นแสดงพฤติกรรมใดๆออกมาเพื่อให้อยู่รอดในสภาวะนั้นได้ดีที่สุด และถึงแม้จะมีข้อกล่าวแย้งถึงเรื่องการเสียสละของสิ่งมีชีวิตเช่น การที่แม่ปกป้องเพื่อให้ลูกอยู่รอดนั้น ก็อาจอธิบายได้ถึงการอุทิศตัวเองเพื่อให้สายพันธุ์ที่มียีนใกล้เคียงกันได้อยู่รอดสืบเชื้อสายต่อไปในอนาคตได้ ซึ่งทั้งหมดเป็นมุมมองที่เห็นว่ายีนนั่นเองที่เป็นศูนย์กลางของการคัดเลือกเพื่อให้เกิดวิวัฒนาการ



รายการแดนสนธยา เสนอสารคดีชุดพิเศษ ตอน โบโนโบแห่งคองโก (BONOBO) วันอังคารที่ 25 วันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม 2549 ทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี
Monday, 24 July 2006 11:19 -- บันเทิง
กรุงเทพฯ--24 ก.ค.--แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์
แกะรอยถิ่นที่อยู่ของลิงสายพันธุ์ที่คล้ายคลึงกับมนุษย์มากที่สุด ... ลิงโบโนโบ กับพฤติกรรม และปฎิสัมพันธ์ที่นุ่มนวล อ่อนโยน ซึ่งแตกต่างจากชิมแปนซี ญาติสนิทที่เราเคยรู้จักอย่างสิ้นเชิง ติดตามดูพฤติกรรม การใช้ชีวิตในผืนป่าคองโกของลิงโบโนโบทั้งฝูง กับจำนวนที่ลดลงไปทุกที
วันที่ 25 ก.ค. 49 พบเรื่องราวของเจ้าลิงหางสั้น...โบโนโบ กลางป่าวัมบ้ากับการอยู่อย่างสันติ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับลิงโบโนโบต่างฝูง ที่แสดงกิริยาข่มกัน หรือเขย่ากิ่งไม้ และสังคมของโบโนโบ ที่ตัวเมียคือผู้ปกครอง และผู้ตัดสินทุกอย่างในฝูง
วันที่ 26 ก.ค. 49 ชมภาพความเห็นอกเห็นใจของฝูงลิงโบโนโบ เมื่อเห็นลูกลิงกำพร้าถูกทำร้าย การช่วยเหลือ นกสตาริ่งที่ได้รับบาดเจ็บให้กลับมาบินได้ และวิธีการแหวกแนวในการมีเพศสัมพันธ์ของโบโนโบ ที่หมายถึงพฤติกรรมทุกอย่างที่มันทำ ทั้งการทักทาย จับมือ กอด โดยใช้เวลาแค่ 8 ถึง 10 วินาที !!!
วันที่ 27 ก.ค. 49 ติดตามความพยายามของทีมนักวิจัยในการตามหาครอบครัวลิงโบโนโบรุ่นสุดท้าย เมื่อประชากรโบโนโบลดจำนวนลงอย่างน่าใจหาย ในช่วงสภาวะสงครามในประเทศคองโก ซึ่งส่งผลให้ประชากรล่าสัตว์ เพื่อนำมาเป็นอาหาร และนำมาเร่ขายเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยง
ลิงชิมแพนซีพันธุ์เล็ก โบโนโบร่วมเพศกันเพื่อวัตถุประสงค์หลายอย่าง เช่นเข้าสังคม การแสดงการยอมรับ คลายเครียด สืบพันธุ์ และสนุกสนานไปยังงั้นเองมีการทำวิจัยด้วย พบว่ามีการร่วมเพศกันทั้งตัวผู้กับตัวผู้ ตัวเมียกับตัวเมีย ตัวเมียจู่โจมเข้าผสมพันธุ์ตัวผู้ ลิงเด็กกับลิงเด็ก ลิงแก่กับลิงเด็กก็มี สารพัดท่วงท่า หน้าชนหน้า เข้าข้างหลัง โหนเถาวัลย์ปั๊มกันกลางอากาศ เดินไปทำไป โอยสารพัด ดูแล้วฮา จนแฟนเรียกเราว่า โบโนโบ เลยเคยฉายทางช่องดิสคัฟเวอรี่ กับ แอนนิม่อลแพลนเน็ตอีกชนิด คงเป็นช้าง ไปดูนิทรรศการได้ที่เขาใหญ่ ชื่อพี่ดื้อ

วันนี้อีกเช่นกันได้ดูสารคดี Out In Nature : Homosexual Behavior in the Animal Kingdom ของช่อง National Geographic รอบสอง รอกแรกดูแบบสบาย ๆ ไม่ได้จดบันทึกอะไรไว้ คราวนี้ดูอย่างตั้งใจแล้วก็จดบันทึกเอาไว้มาเล่าสู่กันฟัง เค้าเริ่มเรื่องจากชาล์ ดาร์วิน เจ้าพ่อทฤษฎีการกลายพันธ์เพื่อการอยู่รอดของสรรพสัตว์ ทฤษฎีของดาร์วินสนับสนุนแนวความคิดการมีเพศสัมพันธ์เพื่อการผลิตซ้ำสมาชิกภายในกลุ่มสังคมของสัตว์ นักวิทยาศาสตร์ ก็ใช้แนวคิดนี้ในการอธิบายพฤติกรรมต่าง ๆ ของสัตว์ มีบันทึกในปี ค.ศ. 1892 ว่าช้างแอฟริกันที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ ทำผิดก่ออาชญากรรมทางเพศต้องห้ามของชาวคริสต์ นอกจากนี้พฤติกรรมรักร่วมเพศของสัตว์อีกหลายชนิดที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาก็ไม่ได้บันทึกถึงพฤติกรรมรักร่วมเพศของสัตว์เหล่านี้ไว้เลย แล้วเค้าก็เริ่มยกตัวอย่างพฤติกรรมรักร่วมเพศที่พบในสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น แมวน้ำช้าง ตามปกติที่ไม่ใช่ฤดูผสมพันธ์ มันจะแยกกันอยู่ตามเพศนักวิทยาศาสตร์ก็จะบอกว่าการที่ไม่มีเพศเมียเป็นสาเหตุให้เกิดพฤติกรรมรักร่วมเพศขึ้น ในฤดูผสมพันธ์มันจะมาอยู่รวมกัน ตัวผู้จะต่อสู้แย่งตัวเมีย ตัวที่ชนะจะได้เป็นเจ้าหาด (เข้าใจว่ามีเพียงไม่กี่ตัวหรืออาจจะมีตัวเดียว) ตัวผู้ที่เหลือก็ต้องหลบหน้าไป จนฤดูผสมพันธ์ผ่านพ้นไป ตัวเมียและตัวผู้เจ้าหาดก็กลับลงทะเลไป ปล่อยให้ลูกแมวน้ำอยู่กับแมวน้ำหนุ่มกลัดมันที่ไม่ได้ผสมพันธ์ในฤดูผสมพันธ์ ไอ้แมวน้ำหนุ่มพวกนี้ก็จะพากันข่มขืนลูกแมวน้ำ ไม่ว่าลูกแมวน้ำนั้นจะเป็นเพศผู้หรือเพศเมีย แมวน้ำเสือดาว ตามปกติแล้วจะเป็นนักล่าที่ดุร้าย แต่ในกรณีกับคู่ของมัน (ที่ไม่ใช่ตัวเมีย) มันจะมีความนุ่มนวลต่อกัน กวางในแอฟริกา ก็มีการแยกกันอยู่ตามเพศ ในฤดูผสมพันธุ์ก็จะมารวมตัวกัน ตัวเมียจะมีพฤติกรรมรักร่วมเพศ นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศในกวางตัวเมียก็เพื่อที่จะเรียกร้องความสนใจจากกวางตัวผู้ หรือเป็นการฝึกฝนทางเพศ การที่ตัวเมียเอาหัวโขกกันนักวิทยาศาสตร์เคยมองว่าเป็นการปฏิเสธพฤติกรรมรักร่วมเพศจากตัวเมียอีกตัวหนึ่ง แต่ก็เป็นไปได้ที่มันจะไม่ถูกใจตัวเมียตัวนั้น แต่อย่างไรก็ตามตัวเมียก็ยังผสมพันธ์กับตัวผู้ ลิงโบโนโบ ที่การมีเพศสัมพันธ์ไม่เลือกว่าตัวผู้ตัวเมีย ตัวเล็กตัวใหญ่ ไม่ว่าลิงตัวเมียจะตกไข่หรือไม่ แม้แต่คำอธิบายที่ว่ากิจกรรมทางเพศเป็นการแสดงออกถึงลำดับชั้นทางสังคมที่ลิงตัวใหญ่กว่าจะขึ้นคร่อมลิงตัวที่เล็กกว่า ก็ใช้ไม่ได้กับลิงโบโนโบ เพราะลิงตัวเล็กบางทีก็ขึ้นคร่อมลิงตัวใหญ่ มันเอากันตลอดเวลาแม้แต่ตอนกินอาหาร นักวิทยาศาสตร์ก็อธิบายอีกว่าลิงโบโนโบมีเพศสัมพันธ์เพื่อแบ่งปันอาหารแทนที่จะต่อสู้แย่งชิงอาหารแบบที่สัตว์ชนิดอื่นทำ
ลิงบาบูน ลิงตัวผู้สองตัวมีความสัมพันธ์ทางเพศต่อกัน และเป็นชีวิตคู่ที่ยาวนานหลายปี ตรงนี้เค้าเอาภาพสิงตัวผู้สองตัวทำท่ากอดกันเมื่อมีมือที่สามพยายามจะเข้ามาแทรก สักพักลิงตัวนึงก็เดินไป พร้อมกันหันมาเรียกลิงตัวผู้อีกตัวที่เป็นคู่ของมัน ทำนองว่าไปดีกว่า อย่าไปยุ่งกะมันเลย ดูน่ารักดี ปลาโลมาตัวผู้สองตัวก็มีความสัมพันธ์ที่ยาวนาน มันอาจจะโตมาด้วยกัน กอดรัดฟัดเหวี่ยงคอลเคลียมีเพศสัมพันธ์กัน แต่มันก็เดินทางไปเรื่อง ๆ หาตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์ ถ้ามันเจอตัวเมียมันก็จะแบ่งตัวเมียกัน แล้วก็แยกจากตัวเมียไป ในบางครั้งโลมาตัวผู้สองคู่ก็อาจจะอยู่ด้วยกัน ในบางครั้งโลมาสองสายพันธ์ก็อาจจะมีความสัมพันธ์ทางเพศกันเช่นโลมาด่างกับโลมาปากขวด นักวิทยาศาสตร์ก็อธิบายว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศของปลาโลมาเป็นการผนึกความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม ห่านอะไรก็ไม่รู้จำชื่อไม่ได้ ตัวผู้ ๒ตัวจะอยู่ด้วยกัน โดยมีตัวเมียหนึ่งตัว แต่ก็มีห่านตัวผู้ที่คู่กับห่านตัวเมียด้วย แต่คู่แบบห่านตัวผู้สองตัวห่านตัวเมียหนึ่งตัว ห่านตัวเมียจะสบายกว่า เพราะตัวผู้ตัวนึงทำหน้าที่คุ้มครองดูแล ไม่ให้ห่านตัวอื่นมายุ่มย่ามห่านตัวผู้อีกตัวก็ดูแลลูก ๆ ตัวเมียก็มีเวลาหากินตามสบายไม่ต้องกังวลมาก เมื่อสิ้นสุดฤดูผสมพันธุ์ตัวเมียก็จะแยกจากไป นักวิทยาศาสตร์ก็อธิบายว่าธรรมชาติค้นพบวิธีการที่จะทำให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์สูงสุด นกอะไรก็ไม่รู้จำไม่ได้อีกเหมือนกัน ตัวเมียสองตัวจะช่วยกันกกไข่ ตัวผู้ไม่มีส่วนในการเลี้ยงดูลูกนก ตัวเมียสองตัวจะผลัดกันไปหาอาหารและดูแลลูกนก นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าอาจจะเป็นเพราะสารเคมีแปลกปลอมที่ปล่อยออกสู่สภาพแวดล้อมทำให้นกมีพฤติกรรมเช่นนั้น ปลาหมึกยักษ์ตัวผู้สองสายพันธ์พยายามจะร่วมเพศกัน ตัวที่เล็กกว่าคร่อมตัวที่ใหญ่กว่าตัวมันเองถึง ๑๐ เท่า นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าในระดับความลึกขนาดนั้นการที่หมึกตัวผู้จะมีโอกาสพบหมึกตัวเมียสายพันธ์เดียวกันมันนั้นมีน้อยมาก การที่มันมาเจอตัวผู้อีกตัวนึงถึงแม้ว่าจะเป็นคนละสายพันธ์และขนาดก็ต่างกันมาก มันก็เลยไม่ปล่อยโอกาสให้หลุดลอยไป อีกสองตัวอย่างเป็นแมลงผมฟังไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่มีต่อดูดเลือดกับแมลงวัน กรณีของต่อดูดเลือดเค้าบอกว่าต่อตัวผู้กับตัวเมียพยามที่จะผสมพันธุ์กัน ต่อตัวผู้อีกตัวก็พยายามจะผสมพันธุ์กับต่อตัวผู้อีกตัวหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าต่อตัวผู้อีกตัวมีกลิ่นของต่อตัวเมียที่มันเกี้ยวอยู่ จนทำให้ต่อตัวผู้อีกตัวเข้าใจผิดว่ามันเป็นตัวเมีย แต่ต่อตัวผู้ตัวแรกก็ไม่ได้มีท่าทีขัดขืนต่อการกระทำของต่อตัวผู้อีกตัวนึงเลย กลับสงบนิ่งปล่อยให้เค้าทำ ส่วนแมลงวันนักวิทยาศาสตร์บอกมันมีระบบทางชีววิทยาเหมือนสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังเช่นมนุษย์ (นี่ละมั๊งต้นต่อของหนังเรื่อง The Fly ) ร้อยละ ๘ ของแมลงวันมีพฤติกรรมรักร่วมเพศ นักวิทยาศาสตร์สามารถเพิ่มพฤติกรรมรักร่วมเพศในแมลงวันให้สูงถึง ร้อยละ ๙๐ ได้ และท้ายสุดลิงแสมญี่ปุ่น เค้าเริ่มอธิบายว่าเมื่อ ๒๐ ปีก่อนลิงตัวเมียตัวนึงเก็บก้อนหินมาเล่น ต่อมาลิงตัวอื่น ๆ ในฝูงก็ทำตาม ฟังดูคล้าย ๆ แนวคิดแบบ Socialconstruction เลย ลิงแสมตัวเมียจะมีพฤติกรรมรักร่วมเพศ คำอธิบายก็เหมือนกับกรณีกวางที่ว่าเป็นการเรียกร้องความสนใจจากตัวผู้ แต่ก็ไม่จริงเพราะในเวลาที่ไม่มีตัวผู้ลิงตัวเมียก็มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ และการเลือกคู่ของตัวเมียก็ไม่ได้เลือกคู่ที่มีลักษณะโด่ดเด่นหรือมีความแข็งแรง เพื่อผลประโยชน์ในการปกป้องคุ้มครองอย่างที่นักวิทยาศาสตร์อธิบาย ต้อนท้ายของสารคดีเค้าให้ดูภาพลิงแสมแช่น้ำอุ่น แล้วก็บอกว่าการแช่น้ำอุ่นนักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะอากาศที่หนาวเย็น แต่ภาพลิงแช่น้ำอุ่นมันดูสบาย ๆ ผ่อนคลาย แบบคนชอบแช่น้ำอุ่นยังไงไม่รู้ เค้าสรุปตอนท้ายว่าอย่างไรก็ตามพฤติกรรมรักร่วมเพศของสัตว์เพียงไม่กี่ร้อยสายพันธุ์ไม่สามารถเปรียบได้กับจำนวนสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกนี้ เปรียบได้กับเพียงน้ำหยดหนึ่งในทะเล ต่อยังไงอีกผมก็จำไม่ได้แล้ว ประมาณว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศในสัตว์นี้ก็ยังเป็นปัญหาให้นักวิทยาศาสตร์ขบคิดกันต่อไป ครั้งแรกที่ดูสารคดีเรื่องนี้จบก็รู้สึกว่า ไอ้คำอธิบายของนักวิทยาศาสตร์ต่อพฤติกรรมรักร่วมเพศของสัตว์นั้นมันดูคล้าย ๆ กับคำอธิบายของหมอและนักจิตเวชศาสตร์ต่อพฤติกรรมรักร่วมเพศในคนเลย ไม่ใช่สาเหตุนั้นก็ต้องเป็นสาเหตุนี้ ไม่ใช่สาเหตุนี้ก็ต้องเป็นสาเหตุโน้น จนหาความปกติในพฤติกรรมรักร่วมเพศไม่ได้ แต่นี่เป็นสัตว์ที่การกระทำทุกอย่างของมันต้องมีคำอธิบายเสมอ สัตว์ไม่สามารถที่จะร่วมเพศกันเพื่อความพอใจของมันได้ ลิงแสมลงไปแช่น้ำอุ่นเพราะมันอยากจะแจ่ไม่ได้ เพราะมันเป็นสัตว์ต้องมีสัญชาติญาณของการอยู่รอด การกระทำทุกอย่างของสัตว์เพื่อการอยู่รอด เหมือนกับว่าเกิดเป็นสัตว์นี่มีชีวิตอยู่ไปวัน ๆ สืบพันธุ์เพื่อคงสายพันธ์ของมันไว้ ไม่มีความรู้สึกรู้สม ชอบพออะไรได้เลย ทุกอย่างเป็นไปตามกฎที่นักวิทยาศาสตร์อธิบายได้ ในกรณีของคน คนเป็นสัตว์ประเสริฐ คิดเป็น ชอบเป็น พฤติกรรมรักร่วมเพศในคนเลยกลายเป็นความวิปริตที่มีสาเหตุและอธิบายได้เสมอ ไม่ผิดปกติทางฮอร์โมน ก็ผิดปกติที่ยีนส์ ไม่ผิดปกติที่ยีนส์ ก็ที่สมองส่วนใดส่วนหนึ่ง ถ้าทางร่างกายไม่ผิดปกติเลย ก็ต้องเป็นครอบครัวเลี้ยงดูไม่ถูกต้อง เลี้ยงเด็กผิดเพศ พ่อแม่ไม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก ถ้าร่างกายปกติ พ่อแม่ดี ก็โทษประสบการณ์ในวัยเด็ก ถูกญาติข่มขืน หรือมีประสบการณ์ทางเพศแบบรักร่วมเพศตั้งแต่วัยเด็กทำให้ติดใจ ร้อยแปดสาเหตุที่จะมาอธิบายพฤติกรรมรักร่วมเพศ ขอสรุปด้วยสโลแกนของยาทาหน้ายี่ห้อหนึ่งว่า "แล้วคุณยังจะเชื่ออยู่อีกเหรอ"หยุดได้แล้วมาหาสาเหตุของความเป็นเกย์เป็นรักร่วมเพศนี่น่ะ ยิ่งหาก็ยิ่งตอกย้ำว่าคุณไม่ปกติ ทฤษฎีทั้งหลายโยนเข้ากองขยะไปเลย แล้วมาดูกันดีกว่าว่าไอ้พวกที่ว่าตัวเองปกติน่ะ มันผิดปกติยังไงบ้าง
ลิง การสมสู่กับเพศเดียวกันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอ แม้ว่าการสมสู่กับเพศตรงกันข้ามก็มีโอกาสกระทำได้อยู่แล้ว จะเห็นได้จาการที่ลิงตัวผู้ลูบไล้ขนให้กันและกัน การสำรวจอวัยวะเพศ การขึ้นขี่คร่อมกัน การสำเร็จความใคร่ให้กันและกัน การใช้นิ้วสอดเข้าไปในทวารหนัก การโลมเล้าให้เกิดความรู้สึกทางเพศ และการใช้ปากกับอวัยวะเพศ พฤติกรรมรักร่วมเพศในสัตว์บางชนิดเกี่ยวข้องกับบทบาททางสังคมเช่น ลิงโบโนโบ (Bonobo; pygmy chimpanzee) จะมีเซ็กส์กับเพศเดียวกันเพื่อลดความตึงเครียดหลังจากที่ต่อสู้หรือทะเลาะกะเพื่อนร่วมฝูงมา หรือเพื่อให้แน่ใจว่าจะได้อาหารส่วนแบ่ง(จากคู่ขา)มากขึ้น

พฤติกรรมรักร่วมเพศในสัตว์อื่น "
เดิมผู้คนส่วนใหญ่คิดว่ามีแต่มนุษย์ที่มีการรักร่วมเพศ ศาสนาคริสต์ถือการรักร่วมเพศเป็นบาป แต่ปัจจุบันนี้ฝรั่งหลายๆประเทศเปิดกว้างขึ้น และอนุญาตให้เพศเดียวกันแต่งงานได้ ขณะที่ศาสนาอิสลามยิ่งถือว่าเป็นความชั่วมหันต์ เพราะแม้แต่สัตว์ก็ยังไม่ทำกัน ปัจจุบันรักร่วมเพศในตะวันออกกลางเป็นเรื่องต้องห้ามร้ายแรง ถ้าจับได้อาจถูกประหารแขวนคอ คัมภีร์ไบเบิลและอัลกุรอ่านมีการระบุเรื่องราวหนึ่งเหมือนกันว่า พระเจ้าทรงบันดาลให้ไฟบรรลัยกัลป์ตกลงมาจากฟากฟ้า ทำลายล้างเมืองโสโดม และโกโมราห์จนพินาศ เพราะว่าชาวเมืองนิยมประพฤติตัวเป็นเกย์
แต่ถ้าย้อนไปก่อนหน้านั้น ในกรีกยุคโบราณ ชายรักชายถือเป็นความรักที่ประเสริฐ สูงส่งกว่าธรรมดา เพราะมันคือการถ่ายทอดพลัง วิชาความรู้แก่กันและกัน (แบบครูกับศิษย์สนิทกันมากๆเลยอาจเลยเถิดไปจึ๊กกระดึ๋ยกันบ้าง) ชายบางคนที่แต่งงานมีภรรยาแล้ว ก็ยังคงมีความสัมพันธ์ทางเพศกับเด็กหนุ่มแรกรุ่นในอเมริกาเหนือ อินเดียนแดงเผ่า Berdache เด็กชายมีความสัมพันธ์ทางเพศกับชายที่มีอายุมากกว่าโดยเป็นฝ่ายถูกกระทำชนเผ่าใน New Guinea เด็กชายอายุ 8-15 ปี ใช้ปากสำเร็จความใคร่ให้กับชายที่มีอายุมากกว่าเพื่อดูดดื่มเอาความเป็นชายและความเข้มแข็งของนักรบเข้ามาไว้ในตัว ชายที่มีอายุมากกว่าก็แต่งงานกับผู้หญิงและมีลูกหลานสืบทอดเผ่าพันธุ์ต่อไปฉะนั้นแต่เดิม ตอนที่แนวคิดทางศาสนายังไม่ครอบงำโลก พฤติกรรมต่างๆที่มนุษย์ปัจจุบันนี้เรียกว่ารักร่วมเพศ ไม่ใช่สิ่งแปลกอะไร การมีเพศสัมพันธ์กับทั้งชายและหญิงถือเป็นเรื่องปกติ แต่หลังจากศาสนาขยายอิทธิพลออกไปกว้าง กำหนดแนวคิดวิถีต่างๆของคนมากขึ้น แนวคิดต่อพฤติกรรมสมสู่กับเพศเดียวกันก็เปลี่ยนไป ถูกตีกรอบว่าเป็นเรื่องผิดธรรมชาติ ผิดไปจากแนวทางของพระเจ้า เกย์ในยุคมืดจึงต้องไม่แสดงอาการที่เรียกว่ารักร่วมเพศออกมาเพราะจะถูกสังคมลงโทษ จนมาถึงสมัยปัจจุบันที่มีการเปิดกว้างขึ้น ชาวเกย์จึงออกมาเรียกร้องสิทธิการใช้ชีวิตอย่างอิสระตามแบบของตัวเองกันมากมาย
มนุษย์ก็เหมือนกับสัตว์อื่นอีกหลายๆชนิด มีความซับซ้อนและหลากหลายทางเพศเหมือนกันมีพฤติกรรมคลอเคลียระหว่างเพศเดียวกัน (เพียงแต่มนุษย์สร้างวัฒนธรรมมาแบ่งแยกและกีดกันพฤติกรรมทางเพศมากกว่า)

ฟิสิกส์ยุคปัจจุบัน

ฟิสิกส์ยุคปัจจุบัน

ก่อนค.ศ.1900 นักวิทยาศาสตร์อาศัยการทดลอง อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆวิชาที่ศึกษาได้แก่
1. Mechanics - กลศาสตร์
2. Heat and Thermodynamic - ความร้อนและอุณหพลศาสตร์
3. Optics – แสง
4. Acoustics – เสียง (สวนศาสตร์)
5. Electricity and Maganetism – แม่เหล็กไฟฟ้า

ฟิสิกส์ที่ศึกษากันมาในอดีตก่อน ค.ศ. 1900 เรียกว่า ฟิสิกส์ยุคเก่า (classical physics) ต่อมา พลังค์ ได้เสนอทฤษฎีขึ้นมาใหม่ เป็นการปฏิวัติความเชื่อที่มีมาแต่สมัยโบราณ ทำให้ฟิสิกส์ก้าวสู่ “ฟิสิกส์ยุคใหม่” ซึ่งแบ่งได้เป็น 2แขนงใหญ่ๆ คือ
1. Quantum Theory หรือ ทฤษฎีควอนตัม
2. Theory of Relativity หรือทฤษฎี สัมพัทธภาพที่ไอน์สไตน์ตั้งขึ้น

ทฤษฎีควอนตัม (ค.ศ.1900)
ผู้ค้นพบทฤษฎีนี้คือ พลังค์ โดยได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการแผ่รังสีของแสงและได้ค้นพบ ทฤษฎีควอนตัม ซึ่งมีใจความว่า “ พลังงานรังสีที่แผ่ออกมานั้นไม่มีความต่อเนื่องกันในลักษณะสม่ำเสมอแต่แผ่ออกมาเป็นก้อนๆหรือเป็นส่วนๆ ” ปัจจุบันเรียก ควอนตัม
- ปี ค.ศ. 1936 พิมพ์หนังสือปรัชญาแห่งฟิสิกส์
- ปี ค.ศ. 1945 พิมพ์หนังสือ เทอร์โมไดนามิกส์
- ปี ค.ศ. 1901-1976 นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อ แวร์ เนอร์ ไฮเซนแบร์ก ได้คิดสมการ การเคลื่อนที่สสารโดยอาศัย เมทริกซ์ เรียกวิธีการนี้ว่า “กลศาสตร์แมทริกซ์”

ทฤษฎีสัมพัทธภาพ
ผู้ค้นพบทฤษฎีนี้คือ แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งเป็นผู้อธิบายปรากฏการณ์อีกชนิดหนึ่งที่มีความลึกซึ้ง ทฤษฎีของเขาทำให้เกิดการปฏิวัติทางความคิดในวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ เป็นผู้เปิดโลกเข้าสู่ยุคปรมาณู ด้วยสมการ
E=mc2
ไอน์สไตน์ได้ทำงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และส่งผลงานไปลงในวารสารวิทยาศาสตร์ของเยอรมันชื่อ “รายงานประจำปีทางฟิสิกส์”อย่างสม่ำเสมอ
- ปี ค.ศ.1905 ได้ส่งเอกสารไปพิมพ์ 5ฉบับในจำนวนนี้มีเรื่อง “ทฤษฎีสัมพัทธภาพ และทฤษฎีโฟตอนที่ได้รับความสนใจและเป็นที่มาของการสร้างระเบิดปรมาณู
- ปี ค.ศ.1938 ออตโต ฮาห์น นักฟิสิกส์เคมี ชาวเยอรมัน ได้ค้นพบว่า อะตอมของยูเรเนียมแตกออกเป็น 2 ส่วน ได้แบเรียม และ คริปทอน จากการค้นพบดังกล่าว เป็นหลักการที่จะนำไปสร้างระเบิดนิวเคลียร์
ฟิชชัน
- ปี ค.ศ. 1939 ไลท์ ไมท์เนอร์ นักวิทยาศาสตร์หญิงชาวออสเตรีย-สวีเดน ได้พิมพ์การทดลองของฮาห์น เผยแพร่เธอเรียกปฏิกิริยานี้ว่า “นิวเคลียร์ฟิชชัน”
- ปี ค.ศ. 1940 เกลนที.ซีบอร์ก , เอ็ดวิน เอ็มแมคมิลแลน , โจเซฟ ดับลิว เคนเนดี , อาร์เธอร์ ซี.วาห์ล ได้ค้นพบ พลูโทเนียม
- ปี ค.ศ. 1941รูดอล์ฟ เพียร์ลส์ และออตโต ริชาร์ด ฟลิสช์ สามารถคำนวณ ยูเรเนียม -235 ที่ทำระเบิดนิวเคลียร์ได้
- ปี ค.ศ.1942 เจ. โรเบิร์ต ออปเป็นไฮเมอร์และโกรฟ ได้อำนวยการสร้างระเบิดปรมาณูขึ้นโดยมีนักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมมือกันทำการทดลองได้แก่ อิมิลโล เซเกร,เออร์เนต ลอร์เรนซ์ ,เฮอร์เบิร์ต แอนเดอร์สัน ,นีลส์ โบร์ ,เจมส์ แชดวิก,อาร์.เอช คอมป์ตัน,ฮาร์โรลด์ ยูเรย์ ,ซี.เจ แมคเคนซี ทดลองจนสามารถสร้างระเบิดปรมาณูได้ 3 ลูกต่อมานำไปทิ้งที่ฮิโรชิมา และนางาซากิ 2ลูก
- ปี ค.ศ. 1950 ไอน์สไตน์ ได้ทำวิจัยเกี่ยวกับ “ทฤษฎีเอกภาพแห่งสนาม”แต่งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์
- ปี ค.ศ. 1954 นักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อธาตุ ที่ 100 ว่าเฟอร์เมียม เพื่อเป็นเกียติแก่เฟร์มี
- ปี ค.ศ. 1955 ไอน์สไตน์ได้ร่วมลงนามในคำประกาศ ของเบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ซึ่งประกาศฉบับนี้เป็นเรื่องให้ยุติการใช้ระเบิดนิวเคลียร์เพื่อการสงคราม
- ปี ค.ศ. 1955 ไอน์สไตน์เสียชีวิต
- ปี ค.ศ. 1968 ฮาห์น ถึงแก่กรรม ธาตุที่ 105 ว่าฮาห์เนียมก็ถูกตั้งตามชื่อของเขา

งานค้นคว้าและผลงานการวิจัยของนักฟิสิกส์
นอกจากการศึกษาของบุคคลดังกล่าวที่กล่าวมาแล้วยังมีนักฟิสิกส์คนอื่นๆ ศึกษาค้นคว้าวิจัยเรื่องต่างๆทำให้เราทราบเรื่องราวความก้าวหน้าด้านฟิสิกส์มากขึ้นยกตัวอย่างเช่น
- โยฮันเนส ดีเดอริก แวน เดอร์ วาลส์ ( ค.ศ. 1837-1923) นักฟิสิกส์ชาวฮอลันดา พบแรงแวนเดอร์วาลส์
- แอนสต์ มัค (ค.ศ. 1838-1916 ) นักฟิสิกส์ชาวออสเตรีย ศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุ ซึ่งเป็นพื้นฐานทำให้ไอน์สไตน์พบทฤษฎีสัมพันธภาพ
- ลอร์ด จอห์น ดับบลิว.เอส.เรย์ลีย์ (ค.ศ.1842-1919) นักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ อาร์กอน และศึกษาเกี่ยวกับความหนาแน่นของแก๊ส ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ. 1904
- ทอมัส ซี.ซัมเมอร์ลิน (ค.ศ. 1843-1928) นักธรณีวิทยาชาวอเมริกัน เสนอทฤษฎีการกำเนิดของโลก (ค.ศ. 1905)
- ไฮค์ เค. ออนเนส ( ค.ศ. 1853-1926) นักฟิสิกส์ชาวดัช ศึกษาทดลองเกี่ยวกับฮีเลียม ทำให้เป็นของเหลวเมื่อได้รับความเย็นจัด,พบซูเปอร์คอนดักเตอร์
- จูลส์ อองรี ปวงกาเร (ค.ศ. 1856-1943) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสศึกษาเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า,

ทฤษฎีของแสง

- นิโคลา เทสลา (ค.ศ.1856-1943) ชาวอเมริกันศึกษาสนามแม่เหล็กเป็นผู้ปรับปรุงระบบไฟฟ้ากระแสสลับ เป็นผู้นำในการพัฒนามอเตอร์
- วิลเฮลม์ ฮอลล์วาคส์ (ค.ศ.1859-1922) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน พบหลักการสำคัญของโฟโตอิเล็กทริกเซลล์
- เอลเมอร์ แอมบรอส สเปอรี (ค.ศ. 1860-1930) วิศวกรไฟฟ้าชาวอเมริกันประดิษฐ์ไจโรสโคปเป็นผู้ปรับปรุงไฟอาร์คให้มีกำลังแรงขึ้น
- เซอร์ วิลเลียม เฮนรี แบรีกก์ (ค.ศ. 1860-1930) และลูกชายคือ เวอรื วิลเลียม ลอว์เรนซ์ แบร็กก์
(ค.ศ.1890-1971) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษศึกษาโครงสร้างของผลึกด้วยรังสีเอกซ์
- วิลเฮลม์ วีน (ค.ศ. 1864-1928) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันศึกษาการแผ่ของคลื่นความร้อนจากวัตถุสีดำ
-ชาลส์ โปรตีส สไตน์เมทซ์ (ค.ศ. 1865-1923 )วิศวกรไฟฟ้าชาวเยอรมัน-อเมริกันปรับปรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
-ชอง บัปติสต์ เปแรง (ค.ศ. 1870-1942) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสศึกษาการเคลื่อนที่แบบบราวน์และยืนยันทฤษฎีของไอน์สไตน์เกี่ยวกับอนุภาค ใช้รังสีแคโทดในการศึกษาสภาพไม่ต่อเนื่องของสสาร
-โรลด์ อมันเสน (ค.ศ.1872-1928) ชาวนอร์เวย์ สำรวจและกำหนดตำแหน่งขั้วเหนือของแม่เหล็กโลก
-วิลเลียม ดี .คูลิดจ์ (ค.ศ. 1873-1975) นักเคมีฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ประดิษฐ์ไส้ทังสเตน เป็นผู้ปรับปรุงหลอดรังสีแคโทด
และยังมีนักวิทยาศาสตร์อีกหลายๆท่านที่ได้ศึกษาค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับความรู้ทางด้านฟิสิกส์ซึ่งในขณะนี้นักวิทยาศาสตร์เหล่านั้นก็ยังไม่หยุดนิ่งที่จะทำการศึกษาค้นคว้าหาเพื่อพัฒนาความรู้ทางด้านฟิสิกส์และด้านอื่นๆต่อไป

ฟิสิกส์ธรณีนานาชาติ
การสำรวจโลก

- ปี ค.ศ. 1930 วิลเลียม บีบี สร้างยานสำรวจใต้ทะเล
- ปี ค.ศ. 1940 เอากุสต์ พิคคาร์ด ได้พัฒนายานสำรวจใต้น้ำโดยใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีนหมุนใบพัด เพื่อการขับเคลื่อน
- ปี ค.ศ. 1953 เซอร์ เอดมัน ที ฮิลลารี,เทนซิง ปีนสำรวจ ยอดเขาเอเวอร์เรตซึ่งเป็นส่วนที่สูงที่สุดของ โลก
- ปี ค.ศ. 1958 วิเลียม อาร์เอช แอนเดอร์สัน เดินทางไปสำรวจขั้วโลกเหนือ
- ปี ค.ศ. 1960 จาก พิคคาร์ด ร่วมกัย ดอน วาล์ซ สำรวจส่วนที่ลึกที่สุดของโลก
การสำรวจอวกาศ
- ปี ค.ศ. 1957 รัสเซียส่งดาวเทียมดวงแรกของโลก ชื่อ “สปุตนิก1” ขึ้นโคจรสู่อวกาศ

- ปี ค.ศ. 1957 รัสเซียส่งดาวเทียมดวงที่2 ชื่อ “สปุตนิก2” พร้อมสุนัขไลก้าขึ้นสู่วงโคจรแต่ปรากฏว่า สุนัขไลก้าเสียชีวิตก่อนกลับลงมาสู่พื้นโลก
- ปี ค.ศ. 1958 สหรัฐส่งดาวเทียมเอกซพลอเรอร์ขึ้นสู่วงโคจร ผลงานที่สำคัญของดาวเทียวดวงนี้คือ ค้นพบรังสีห่อหุ้มโลก เรียกว่าแถบรังสีแวลแอนเลน
- ปี ค.ศ. 1958 รัสเซียส่งดาวเทียม “สปุตนิก3”ขึ้นสู่วงโคจร
- ปี ค.ศ. 1958 สหรัฐได้จัดตั้งองค์การเพื่อการค้นคว้าเกี่ยวกับอวกาศเรียกว่า องค์การบริหารการบินและ อวกาศแห่งชาติมีชื่อยอว่า NASA
- ปี ค.ศ. 1958 สหรัฐฯ ส่งดาวเทียมชื่อ “สกอร์” ขึ้นสู่วงโคจรและทดลองเสียงพูดจากอวกาศลงมายัง พื้นดินได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
- ปี ค.ศ. 1986 องค์การนาสา ได้ปล่อยยานขนส่งอวกาศชื่อ “แชลเลนเจอร์” เพื่อสำรวจอวกาศและสังเกตดาวหางหลังจากยานเคลื่อนสู่อวกาศได้เพียง 72 วินาทีก็เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง ทำให้นักบินอวกาศทั้ง 7 คน คือ ฟรานซิส อาร์(ดิก) สโคบี ,ไมเคิล .เจ.สมิธ,โรแนลด์ อี.แนร์,เอลลิสัน เอส.โอนิซูกะ ,จูดีธ เรสนิก,เกรกอรี จาร์วิส,ชารอน คริสต้า แม็คคอลีฟฟ์ เสียชีวิตทันทีสำหรับสาเหตุที่ทำให้ยานระเบิดนั้นเชื่อว่ามีจุดรั่วที่ซีลวงแหวนในจรวดเชื้อเพลิงแข็งลำขวามือ ทำให้เชื้อเพลิงรั่วออกมาจากจุดนั้นและเกิดการระเบิดขึ้น


สถิติอุบัติเหตุของยานอวกาศ
- ปี ค.ศ. 1967 วันที่ 27 มกราคม(สหรัฐฯ)เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ฐานปล่อยจรวดที่ศูนย์อวกาศเคนเนดี ทำให้นักบินอวกาศ 3 คนที่อยู่ในแคปซูลอวกาศ อะพอลโล 1 ได้แก่นาวาอากาศโท เวอร์จิล กริสซอม , นาวาอากาศโท เอดเวิร์ด ไวท์และนาวาอากาศตรี โรเจอร์ แซฟฟี เสียชีวิตทั้งหมด
- ปี ค.ศ. 1967 วันที่24 เมษายน (รัสเซีย)ยานโซยุส1 ตกที่ภูเขาUrals ขณะกลับคืนสู่โลก ทำให้นักอวกาศ วลาดิเมียร์ เอ็ม.โกมารอฟ เสียชีวิต
- ปี ค.ศ. 1970 เมษายน(สหรัฐฯ) ถังออกซิเจนของยานอวกาศ อะพอลโล 13 ระเบิดต้องระงับการลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์ นักบินอวกาศ 3 คน ต้องเข้าไปอยู่ในยานลงดวงจันทร์แล้วปล่อยแรงโน้มถ่วงดึงยานให้โคจรรอบดวงจันทร์ ใช้แรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์เหวี่ยงยานกลับสู่โลก และตกลงในมหาสมุทรแปซิฟิก
- ปี ค.ศ. 1971 วันที่ 30 มิถุนายน (รัสเซีย) ขณะที่ยานโซยุส11 กลับคืนสู่ผิวโลกวาวล์ของยานชำรุดออกซิเจนรั่วออกนอกยาน ทำให้นักบินอวกาศทั้ง 3คน ได้แก่ กอร์กี โดโบรวอลสกี้,วลาดิสลาฟ วอลคอฟ และ วิกเตอร์ แพตซาเยฟ เสียชีวิตทั้งหมด


จากประวัติและวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้เราทราบถึงความวิริยะอุตสาหะของนักวิทยาศาสตร์ ที่จะอธิบายความลี้ลับของธรรมชาติ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ความเข้าใจ ธรรมชาติในด้านต่างๆ เราจะพบว่าสมัยก่อนนั้น ความรู้ที่ได้เกิดจากการคาดคะเน และปฏิบัติตามประสบการณ์ การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์เป็นไปอย่างเชื่องช้า ต่อมามีการผสมผสาน ความรู้ทั้งทางด้านทฤษฎี และการทดลอง ทำให้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วมีการนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่งานของตน มีการแข่งขันกันในวงการต่างๆ
ปัจจุบันเราอยู่ในยุคแห่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตามผลกระทบจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เกิดขึ้น สภาพแวดล้อมของโลกก็เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วปัญหาที่เกิดขึ้น คือเกิดภาวะมลพิษ ทั้งทางอากาศ น้ำ พื้นดิน สิ่งมีชีวิต ได้รับอันตรายจากสารเคมี ปัญหาจากโลหะหนักเป็นพิษ เช่น ตะกั่ว แคดเมียม สารหนู ปรอท เป็นต้น ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อ ค.ศ. 1986 โรงไฟฟ้าปฏิกรณ์ปรมาณูเชอร์โนบิล ของโซเวียตระเบิด ทำให้ฝุ่นละอองกัมมันตรังสี ปลิวในอากาศเป็นบริเวณกว้างไปยังหลายประเทศทำให้ผู้คนเสียชีวิตเป็นมะเร็ง ฯลฯ นอกจากนี้การผลิตอาวุธใหม่ๆ เพื่อการสงครามทำให้คนส่วนหนึ่งมองวิทยาศาสตร์ในแง่ร้าย ซึ่งโดยความจริงแล้ว ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะถูกนำไปใช้ในทางสันติหรือเพื่อการสงครามนั้นขึ้นอยู่กับ ตัวของมนุษย์เอง เป็นสำคัญ หากเรามีความเข้าใจและร่วมกันพัฒนาวิทยาศาสตร์นำไปใช้ให้เหมาะสม ก็ก่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เป็นอย่างมาก
ปัจจุบัน ย่อมตระหนักโดยทั่วไปแล้วคิดว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความมั่งคั่งทำให้ผู้นำประเทศเกิดความคิดที่จะใช้วิทยาศาสตร์ แก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ
ประเทศไทยเราได้กำหนดนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่แล้วและชัดเจนยิ่งขึ้นในแผนที่ 6 (พ.ศ.2530-2536) เพื่อให้วิทยาการต่างๆสะสางปัญหาการขาดดุลทางเทคโนโลยี ซึ่งเป็นปัญหาเบื้องต้นในการขาดดุลการค้าต่างประเทศให้จงได้
นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานได้ให้คำขวัญไว้ว่า
ผู้ใดครองเทคโนโลยี ผู้นั้นครองอำนาจ
ผู้ใดครองเทคโนโลยี ผู้นั้นครองเศรษฐกิจ
เราจะต้องร่วมมือกันพัฒนาวิทยาศาสตร์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังคำขวัญดังกล่าว
ในที่สุดเราทั้งหลายหวังไว้ว่า วิวัฒนาการวิทยาศาสตร์จะต้องสัมพันธ์กับวิวัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษยชาติ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในโลกที่มีเพียง หนึ่งเดียว ของเรานี้

เรื่อง ปลา ปลา ....



ชื่ออังกฤษ Giant gourami
ชื่อไทย ปลาแรด ปลาแม่น
ประวัติที่อยู่อาศัย แม่น้ำสายใหญ่ๆ ในเขตภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือของประเทศไทย
รูปร่างลักษณะ ปลาแรดเป็นปลาแบนด้านข้าง ลำตัวลึก อวบใหญ่ แข็งแรง เกล็ดสวยงามเป็นระเบียบ ปากทู่ หัวมีนอเป็นโหนกขึ้นมา
อุปนิสัย ปลาแรดชอบอาศัยอยู่ในน้ำค่อนข้างนิ่ง
การเลี้ยงดู อาหารที่ให้ เช่น รำละเอียด ผักต่างๆ ข้าวสุก กล้วย ขนมปัง




ชื่อไทย ปลาทอง
ประวัติถิ่นที่อยู่อาศัย ประเทศจีน
รูปร่างลักษณะ พุงป่องอ้วน ตุ้ยนุ้ย
อุปนิสัย การฟักตัวของไข่ของปลาทองสามารถปรับอุณหภูมิได้อยู่ระหว่าง 0-35 องศาเซลเซียส ช่วงอุณหภูมิที่ดีที่สุดคือ 20-25 องศาเซลเซียส ปลาทองเป็นปลาที่วางไข่ตลอดทั้งปีแต่จะชุกมากในเดือนเมษายน-ตุลาคม หรือช่วงที่อากาศไม่เย็นจนเกินไป ปลาทองที่วางไข่ครั้งแรกแล้วจะสามารถวางไข่ติดต่อกันไปอีกเป็นเวลาประมาณ 6-7 ปี
การเลี้ยงดู น้ำที่จะใช้เลี้ยงปลาทองหาก
เป็นน้ำประปาหรือน้ำบาดาลต้องมีการพักน้ำทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน เพื่อให้สารพิษต่างๆ ที่ปนอยู่ได้คลายตัวไปบ้าง เช่น คลอรีน คาร์บอนไดออกไซด์ การย้ายแม่ปลาทองที่ออกไข่จะต้องย้ายทันทีเมื่อปลาทองวางไข่เพราะมันจะเริ่มกินไข่ของตัวเองทันทีในวันต่อมา












การเคลื่อนที่ของปลา
การเคลื่อนที่ของปลา สัตว์จำพวกปลาเป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังและอาศัยอยู่ในน้ำ โครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนไหวและรูปร่างของปลาแตกต่างไปจากสัตว์ที่อาศัยอยู่บนบก ปลามีรูปร่างแบนและเพรียว ทำให้ลดแรงเสียดทานระหว่างตัวปลากับน้ำไปได้มาก ยิ่งกว่านั้นปลายังมีเมือกซึ่งลื่นอาบอยู่ที่ผิดลำตัวอีกด้วย จำทำให้แรงเสียดทานระหว่างผิดลำตัวปลากับน้ำลดลงไปมากยิ่งขึ้น ปลาสามารถเคลื่อนที่ได้ในทุกทิศทาง เนื่องจากปลามีกล้ามเนื้อซึงยึดติดอยู่กับกระดูกสันหลังทั้งสองข้าง และปลายังมีกล้ามเนื้อยึดเกาะกับกระดูกครีบต่างๆเมื่อกล้ามเนื้อเหล่านี้ทำงานก็ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของลำตัวและครีบทำให้เกิดการเคลื่อนที่ การเคลื่อนที่ของปลาสรุปได้ดังนี้1. เมื่อกล้ามเนื้อที่ยึดติดกับกระดูกสันหลังด้านใดด้านหนึ่งหดตัว (เริ่มจากส่วนหัวมาทางส่วนหาง) ทำให้เกิดการโบกพัดของครีบหาง(Caudal fin) ดันให้ตัวพุ่งไปข้างหน้าโดยมีครีบหลัง(Dorsal fin) ช่วยในการทรงตัวไม่ให้เสียทิศทาง2. เมื่อกล้ามเนื้อที่ยึดติดกับกระดูกสันหลังอีกด้านหนึ่งหดตัว (เริ่มจากส่วนหัวมาทางส่วนหาง) ก็จะมีผลเช่นเดียวกับ ข้อ 1 3. ครีบอก(Pectoral fin) และครีบตะโพก(Pelvic fin) ซึ่งเทียบไปกับขาหน้าและขาหลังของสัตว์บก จะทำหน้าที่ช่วยพยุงลำตัวปลา และช่วยให้เกิดการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง

การเคลื่อนที่ของปลาเป็นรูปตัว S สลับไปสลับมาการที่ปลามีรูปร่างยาวแบน และมีครีบที่แบนบาง ทำให้ปลาเคลื่อนที่ไปในน้ำได้ทั้ง สามมิติ คือ สามารถ เคลื่อนที่ไปข้างหน้าหรือถอยหลังก็ได้ เลี้ยงซ้ายเลี้ยวขวาก็ได้ และขึ้นลงในแนวดิ่งก็ได้ ถ้าหากเคลื่อนที่ไปข้างหรือถอยหลังอย่างเดียว เป็นการเคลื่อนที่แบบมิติเดียว ถ้าหากมีเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวาด้วย เป็นการเคลื่อนที่สองมิติ และถ้าหากมีการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งขึ้นลงไปพร้อมๆกันด้วย ก็จัดว่าเป็นการเคลื่อนที่แบบสามมิติ




ปลาไหล เป็นปลาที่แตกต่างจากปลาชนิดอื่น เนื่องจากมีลำตัวกลม ยาว และไม่มีครีบ แต่ปลาไหลก็เคลื่อนที่ได้อย่างคล่องแคล่ว ว่องไว เช่นเดียวกับปลาชนิดอื่น เนื่องจาก ปลาไหลมีกล้ามเนื้อมาก เพราะลำตัวยาว และปลาไหลมีเมือกหุ้มผิวลำตัวมากทำให้ลื่น เป็นการลดแรงเสียดทานกับน้ำที่อยู่รอบตัวไปได้มาก เมื่อกล้ามเนื้อของปลาไหลหดตัว จึงทำให้เกิดแรงในการผลักดันให้ปลาไหลพุ่งไปข้างหน้าได้อย่างดี


โลมา และ วาฬ มีส่วนกระดูกคอที่สั้นทำให้กลมกลืนระหว่างลำตัวกับหัว ขาคู่หน้าเปลี่ยนไปเป็นครีบช่วยในการว่ายน้ำ และขาคู่หลังก็หดหายไปแต่มีหางที่แบนขนาดใหญ่ ขนาดกับพื้นการเคลื่อนที่ใช้การตวัดหางขึ้นลงสลับกัน และใช้ครีบหน้าช่วยในการพยุงตัว ทำให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้เป็นอย่างดี




ประวัติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางตะวันตก

ประวัติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางตะวันตก ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการสะสมความรู้ของมนุษยชาติมาเป็นเวลานาน เริ่มตั้งแต่มนุษย์ยังดำรงชีพโดยการล่าสัตว์ด้วยอาวุธที่ทำด้วยหินจนกระทั่งพัฒนาวิถีในการดำรงชีพที่เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตมากมาย อมรา ทองปาน และวีระศักดิ์ อุดมโชค (2541 : 2) กล่าวว่า นับตั่งแต่มนุษย์ Homo sapiens ได้ถือกำเนิดขึ้นมาในโลกนี้เมื่อประมาณ 40,000 ปีที่ผ่านมา มนุษย์มีวิวัฒนาการด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าลักษณะโครงร่างของมนุษย์มิได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือมีวิวัฒนาการจนแสดงความแตกต่างจากมนุษย์ในปัจจุบันมากนัก แต่มนุษย์มีวิวัฒนาการด้านอื่น เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมการศึกษาเพื่อหาความรู้ด้านต่าง ๆ จากวิวัฒนาการด้านนี้ทำให้สามารถจำแนกการเกิดมนุษย์โบราณตามลักษณะเครื่องมือเครื่องใช้ที่พบเป็นยุคต่าง ๆ เช่น มนุษย์ยุคหินเก่าและมนุษย์ยุคหินใหม่ ดังแสดงในตารางที่ 3 กล่าวได้ว่า การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของมนุษย์ยุคเริ่มแรกนั้นเป็นการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ นับแต่สิ้นสุดยุคน้ำแข็งยุคสุดท้ายเมื่อประมาณ 10,000 ปีเป็นต้นมา มนุษย์ได้เริ่มศึกษาสังเกตธรรมชาติที่รอบ ๆ ตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดกลางวัน กลางคืน ข้างขึ้น ข้างแรม ฤดูกาลต่าง ๆ และการโคจรของดวงดาว นอกจากนี้ยังศึกษาสิ่งมีชีวิตที่อยู่รอบ ๆ ตัวเราด้วย ดังนั้น วิทยาศาสตร์สมัยโบราณเกิดขึ้นควบคู่กับการเกิดอารยธรรมโบราณต่าง ๆ ได้แก่ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมอียิปต์ อารยธรรมในอเมริกากลาง และอารยธรรมใน เอเชีย ต่อจากนี้จึงเข้าสู่ยุคของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ ซึ่งเริ่มมีสูตร ทฤษฎี มีการทดลองนักวิทยาศาสตร์ในยุคนี้เป็นนักวิทยาศาสตร์ในอาณาจักรกรีกทั้งสิ้น ยุคสุดท้ายของวิทยาศาสตร์สมัยโบราณ คือ วิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นในสมัยที่มีเมืองอเล็กซานเดรียเป็นศูนย์กลางการปกครองซึ่งมีการสะสมตำรา หนังสือของวิชาความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างมาก มีหอสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลกของยุคนั้น คือ หอสมุดอเล็กซานเดรียเมื่อถึงสมัยกลาง (Middle Age) ประมาณปี ค.ศ. 476-1453 ความเจริญด้านวิทยาศาสตร์ได้ชะงักงันไปชั่วขณะ เรียกว่า "ยุคมืดทางวิทยาศาสตร์" สืบเนื่องมาจากความเชื่อทางศาสนาที่ขัดแย้งกับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ หากผู้ใดคัดค้านหรือขัดแย้งกฎเกณฑ์ทางศาสนาก็จะมีโทษถึงตาย วิวัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์จึงหยุดชะงักไป จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งเป็นสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) การศึกษาทางวิทยาศาสตร์จึงเริ่มต้นพัฒนาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาศตวรรษที่ 18 ได้มีการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ครั้งใหญ่ ทำให้วิทยาศาสตร์สาขาดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ เจริญพัฒนาขึ้น อย่างมากในยุคนี้วิทยาศาสตร์บริสุทธ์สาขาต่าง ๆ ได้พัฒนาขึ้นมาก และจัดเป็นพื้นฐานของวิชาการสาขาต่าง ๆ อย่างแท้จริง ซึ่งสามารถเปรียบเทียบความเจริญของมนุษย์ตามการศึกษาประวัติศาสตร์กับการเจริญทางวิทยาศาสตร์ ดังสรุปในตารางที่ 4
ช่วงเวลา การเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรม วัฒนธรรมภูมิอากาศในยุโรป ในโลกเก่า ในโลกใหม่ก่อนคริสต์ศักราช (B.C.) ยุคน้ำแข็งยุคสุดท้าย ยุคหินเก่าตอนปลาย 10,000 (เวิร์ม-วิสคอนซิน) การล่าสัตว์วัฒนธรรมมนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnon)9,000 การถดถอยของธารน้ำแข็ง ยุคหินเก่าตอนกลางวัฒนธรรมอากาศหนาว แห้งแล้ง ตกปลา, การล่าสัตว์และแห้งแล้ง การเก็บรวบรวมของป่า8,000 เริ่มมีวัฒนธรรมการล่าสัตว์มนุษย์ฟอลซัม(Folsom)7,000 - อาจเริ่มมีการกสิกรรม -6,000 ยุคบอเรียล (Boreal)อากาศอบอุ่น - -แห้งแล้ง5,000 ยุคแอตแลนติก (Atlantic) ยุคหินใหม่เกิดการกสิกรรม -อากาศอบอุ่น, ชุ่มชื่น และแพร่กระจายไปที่อื่น4,000 - เริ่มเกิดอารยธรรมอียิปต์-สุเมเรียน -การกสิกรรมยุคหินใหม่ในยุโรปเหนือ เริ่มมีการกสิกรรม2,000 ยุคซับบอเรียล (Subboreal) จักรวรรดิ์บาบิโลเนียน ในทวีปกาศหนาว และแห้งแล้ง (เมโสโปเตเมีย) การรุกราน อเมริกาของเผ่าอารยันสู่อินเดีย ชาวเมเดล์ และเปอร์เซีย1,000 เกิดอารยธรรมกรีก และรุ่งเรือง วัฒนธรรมถึงที่สุด แม็กซิโกและมายาตอนต้นก่อนคริสต์ศักราช ยุคซับแอตแลนติก จักวรรดิ์โรมัน การรุกรานของ วัฒนธรรมต่อกับเริ่มคริสต์ศักราช (Sub-Atlantic) กอธ (Goths) ฮั่น (Huns) มายาเสื่อมลงตอนต้น ประมาณ เกิดศาสนาอิสลามค.ศ.300ค.ศ. 1,000 การรุกรานของมองโกลและตาร์ตาร์ อารยธรรมแอทเทคส์ (Aztecs) และอินคา (Incas)การเดินทางทางเรือเพื่อต้นหาดินแดนใหม่และการล่าอาณานิคมของยุโรปค.ศ. 1,700 เริ่มยุควิทยาศาสตร์สมัยใหม่การปฏิวัติทางอุตสาหกรรม และวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ตารางที่ 3 วิวัฒนาการด้านวัฒนธรรมของมนุษย์ตั้งแต่ยุคน้ำแข็งยุคสุดท้ายจนถึงปัจจุบัน (Kupchella and Hyland, 1989) ระยะเวลา สมัยความเจริญของมนุษย์ตามประวัติศาสตร์ สมัยความเจริญของวิทยาศาสตร์ตั้งแต่โลกมีมนุษย์จนถึงยุคที่มนุษย์รู้จักการใช้โลหะ 1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Perhistoric Ages) แบ่งเป็นสมัยหินเก่า - สมัยหินใหม่ วิทยาศาสตร์สมัยโบราณ- สมัยแรกเริ่ม- สมัยกรีก- สมัยอเล็กซานเดรีย(..ถึงประมาณ ค.ศ.450)ตั้งแต่สมัยบอรนซ์หรือทองสำริด ซึ่งเป็นสมัยที่ชาติโบราณเจริญไปจนถึง ค.ศ. 476 ซึ่งจักรวรรดิโรมันเสียเอกราช แก่อนารยชน 2. สมัยโบราณ (Ancient Ages) ค.ศ. 476-ค.ศ.1453 ซึ่งเป็นปีที่จักวรรดิโรมันตะวันออกเสียอำนาจให้แก่พวกเตอร์กซึ่งแผ่อำนาจจากเอเซียเข้ามาในยุโรป 3. สมัยกลาง (Middle Ages) ตั้งแต่ต้นสมัยกลางจนถึงเกือบปลายสมัยเรียกว่าสมัยมืดมน (Dark Ages) ปลายสมัยกลางเป็นสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) วิทยาศาสตร์สมัยกลาง (ประมาณ ค.ศ. 450 ถึง ประมาณ ค.ศ. 1700)ค.ศ. 1453 - ค.ศ. 1918 ซึ่งเป็นปีที่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 4. สมัยใหม่ (Modern Ages) วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ (ประมาณ ค.ศ. 1700 ถึงปัจจุบัน)ค.ศ. 1918 - ปัจจุบัน 5. สมัยปัจจุบัน (Contemporary Ages) ตารางที่ 4 เปรียบเทียบสมัยความเจริญของมนุษย์ตามประวัติศาสตร์ และ สมัยความเจริญทางวิทยาศาสตร์ (อมรา ทองปาน และ วีรศักดิ์ อุดมโชค. 2541 : 4) จะเห็นได้ว่า การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในกระแสโลกนั้นมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไปและถ่ายเทจากฐานความรู้ความคิดเดิม ไปสู่ฐานความรู้ความคิดใหม่ เช่น จากการเกษตร ไปสู่อุตสาหกรรม จนกระทั่งถึงเทคโนโลยีสารนิเทศ เป็นต้น นอกจากนั้นนับได้ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" เป็น "วัฒนธรรม" ระบบหนึ่งด้วย ซึ่งการยอมรับวัฒนธรรมใหม่ของผู้คนในสังคมใด ๆ ย่อมมีความเกี่ยวข้องกับ "ลักษณะนิสัย" ของผู้คนในสังคมนั้น ๆ ด้วยอย่างไรก็ตามในสมัยโบราณ ไม่ใคร่มีการแยกสาขาวิชาออกมาชัดเจน นักปราชญ์แต่ละคนมักจะสนใจที่จะศึกษาความรู้ทุกด้าน วิทยาศาสตร์จึงเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญา การเรียนรู้โดยการทดลองยังมีน้อย อาจจะมีการสังเกตธรรมชาติกันบ้าง เช่น การศึกษาท้องฟ้า แต่อุปกรณ์และเทคนิคในสมัยนั้น อาจจะไม่ดีพอที่จะให้ผลที่ละเอียดแม่นยำ อย่างไรก็ตาม คนปัจจุบันก็ยังยกย่องว่าคนโบราณได้ทำการศึกษาวิชาชีววิทยาไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วนดีมากกว่าวิชาอื่น เช่น รู้ว่าปลาวาฬเป็นสัตว์ที่ต่างจากปลาประเภทอื่นทั่วไป คนปัจจุบันรู้ลึกซึ้งกว่าก็เพราะว่า มีอุปกรณ์ เช่น กล้องจุลทรรศน์เป็นเครื่องช่วย เป็นต้น

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ มนุษย์พยายามดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด มากกว่าที่จะค้นหาความรู้ทางวิชาการที่เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นอยากเข้าใจ การดำเนินชีวิตยังคงผันผวนไปตามธรรมชาติแวดล้อมโดยมนุษย์ไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขกลไกในธรรมชาติ ดังเช่นการเพาะปลูกที่ให้ผลิตผลสูงในช่วง ต้น ๆ ครั้นเมื่อดินจืด ผลิตผลเลวลงมนุษย์จะเผาป่า ย้ายไปหาที่เพราะปลูกใหม่ เฉพาะแถบริมฝั่งแม่น้ำ ที่น้ำท่วมพาโคลนมาทับถมทุกปีเท่านั้นที่สามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี แต่การที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดนี้เอง ผนวกกับความสามารถทางสติปัญญาทำให้มนุษย์เรียนรู้ทีละเล็กละน้อย ในอันที่จะเปลี่ยนแปลงกลไกธรรมชาติเพื่อปรับปรุงธรรมชาติแวดล้อมให้เหมาะกับการดำรงชีวิตของตน 1.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยเริ่มแรก ในยุคหินใหม่เมื่อประมาณ 6,000 ปี ก่อนคริสต์ศตวรรษ มนุษย์เริ่มมีการสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น มีการพัฒนาทางด้านเกษตรกรรม มีการใช้โลหะหลอม ซึ่งเรียกว่า ยุคสำริด (Bronze Age) โดยใช้ทองแดงผสมกับดีบุกเพื่อความแข็งแรง และที่สำคัญ คือ เริ่มมีการบันทึกเป็นภาษาเกิดขึ้นในอารยธรรมเริ่มแรก เช่น ก. อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (Mesopotamian Civilization) อารยธรรมเมโสโปเตเมีย เป็นอารยธรรมเก่าแก่ที่เกิดขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส (Tigris) และแม่น้ำยูเฟรตีส (Euphrates) คำว่า "เมโสโปเตเมีย" เป็นภาษากรีก หมายถึง ดินแดนที่อยู่ระหว่างแม่น้ำทั้งสอง ปัจจุบัน คือ ประเทศอิรัก ณ ที่แห่งนี้มีชนชาติต่าง ๆ อพยพเข้ามาอยู่อาศัยมากมาย แต่ละชนชาติเหล่านั้นได้นำความเจริญมาสู่เมโสโปเตเมีย เช่น ชาวสุเมเรียนได้ประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) ซึ่งเกิดจากการใช้กระดูกมีลักษณะเป็น รูปลิ่ม กดบนดินเหนียวในขณะอ่อนตัว เป็นรูปร่างต่าง ๆ เพื่อแสดงความหมายที่ต้องการ นับเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ชาวสุเมเรียนยังเริ่มมีการคิดค้นปฏิทินขึ้นใช้ โดยกำหนด 1 เดือน มี 29.5 วัน 1 ปี มี 12 เดือน และถือหน่วย 60 ในการนับวินาที และชั่วโมงชาวแคลเดียน (Chaldean) เป็นชนชาติหนึ่งที่เข้ามาอาศัยในเมโสโปเตเมีย และได้ทำให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์มีความเจริญและพัฒนามากขึ้น โดยมีความเชื่อว่าดาวเคราะห์มี 5 ดวง ประกอบด้วย ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ เมื่อรวมกับดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ ก็คือ เทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่ 7 องค์ อารยธรรมเมโสโปเตเมียได้ให้ความรู้แก่มนุษย์ชาติ และได้ใช้ตราบจนทุกวันนี้คือ 1 สัปดาห์มี 7 วัน การแบ่งหน้าปัทม์นาฬิกาเป็น 12 ช่อง ๆ ละ 1 ชั่วโมง ข. อารยธรรมอียิปต์ (Egyptian Civilization) ชนชาติอียิปต์โบราณตั้งถิ่นฐานในดินแดนลุ่มแม่น้ำไนส์ เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อน คริสต์ศักราช อารยธรรมอียิปต์ได้ให้ความรู้แก่มนุษยชาติมากมาย สืบเนื่องมาจากความเชื่อในเรื่องการกลับชาติมาเกิด ทำให้ชาวอียิปต์คิดค้นการทำมัมมี่ศพเพื่อรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยและสร้างที่บรรจุศพอย่างแข็งแรง คือ ปิระมิด การสร้างปิระมิดต้องใช้กำลังคนจำนวนมากและใช้หลักการด้านกลศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสถาปัตยกรรมที่ล้ำยุค ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันยังไม่สามารถให้คำตอบว่าคนสมัยโบราณสามารถทำได้อย่างไรเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวอียิปต์โบราณได้ประดิษฐ์อักษรฮีโรกราฟิก (Hieroglyphic) ซึ่งเป็นอักษรภาพ ต่อมาอักษรภาพนี้ได้ดัดแปลงเป็นตัวเดโมติก (Demotic) ซึ่งใช้ในภาษากรีกปัจจุบัน ชาวอียิปต์โบราณสามารถคำนวณพื้นที่ของสี่เหลี่ยมจตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้าและทรงกลม นอกจากนี้ชาวอียิปต์โบราณยังมีความรู้ด้านดาราศาสตร์อย่างดี และได้กำหนดปฏิทินของตนเอง โดยกำหนด 1 ปีมี 360 วัน และต่อมากำหนด 1 ปีมี 365 วัน โดยแบ่งออกเป็น 12 เดือน ความรู้ด้านชีวภาพของชาวอียิปต์โบราณ คือ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกายวิภาค และสรีรวิทยาของร่างกายมนุษย์ ซึ่งนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าด้านการแพทย์สาขา ต่าง ๆ โดยเฉพาะจักษุแพทย์ ทันตแพทย์ และศัลยแพทย์ ซึ่งเป็นพื้นฐานให้แก่ชาวกรีกในสมัยต่อมา ค. อารยธรรมในอเมริกากลาง (Central American Civilization) แหล่งอารยธรรมสำคัญในทวีปอเมริกากลางบริเวณแหลมยูกาตัน (Yucatan) หรือบริเวณที่เป็นประเทศกัวเตมาลา ฮอนดูรัส นิการากัว คอสตาริกา ปานามา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เปรู โบลิเวีย ชิลี และอาร์เจนตินาในปัจจุบัน ในสมัยโบราณบริเวณนี้มีชนเผ่าต่าง ๆ เข้าไปอยู่อาศัย ได้แก่ มายา (Mayas) แอสแทค (Aztecs) และอินคา (Incas) ซึ่งเชื่อกันว่า ชนเผ่าแอสเทคมีความรู้ด้านดาราศาสตร์มาก ส่วนชนเผ่าอื่น ๆ ก็มีร่องรอยของอารยธรรมที่เจริญมากเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสถาปัตยกรรมการก่อสร้าง ง. อารยธรรมในเอเซีย (Asian Civilization) อารยธรรมโบราณที่เกิดขึ้นในทวีปเอเซียมีแหล่งสำคัญอยู่ในประเทศอินเดียและจีน อารยธรรมในประเทศอินเดียมีความเจริญสูงสุดเมื่อ 3,000 - 2,000 ปีก่อนคริสตศักราช สำหรับในประเทศไทยเอง มีการขุดพบสิ่งของเครื่องใช้ที่แสดงถึงอารยธรรมที่มีความเจริญอย่างมาก และมีอายุมากกว่าที่พบในอินเดีย จีน และเมโสโปเตเมีย (สุเมธ ชุมสาย. 2529) 1.2 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยกรีก ในอาณาบริเวณรอบทะเลเอเจียน (Aegean Sea) มีกลุ่มชนเฮลเลียน (Hellenes) อาศัยอยู่และเรียกชื่อประเทศว่าเฮลลาส (Hellas) แต่คนส่วนใหญ่เรียกชนกลุ่มนี้ว่า กรีก (Greeks) กลุ่มชนพวกนี้มีการปกครองเป็นแคว้นเล็ก ๆ และมีการพัฒนาด้านปรัชญา กฎหมาย และวิทยาศาสตร์ อย่างสูงสุดซึ่งหลายสาขาวิชายังมีการใช้จนถึงปัจจุบัน แคว้นในจักรวรรดิ์กรีกที่ได้มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ได้แก่แคว้นไอโอเนีย (Ionia) เป็นสถานที่ ๆ วิทยาศาสตร์สมัยกรีกได้เริ่มเจริญ รุ่งเรืองเป็นแห่งแรก ชาวกรีกมีอักษรฟีนิเชียน (Phaenician) ใช้เพื่อบันทึกความรู้ต่าง ๆ ซึ่งอักษรนี้ ต่อมาได้พัฒนาเป็นอักษรละตินและอังกฤษ นักปรัชญา และนักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกที่สำคัญ ได้แก่ - เทลิสแห่งไมเลตุส (Thales of Milletus 636-546 ก่อน ค.ศ) ท่านผู้นี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกของกรีกและมนุษย์ชาติ ซึ่งให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และเรขาคณิต - เอมเพโดคลีส (Empedocles 495-430 ก่อน ค.ศ) ตั้งทฤษฎีธาตุสี่ (Theory of Four Humours) กล่าวว่า สิ่งมีชีวิตประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ - ฮิปโปเครตีส (Hippocrates 490-377 ก่อน ค.ศ) บิดาแห่งการแพทย์ ลบล้างความเชื่อที่ว่าโรคภัยไข้เจ็บเกิดจากการกระทำของสิ่งเหนือธรรมชาติ - อริสโตเติล (Aristotle 384-322 ก่อน ค.ศ) บิดาแห่งวิชาสัตววิทยา ธรรมชาติวิทยาและศาสตร์ด้านอื่น ๆ อีกมาก เป็นนักปราชญ์ชาวกรีกที่สำคัญ เนื่องจากคำสอนของอริสโตเติล มีการถ่ายทอดและเชื่อเถือในชนชาติต่าง ๆ นานถึง 2,000 ปี 1.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยอเล็กซานเดรียเมื่อ 334 ปีก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้เข้ายึดครองอียิปต์ เปอร์เซีย กรีก และได้จัดตั้งชุมชนเป็นศูนย์การค้าและวิทยาการที่เมืองอเล็กซานเดรีย ซึ่งอยู่ที่บริเวณปากแม่น้ำไนล์ ต่อมาเมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสิ้นพระชนม์ลงราชวงศ์โทเลอมีได้ครองเมืองต่อมาและได้ส่งเสริมการศึกษาด้านวิทยาศษสตร์สาขาต่าง ๆ อย่างมาก มีการทดลองและบันทึกข้อมูลในม้วนกระดาษปาปิรัส และรวบรวมไว้ที่หอสมุดอเล็กซานเดรีย ซึ่งจัดเป็นแหล่งสะสมวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในโลกของสมัยนั้น มีม้วนปาปิรัสมากถึง 7 แสนม้วน นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในสมัยนี้ ได้แก่ - ยูคลิด (Euclid 330-260 ก่อน ค.ศ) บิดาแห่งเรขาคณิต - อาร์คีมิดีสแห่งไซราคิวส์ (Archimedes of Syracuse 287 - 212 ก่อน ค.ศ) นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของฟิสิกส์ด้านกลศาสตร์ และเป็นนักประดิษฐ์ที่ฉลาดล้ำยุคเป็นผู้ค้นพบ กฏของคานดีดคานงัด ค้นพบว่าน้ำหนักของวัตถุที่หายไปเมื่อชั่งในน้ำจะเท่ากับน้ำหนักของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่ - โทเลอมี (Claudius Ptolemy ค.ศ. 127-170) เขียนหนังสืออัลมาเจส (Almagest) ซึ่งกล่าวว่าโลกนี้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ โคจรรอบโลก หนังสือเล่มนี้มีอิทธิพลต่อการศึกษาดาราศาสตร์ถึง 1,500 ปีต่อมา - เกเลน (Galen of Pergamum ค.ศ. 131-201) แพทย์ผู้ยิ่งใหญ่ศึกษา กายวิภาคและสรีระวิทยาของคน โดยการผ่าตัดลิงและหมู จึงทำให้ข้อมูลผิดพลาด และมีอิทธิพลต่อการพัฒนาด้านการแพทย์เกือบ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยกลาง วิทยาศาสตร์สมัยกลางเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 450-1700 วิทยาศาสตร์ในยุคนี้ยังคง เกี่ยวข้องกับวิชาปรัชญาอยู่บางส่วน และเนื่องจากมีการรุกรานแย่งดินแดน โดยอนารยชน (Barbarian) ไปยังอาณาจักรที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาก่อน โดยเฉพาะจักรวรรดิ์โรมัน ทำให้วิชาการต่าง ๆ ชะงักไปประกอบกับความเชื่อทางศาสนาจะบังคับให้ผู้สนใจค้นคว้าวิทยาศาสตร์ต้องจำกัดความคิดและการค้รคว้าด้านต่าง ๆ ลง ดังนั้นวิทยาศาสตร์สมัยกลางจึงแบ่งเป็นยุคมืด และยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ในยุคมืดนี้เกือบไม่มีความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นเลย ส่วนมากเป็นการเก็บรวบรวมและแปลตำราที่มีอยู่เดิมจากอียิปต์โบราณและกรีกโบราณ โดยชนชาติอาหรับเป็นผู้แปลจากต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอาหรับ ดังนั้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 อาหรับจึงเป็นผู้นำด้านปรัชญา และวิทยาศาสตร์ ต่อมายุโรปจึงรับความรู้จากอาหรับในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 และแปลตำราจากอาหรับกลับเป็นภาษาละตินและมีการใช้แพร่หลายในยุโรปจนถึงกลางศตวรรษที่ 14 จึงเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา หรือยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม กลางศตวรรษที่ 14 เมื่อวิทยาศาสตร์เข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ได้มีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์โดย โยฮันน์ กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg ค.ศ. 1397-1468) ชาวเยอรมัน และทำให้มีการเผยแพร่วิชาการด้านวิทยาศาสตร์ได้กว้างขวางมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในสมัยนี้ได้แก่ - ลีโอนาโด ดาวินซี ( Leonardo da Vinci ค.ศ. 1452 - 1519 ) เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจกายวิภาค กลศาสตร์ และจลศาสตร์ของไหล นับเป็นผู้ริเริ่มนำวิทยาศาสตร์เข้าสู่ยุคใหม่

การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-18 มีการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์ครั้งใหญ่มีการค้นคว้าทดลองพิสูจน์ทฤษฎีต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ ในยุคนี้มีนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ - นิโคลัส โคเพอร์นิคัส (Nicholaus Copernicus ค.ศ. 1473-1543) เป็นนักวิทยาศาสตร์เชื้อสายโปแลนด์ ได้ให้ทฤษฎีเกี่ยวกับจักรวาลว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ โลกไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล นับเป็นการปฏิวัติทางดาราศาสตร์ครั้งสำคัญ เพราะเป็นการอ้างทฤษฎีที่ค้านกับความเชื่อเดิมเมื่อ 1,500 ปีมาแล้ว ซึ่งเสนอโดย โทเลอมี - แอนเดรียส วีเซเลียส (Andreas Vesalius ค.ศ. 1514-1563) นักกายวิภาคศาสตร์ผู้ศึกษาจากศพคนจริง ๆ และคัดค้านคำสอนของเกเลน ทำให้คำสั่งสอนของเกเลนซึ่งเชื่อกันมานานถึง 1,500 ปี ถูกล้มล้างไป การศึกษากายวิภาคของคนจากร่างกายของคนจึงทำให้การพัฒนาด้านการแพทย์เจริญก้าวหน้าเข้าสู่ยุคปัจจุบันมากขึ้น - กาลิเลโอ (Galileo Galilei ค.ศ. 1564-1642) เป็นนักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ ชาวอิตาเลียน ผู้มีความคิดเห็นก้าวหน้าล้ำยุคมาก และไม่เห็นด้วยกับความเชื่อด้านวิทยาศาสตร์โบราณของอริสโตเติล โทเลอมี และเกเลน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั้งสามท่านนี้ได้มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของวิทยาศาสตร์ด้านต่าง ๆ ยาวนานกว่าพันปีทั้งสิ้น ดังนั้น กาลิเลโอจึงประสบปัญหาในการเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างมาก เพราะขัดแย้งกับคำสอนทางศาสนาอีกด้วยเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า บิดาแห่งการทดลองทางวิทยาศาสตร์เขาค้นพบของแรงดึงดูดของวัตถุของโลกในชั้นแรก และเป็นผู้ปรพดิษฐ์กล้องดูดาว ที่สามารถส่องดูการเคลื่อนไหวของดาวได้เป็นคนแรก - โยฮัน เคปเลอร์ (Johannes Kcpler ค.ศ. 11571-1630) เป็นคนแรกที่วางรากฐานเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของจักรวาล และอธิบายวิถีการโคจรของดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวง ปัจจุบันยังใช้กันอยู่เรียกว่ากฎของเคปเลอร์ เขาสรุปว่า ดวงดาวต่าง ๆ โคจรเป็นวงรีไม่ใช่วงกลม - โรเบิร์ต บอยล์ (Robert Boyle ค.ศ. 1627-1692) บิดาแห่งวิชาเคมีและเป็นคนแรกที่ผลักดันให้เกิดวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งมีการศึกษาทดลองประกอบกับการตั้งทฤษฎีโดยโจมตีแนวคิดของอริสโตเติลที่กล่าวว่าสสารประกอบด้วยธาตุ 4 ชนิด แต่บอยล์กลับกล่าวว่าสสารประดอบด้วยธาตุมากกว่านั้นมากมาย - จอห์น เรย์ (John Ray ค.ศ. 1627 - 1705) เป็นผู้เริ่มงานด้านชีววิทยา จำแนกพืชพันธุ์ไม้ต่าง ๆ เป็นหมวดหมู่และตั้งชื่อไว้ด้วย เขาจำแนกพืชต่าง ๆ กว่า 1,186,000 ชนิด ไว้เป็นหมวดหมู่ จึงได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งวิชาพฤษศาสตร์ - เอนตัน แวน เลเวนฮุก (Anton Van Leuwenhoek ค.ศ. 1632 - 1723) ได้พบวิธีฝนเนส์ และได้สร้างกล้องจุลทรรศน์ นำไปส่องดูสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ แล้วสามารถได้รายละเอียดของสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ นั้นได้ ข้อมูลของเขาทำให้ความรู้เรื่องจุลชีวันกระจ่างขึ้นมาก กล้องจุลทรรศน์ของเขาสามารถขยายได้ถึง 270 เท่า จึงได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งโลกจุลชีวัน - เซอร์ ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton ค.ศ. 1642-1727) พบกฎแห่งความโน้มถ่วงซึ่งเป็นกฎสากลอันดับแรก จึงได้รับสมญานามว่า บิดาของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และเป็นผู้ศึกษาเรื่องแสง โดยเจาะช่องเล็ก ๆ ให้แสงส่องเข้าไปในห้องมืด เมื่อเอาแท่งแก้วปริซึมวางไว้ให้แสงแดดส่งผ่าน แสงสีขาวจะกระจายเป็น 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง พร้อมกับอธิบายถึงสาเหตุของการเกิดรุ้งกินน้ำ และ สรุปแรงดึงดูดของโลก จากการสังเกตลูกแอปเปิ้ลตกลงพื้นดิน ไม่ลอยไปในอากาศ โดยเรียกกฎนี้ว่า " กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน "

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1700 เป็นต้นมา ได้เข้าสู่ยุควิทยาศาสตร์สมัยใหม่ มีการค้นพบทฤษฎีการสันดาปโดยลาวัวซิเอ ความก้าวหน้าด้านเคมีสาขาต่าง ๆ ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อม ๆ กับความก้าวหน้าด้านฟิสิกส์และกลศาสตร์ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและมีการพัฒนาของวิทยาศาสตร์ทุกสาขาเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ในการที่จะครองโลกวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีจนถึงปัจจุบันนี้ 1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกิดขึ้นในสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อ คริสตศตวรรษที่ 18 จากความก้าวหน้าทางวิทยาการในแขนงต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ในช่วง คริสตศตวรรษที่ 18 ซึ่งได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงความเชื่อถือ แนวความคิดปรัชญาวิทยาศาสตร์โบราณมาเชื่อถือปรัชญาวิทยาศาสตร์แนวใหม่ และได้นำวิธีการวิทยาศาสตร์มาใช้ทำให้ประสบผลสำเร็จเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และใช้รูปแบบทางคณิตศาสตร์มาจำลองศีกษาธรรมชาติ ทำให้เกิดการค้นพบ และการตั้งทฤษฎีใหม่ ๆ มากมาย นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ประสาทความรู้ให้กับวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสมัยนี้ได้แก่ - เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin ค.ศ. 1706-1790) ค้นพบว่าไฟฟ้าเป็นของไหล ซึ่งเป็นรากฐานทำให้ค้นพบอิเล็กตรอนในเวลาต่อมา เขาค้นพบไฟฟ้าในอากาศ ทำให้เกิดฟ้าแลบและฟ้าผ่า และแนะนำวิธีการป้องกันฟ้าผ่า โดยการประดิษฐ์สายล่อฟ้าขึ้น นอกจากนี้ยังได้เสนอแนะว่าอาการเกิดสารพิษจากตะกั่ว มักจะเกิดกับบุคคลที่ทำงานในโรงพิมพ์ - เจมส์ วัตต์ (James Watt ค.ศ. 1736-1819) เป็นผู้ปรับปรุงเครื่องจักรไอน้ำของนิวโคเมน และประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำแบบใหม่ โดยแก้ไขจุดบกพร่องจากแบบของนิวโคเมน และได้พัฒนาเครื่องจักรไอน้ำที่ทำงานระบบ "ดับเบิลแอกชัน" ทำให้ลูกล้อหมุนไปได้ซึ่งเป็นแนวทางในการประดิษฐ์รถยนต์และรถไฟในเวลาต่อมา และเป็นผู้กำหนดกำลังเครื่องจักเป็น "แรงม้า"ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม บรรยากาศทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ที่เอื้ออำนวยให้มีการประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในอังกฤษโดยรัฐเป็นผู้สนับสนุนในทุกวิถีทางที่จะทำให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ซึ่งเชื่อกันว่า จะทำให้ชาติเป็นมหาอำนาจในทางเศรษฐกิจและการเมืองได้โดยการให้ผลประโยชน์แก่ผู้ประดิษฐ์คิดค้น และหลักประกันสิ่งประดิษฐ์ ดำเนินการจัดหาแหล่งทรัพยากรและตลาดการค้า ตลอดไปจนถึงการสนับสนุนการลงทุน รวมทั้งเผยแพร่ความคิดเห็นในทางอุตสาหกรรมทำให้มีการตื่นตัวขึ้นในสังคม และแผ่ขยายอิทธิพลความคิดไปสู่นานาประเทศ ดังนั้นกระบวนการผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการของพลเมือง ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจึงเปลี่ยนจากการทำในครัวเรือนไปเป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่มีการทำงานโดยใช้ระบบแบ่งแรงงานให้แต่ละคนทำงานเฉพาะส่วน มีการศึกษาวิจัยระบบงานให้สัมพันธ์กับเวลา และใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัยในกระบวนการประกอบการอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมด้านต่าง ๆเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดปัญหาสังคมติดตามมาด้วย ผลที่เห็นได้ชัดเจน คือ คนอพยพเข้ามารวมกันทำงานในเมืองอุตสาหกรรมเกิดความแออัด ชนชั้นกรรมกรถูกกดขี่ และทารุณจนเกิดการต่อสู่ระหว่างชนชั้นขึ้น ส่วนนายทุนเริ่มมีอำนาจก็แสวงหาอาณานิคมเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นแหล่งทรัพยากร หรือเป็นตลาด ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ประสบผลสำเร็จได้เปลี่ยนแปลงความเชื่อเก่า ๆ เกี่ยวกับแนวความคิดโบราณโดยสิ้นเชิง 2 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยสงครามโลก ในประวัติศาสตร์เกือบจะไม่มีช่วงเวลาใดเลยที่โลกปลอดจากสงคราม สงครามจัดได้ว่าเป็นกิจกรรมร่วมของมนุษยชาติอย่างหนึ่งซึ่งมักใช้เป็นทางออกเมื่อเกิดข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับผลประโยชน์ ความสามารถในการประหัตประหาร ชาติพันธุ์เดียวกันของมนุษย์เหนือกว่าสัตว์ทั้งปวง อาจเป็นเพราะว่า ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในบางช่วงเวลาของประวัติศาสตร์เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะมนุษย์ได้ทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างทั้งสติปัญญาและทรัพยากรเพื่อพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ ตลอดจนกลวิธีทำลายข้าศึก ตัวอย่างเช่น เห็นได้จากวิวัฒนาการของเครื่องบินรบ ทั้งในแง่ของความเร็วและสมรรถนะ ในมหาสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศมหาอำนาจได้ผนึกกำลังนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำเข้ามาทำงานด้วยกันเป็นกลุ่มใหญ่เพื่อพัฒนาและประยุกต์วิธีการประหัตประหารแบบใหม่ ๆ ในมหาสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นั้น จัดได้ว่าเป็นสงครามเคมี เพราะมีการทำลายล้างด้วยระเบิดชนิดต่าง ๆ และแก๊ส ส่วนมหาสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ยุติลงด้วยระเบิดปรมาณูที่ทำลายล้างชีวิตมนุษย์นับแสนคนลงในชั่วพริบตา ผลจากสงครามทำให้เกิดการกระตุ้นเตือนนักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์คิดค้นให้เพิ่มความรับผิดชอบและระมัดระวังในผลงานของตนยิ่งขึ้น บุคคลหลายกลุ่มได้ผนึกตัวขึ้นต่อต้านการทำสงครามด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการเรียกร้องให้ลดกำลังอาวุธ ถึงกระนั้นก็ตามประเทศมหาอำนาจก็ยังเร่งระดมสร้างอาวุธร้ายแรงขึ้นทุกที เช่น ระเบิดไฮโดรเจน ระเบิดนิวตรอน สารพิษ และเชื้อโรค เป็นต้น ซึ่งสงครามครั้งต่อ ๆ ไป อาจหมายถึงอวสานของมนุษย์ก็เป็นได้ นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในสมัยนี้ ได้แก่- อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein ค.ศ. 1879-1955) เป็นนักฟิสิกส์คณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้ค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพอันนำไปสู่การสร้างระเบิดปรมณู และคิดค้นทฤษฎีใหม่ ซึ่งนำไปสู่การสำรวจอวกาศ 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม ช่วงนี้เป็นช่วงต่อจากสมัยการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมและอาจกล่าวได้ว่า มีผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากมายเกิดขึ้น ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษยสุขสบายความเป็นอยู่ดีขึ้นและปลอดภัยจากโลกภัยไข้เจ็บ นักวิทยาศาสตร์สมัยนี้ได้แก่ - ลาวัวซิเอ (Antoine Laurent Lavoisier ค.ศ. 1743-1794) เป็นผู้สนใจทางด้านเคมี ได้ตั้งทฤษฎีการสันดาป เขาได้ตั้งชื่อก๊าซที่ทำให้ลุกไหม้ว่า "ก๊าซออกซิเจน" และตั้งกฎทรงแห่งมวลสาร ซึ่งมีใจความว่า "มวลของสารก่อนทำปฏิกริยาย่อมเท่ากับมวลของสารหลังการทำ ปฏิกริยา" - วอลตา (Alessandro A. Volta ค.ศ. 1744-1827) ได้ทดลองใช้แผ่นสังกะสีและทองแดงตัดให้กลมคล้ายเหรียญบาทประกบสลับกัน แล้วนำปลายข้างหนึ่งจุ่มลงในอ่างน้ำที่มีเกลือและชิ้นส่วนของหนังสัตว์ปนอยู่ด้วย ปรากฎว่าเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น เขาเรียกเครื่องมือนี้ว่า "โวลทาอิกไฟล์" และเมื่อเชื่อมโวลทาอิกไฟล์หลายอันเข้าด้วยกันพบว่าเกิดประแสมากขึ้นซึ่งเป็นหลักของแบตเตอรี่ในปัจจุบัน - ลามาร์ก (Jean Baptise - Chevalier de Lamark ค.ศ.1744-1829) เขาได้สนใจเรื่องความแตกต่างและความเหมือนกันของสิ่งมีชีวิต จึงได้จัดแบ่งสัตว์เป็นหมวดหมู่และได้ตั้งกฎการใช้และไม่ใช้ ที่อธิบายว่าลักษณะด้อยจะถ่ายทอดจากบรรพบุรุษไปยังลูกหลาน และลักษณะที่ไม่จำเป็นจะค่อย ๆ เสื่อมสลายไป - เอ็ดมันด์ ฮัลลีย์ (Edmund Halley ค.ศ. 1656 - 1742 เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษศึกษาค้นคว้าหาตำแหน่งดาวฤกษ์ต่าง ๆ เขาได้บันทึกการเคลื่อนที่ของดาวหางดาวหนึ่งและได้พยากรณ์ว่าดาวหางดวงนั้นจะปรากฎให้เห็นในทุก 76 ปี และก็เป็นดังที่เขาทำนาย เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาดาวหางดวงนั้นจึงชื่อว่า "ดาวหางฮัลลีย์" - เอ็ดวาร์ด เจนเนอร์ ( Edward Jenner ค.ศ. 1749 - 1823) เป็นผู้ค้นพบวิธีลูกผีเพื่อป้องกันไข้ทรพิษ - เซอร์ ฮัมฟรีย์ เดวี (Sir Humphry Davy ค.ศ. 1778 -1829) ได้ค้นพบก๊าซไนตรัสออกไซด์ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นยาสลบได้ - แอมแปร์ (Andre- Marie Ampere ค.ศ. 1774 - 1836) เป็นผู้ค้นพบกระแสไฟฟ้าสลับ ซึ่งต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อหน่วยวัดกระแสไฟฟ้าว่า "แอมแปร์"เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา - ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday ค.ศ. 1791- 1867) เป็นผู้ค้นพบสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า พบหลักการของหม้อแปลง พบกฎการแยกสลายด้วยไฟฟ้าซึ่งยังใช้กันในปัจจุบัน - โทมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edisson ค.ศ. 1847 - 1931) เป็นนักประดิษฐ์ที่สำคัญคนหนึ่งของโลกได้ประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียงเครื่องแรกของโลก หลอดไฟฟ้าเครื่องฉายภาพยนต์ มีสิ่งประดิษฐ์ที่จดลิขสิทธิ์ 1,328 ชิ้น และที่ไม่ได้จดลิขสิทธิ์อีกมากมาย - ชาลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน (Charles Robert Dawin ค.ศ. 1809 - 1882) เป็นผู้ค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต - เกรกอร์ โยฮันน์ เมนเดล (Gregoe Johann Mendel ค.ศ. 1822-1884) เขาได้ศึกษาทดลองเกี่ยวกับการผสมพันธุ์พืช และได้สรุปเป็นกฎเรียกว่า "กฎทางพันธุ์กรรมของเมนเดล" และได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งพันธุ์กรรม - ลูเธอร์ เบอร์แบงค์ (Luther Burbank ค.ศ. 1849-1926) เขาได้ทดลองผสมพันธุ์ไม้ดอกและไม้ผล และทดลองผสมข้ามพันธุ์และเลือกพันธุ์ที่ดีที่สุดไว้ จนได้พันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพดีมากมายเขาได้สมญานามว่า "ผู้วิเศษแห่งต้นไม้" - หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur ค.ศ. 1822 - 1895) เป็นผู้ค้นพบจุลินทรีย์ และวางรากฐานทฤษฎีแบคทีเรีย ใช้วิธีการพาสเจอร์ไรเซชั่น (Pasteurization) ในการกำจัดแบคทีเรียในอาหาร โดยการทำให้อาหารอุ่น แล้วทำให้เย็นลงโดยเร็ว และยังค้นพบวิธีการทำเซรุ่มแก้พิษสนัขบ้า และผลิตวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า - ลอร์ด โจเซฟ ลิสเตอร์ (Lord Joseph Lister ค.ศ. 1827 - 1912) เป็นศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ เขาคิดว่าการเกิดหนองหลังจากการผ่าตัด อาจจะเกิดจากเชื้อโรคในอากาศ ดังนั้นจึงต้องหาวิธีกำจัดเสียก่อน เขาทดลองใช้กรดคาร์บอลิกเจือจาง ทำความสะอาดบริเวณที่จะทำการผ่าตัด และทำความสะอาดเครื่องมือ ใช้ผ้าเช็ดมือที่สะอาดขณะที่มีการผ่าตัด และได้ทดลองผ่าตัดคนไข้คนหนึ่ง ปรากฎว่าไม่มีหนอง และการอักเสบเกิดขึ้นอีกเลย 4. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยปัจจุบัน การศึกษาและการประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งครั้งหนึ่งในสมัยประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เป็นเพียงกิจกรรมส่วนหนึ่งของนักปราชญ์กลุ่มย่อยๆ ในสังคม ได้เปลี่ยนแปลงกลายมาเป็นอาชีพที่หลายคนให้ความเชื่อถือ และใฝ่ฝันที่จะได้เข้าไปมีบทบาทร่วมดำเนินการ ฐานะ และภาพพจน์ของสังคมที่มีต่ออาชีพการวิจัยและการประดิษฐ์คิดค้น ไม่ว่าจะเป็นของนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร หรือ นักเทคโนโลยี ไม่เป็นรองอาชีพใด ๆ ประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ ได้กำหนดนโยบายสนับสนุนงานค้นคว้าวิจัยเป็นอย่างมาก จึงเกิดสถาบันค้นคว้าวิจัยที่มีผู้ทำงานเป็นกลุ่มซึ่งแต่ละคนจะฝึกฝนมาเป็นผู้ชำนาญเฉพาะด้านเฉพาะแขนง งบประมาณสำหรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น ได้จากงบประมาณแผ่นดิน แหล่งเงินทุน มูลนิธิ และบริษัทอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งให้ในรูปเงินทุนวิจัยแก่มหาวิทยาลัย หรือจัดตั้งห้องปฏิบัติการของตนเองแล้วจ้างนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรเข้าไปทำงานวิจัย การคิดค้นทฤษฎีและวิธีการประยุกต์จึงเป็นไปอย่างกว้างขวางต่อเนื่องและรวดเร็ว ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่พิมพ์เผยแพร่กันในปัจจุบันและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ มีมากมายจนไม่สามารถที่จะรวบรวมไว้ ณ ที่หนึ่งที่ใดได้หมดสิ้น เนื้อหาความรู้ในแต่ละแขนงวิชาก็มีความลึกซึ้ง และเริ่มขยายขอบเขตไปคาบเกี่ยวกับคน ในบางครั้งไม่อาจจะแยกลงไปอย่างชัดเจนว่าจัดอยู่ในสาขาใดแน่ ตัวอย่างเช่น วิชาชีวเคมี วิชาชีวฟิสิกส์ และวิศวกรรมการแพทย์ เป็นต้น (เติมศักดิ์ เศรษฐวัชราวนิช. 2540 :4-10)

วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2552

ประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์

ประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์


กาลิเลโอ: บิดาแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ
โดยทั่วไปเราถือกันว่า
วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มต้นในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ โดยมี "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่" คือ กาลิเลโอ กาลิเลอี เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป. ณ ขณะนั้น กาลิเลโอได้กำหนดลักษณะสำคัญของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ไว้ดังนี้
· ทำนายสิ่งที่เกิดขึ้นในปรากฏการณ์ธรรมชาติได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องอธิบายสาเหตุได้ เช่น ในขณะที่ยังไม่มีความรู้เรื่อง
แรงโน้มถ่วงนั้น กาลิเลโอไม่สนใจที่จะอธิบายว่า "ทำไมวัตถุถึงตกลงสู่พื้นดิน ?" แต่สนใจคำถามที่ว่า "เมื่อมันตกแล้ว มันจะถึงพื้นภายในเวลาเท่าใด ?"
· ใช้คณิตศาสตร์เพื่อเป็นภาษาหลักของวิทยาศาสตร์ (ดูหัวข้อ
คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์)
ในเวลาต่อมา
ไอแซก นิวตันได้ต่อเติมรากฐานและระบบระเบียบของแนวคิดเหล่านี้ และเป็นต้นแบบสำหรับสาขาด้านอื่นๆ ของวิทยาศาสตร์
ก่อนหน้านั้น, ในปี
ค.ศ. 1619 เรอเน เดส์การตส์ ได้เริ่มเขียนความเรียงเรื่อง Rules for the Direction of the Mind (ซึ่งเขียนไม่เสร็จ). โดยความเรียงชิ้นนี้ถือเป็นความเรียงชิ้นแรกที่เสนอกระบวนการคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และปรัชญาสมัยใหม่. อย่างไรก็ตามเนื่องจากเดส์การตส์ได้ทราบเรื่องที่กาลิเลโอ ผู้มีความคิดคล้ายกับตนถูกเรียกสอบสวนโดยโป๊ปแห่งกรุงโรม ทำให้เดส์การตส์ไม่ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ออกมาในเวลานั้น
การพยายามจะทำให้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นระบบนั้น ต้องพบกับ
ปัญหาของการอุปนัย ที่ชี้ให้เห็นว่าการคิดแบบอุปนัย (ซึ่งเริ่มต้นโดยฟรานซิส เบคอน) นั้น ไม่ถูกต้องตามหลักตรรกศาสตร์. เดวิด ฮูมได้อธิบายปัญหาดังกล่าวออกมาอย่างละเอียด คาร์ล พอพเพอร์ในความคิดลักษณะเดียวกับคนอื่นๆ ได้พยายามอธิบายว่าสมมติฐานที่จะใช้ได้นั้นจะต้องทำให้เป็นเท็จได้ (falsifiable) นั่นคือจะต้องอยู่ในฐานะที่ถูกปฏิเสธได้ ความยุ่งยากนี้ทำให้เกิดการปฏิเสธความเชื่อพื้นฐานที่ว่ามีระเบียบวิธี 'หนึ่งเดียว' ที่ใช้ได้กับวิทยาศาสตร์ทุกแขนง และจะทำให้สามารถแยกแยะวิทยาศาสตร์ ออกจากสาขาอื่นที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ได้
ปัญหาเกี่ยวกระบวนการปฏิบัติของวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเกินขอบเขตของวงการวิทยาศาสตร์ หรือวงการวิชาการ ในระบบยุติธรรมและในการถกเถียงปัญหาเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ การศึกษาที่ใช้วิธีการนอกเหนือจาก แนวปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับ จะถูกปฏิเสธ และถูกจัดว่าเป็น "
วิทยาศาสตร์ขยะ" หรือศาสตร์ปลอม




โมเดลอะตอมของบอห์ร เป็นหนึ่งในโมเดลทางวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมาก ได้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อทดสอบความถูกต้องหลายต่อหลายครั้ง ดังจะเห็นได้จากการถูกเสนอขึ้นเป็นโมเดลที่แท้จริงของอะตอมเนื่องจากอธิบายปรากฏการณ์เส้นสเปกตรัมของไฮโดรเจนได้ และในเวลาต่อมาก็ถูกคัดค้านเนื่องจากอธิบายปรากฏการณ์อื่นๆ อีกหลายอย่างไม่ได้
คำว่า "
โมเดล", "สมมติฐาน", "ทฤษฎี", และ"กฎทางกายภาพ" มีความหมายในทางวิทยาศาสตร์ไม่เหมือนกับที่ใช้กันทั่วไป นักวิทยาศาสตร์ใช้คำว่า โมเดล เพื่อหมายถึงคำอธิบายปรากฏการณ์บางอย่าง ที่สามารถนำไปใช้สร้างคำทำนายซึ่งตรวจสอบความถูกต้องได้ด้วยการทดลองหรือการสังเกต ในขณะที่ สมมติฐาน คือความเชื่อที่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนที่มากพอ และยังไม่ถูกพิสูจน์ว่าผิดพลาดด้วยการทดลอง ส่วน กฎทางกายภาพ หรือ กฎธรรมชาติ นั้น คือคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่มีนัยทั่วไป ที่วางรากฐานอยู่บนผลของการสังเกตเชิงประจักษ์
ผู้คนทั่วไปมักเข้าใจว่า ทฤษฎี นั้นหมายถึงแนวคิดที่ยังไม่มีบทพิสูจน์หรือข้อสนับสนุนที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์มักใช้คำว่าทฤษฎี เพื่อกล่าวถึงกลุ่มก้อนของแนวคิดที่ทำนายผลบางอย่าง การกล่าวว่า "ผลแอปเปิลหล่น" คือการระบุความจริง ในขณะที่
ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของนิวตันคือกลุ่มของแนวคิดที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายได้ว่าทำไมผลแอปเปิลถึงหล่น และทำนายการหล่นของวัตถุอื่นๆ ได้
ทฤษฎีที่ผ่านการทดสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนเป็นเวลานาน พร้อมกับมีหลักฐานจำนวนมากรองรับ จะถูกพิจารณาว่า "พิสูจน์แล้ว" ในความหมายทางวิทยาศาสตร์ โมเดลที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปเช่น
ทฤษฎีอาทิตย์เป็นศูนย์กลางและทฤษฎีอะตอมนั้น มีหลักฐานที่มั่นคงจนยากจะเชื่อได้ว่าจะทฤษฎีจะผิดได้อย่างไร ส่วนทฤษฎีอื่นๆ เช่น ทฤษฎีสัมพัทธภาพ, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือทฤษฎีวิวัฒนาการนั้น ผ่านการทดสอบที่เคร่งครัดอย่างมากมายโดยไม่พอข้อขัดแย้ง แต่ก็ยังเป็นไปได้ที่สักวันหนึ่งทฤษฎีเหล่านี้อาจถูกล้มล้างลง ทฤษฎีใหม่ๆ เช่นทฤษฎีสตริงอาจจะเป็นแนวคิดที่น่าเชื่อถือ แต่ก็ยังคงต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบที่หนักหน่วงเช่นเดียวกัน
นักวิทยาศาสตร์ไม่เคยกล่าวอ้างถึงความรู้สัมบูรณ์ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์แม้จะถูกพิสูจน์แล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสที่จะ
ถูกปฏิเสธได้ถ้าพบหลักฐานเพิ่มเติม แม้กระทั่งทฤษฎีพื้นฐานเอง วันหนึ่งก็อาจกลายเป็นทฤษฎีที่ไม่สมบูรณ์ได้ ถ้ามีผลการสังเกตใหม่ๆ นั้นขัดแย้งกับทฤษฎีเหล่านั้น
กลศาสตร์นิวตันที่ค้นพบโดยไอแซก นิวตันเป็นตัวอย่างที่โด่งดัง ของกฎที่ถูกพบในภายหลังว่าอาจไม่ผิดพลาด ในกรณีที่การเคลื่อนที่นั้นมีความเร็วเข้าใกล้ความเร็วแสง หรือวัตถุอยู่ใกล้กับสนามแรงโน้มถ่วงที่แรงมากๆ ในกรณีที่นอกเหนือจากนี้ กฎของนิวตันยังคงเป็นโมเดลที่เยี่ยมยอดของเคลื่อนที่และแรงโน้มถ่วง เนื่องจากทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปนั้นครอบคลุมปรากฏการณ์ทั้งหมดที่กฎของนิวตันสามารถใช้ได้ และยังสามารถใช้ในกรณีอื่นๆ ได้อีก ทฤษฎีนี้จึงถูกจัดว่าเป็นทฤษฎีที่มีความถูกต้องมากกว่า
[แก้] ปรัชญาวิทยาศาสตร์
ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของวิทยาศาสตร์ใน
ประวัติศาสตร์มนุษย์ ได้สร้างประเด็นคำถามทางปรัชญาไว้มากมาย. โดยนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ได้ตั้งคำถามทางปรัชญาที่สำคัญดังนี้
· สิ่งใดเป็นตัวแบ่งแยกความรู้ทางวิทยาศาสตร์กับความรู้ประเภทอื่นๆ เช่น โหราศาสตร์
ปรัชญาวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ในสังคมเสรี
โดย วีระ สมบูรณ์ป๋วยเสวนาคาร วันเสาร์ที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๔

ในยุคปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า องค์ความรู้สูงสุดซึ่งอยู่เหนือจารีตอื่นๆ ในสังคม ย่อมได้แก่องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทุกวันนี้เราโดยมากอาศัยวิทยาศาสตร์เป็นเกณฑ์วัดตัดสินสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมด โดยเมื่อพิจารณา (หรือไม่พิจารณา) แล้วเห็นว่าจารีตความรู้หรือวิธีการใดที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ สิ่งนั้นๆ ย่อมไม่อาจยอมรับหรือใช้การไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่นความรู้เรื่องการรักษาโรคโดยใช้ยาสมุนไพรหรือรหัสยนัยบางอย่าง เกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ย่อมไม่อาจรับรองได้ในทางประสิทธิภาพ โดยไม่ผ่านกระบวนการกรรมวิธีของตน ทั้งที่วิธีการเยียวยารักษาความป่วยไข้นั้นได้รับการยืนยันครั้งแล้วครั้งเล่าว่ามีผล
พอล ฟายเออราเบนด์ เป็นนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ และเป็นนักอนาธิปัตย์ทางวิธีการแสวงหาความรู้ ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับมายาคติว่าด้วยความถูกต้องชอบธรรมของวิทยาศาสตร์ เขาคือผู้ประกาศว่าแท้จริงแล้วการแสวงหาความรู้ของมนุษย์ (แม้แต่ในวงการวิทยาศาสตร์) หาได้มีวิธีการหนึ่งเดียวอันเป็นวิธีวิทยาตายตัวไม่ ฟายเออราเบนด์ตั้งคำขวัญว่า "อะไรก็ได้" (Anything goes) ซึ่งเป็นการต่อต้านวิธี (Against Method) ซึ่งแนวคิดดังกล่าวของนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ผู้นี้อาจสรุปได้ว่า (๑) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนนั้น ไม่มี (๒) ที่มักกล่าวกันว่าวิธีการบางอย่างที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ขัดกับความก้าวหน้านั้นไม่เป็นความจริง
เขาเห็นว่าวิธีการแสวงหาความรู้ความเข้าใจใดๆ ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อหาและเรื่องที่จะทำการศึกษาด้วย ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่สามารถหาข้อสรุปเกี่ยวกับวิธีการหรือวิธีวิทยาได้เลย โดยเขาได้ให้ตัวอย่างถึงกรณีที่แม้ในวงการวิทยาศาสตร์เอง นักวิทยาศาสตร์ก็ไม่ได้ใช้วิธีการมาตรฐานในการค้นคว้าหาความจริง ดังเช่น การค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์ ปรากฏว่านักฟิสิกส์ลือนามผู้นี้เริ่มจากการ "คิดสมมติ" ว่าหากเวลาไม่นิ่ง เราจะทำอย่างไร กล่าวคือเป็นการยอมรับว่า เมื่อปัญหานั้นเป็นเรื่องจริง จะมีสิ่งใดเกิดขึ้นติดตามมา ลำดับต่อจากนั้นเขาจึงใช้จิตนาการสร้างคำตอบขึ้น จนได้ข้อสรุปว่า หากนำเรื่องนี้มาทดลองในโลกเป็นจริงผลลัพธ์ที่ได้จะต้องมีลักษณะใด ท้ายที่สุดไอน์สไตน์จึงไปสืบค้นผลการทดลองในเงื่อนไขในจินตนาการดังกล่าว ที่มีผู้อื่นทำไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ตัวเขาเองไม่ทราบมายืนยันทฤษฎีสัมพันธภาพ
จนถึงปัจจุบัน การทวนถามความถูกต้องของจารีตที่อ้างตัวว่า ประกอบขึ้นด้วยวิธีการพิสูจน์ผลทางวิทยาศาสตร์นั้นเริ่มปรากฏชัดเจมากขึ้นเรื่อย ดังเมื่อเร็วๆ นี้ บัณฑิตยสภาของสหรัฐอเมริกา ได้จัดประชุมทางวิชาการเพื่อหาคำจำกัดความของ วิทยาศาสตร์ ผลจากที่ประชุมทำให้ได้คำจำกัดความที่มีความยาวถึง ๓๐๐ หน้ากระดาษ จนต้องตั้งคณะกรรมการเพื่อย่นย่อคำจำกัดความนั้นลงในที่สุดเหลือคำนิยามสั้นที่สุด ๓๐ หน้ากระดาษ ในนัยะหนึ่งก็เท่ากับเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า แม้วิทยาศาสตร์เองก็ไม่สามารถตอบคำถามได้ว่าในที่สุดแล้วตัวเองคืออะไร แล้วไยจึงเที่ยวไปประทับตราว่าจารีตอื่นนั้นไม่เป็นวิทยาศาสตร์
ที่กล่าวมาข้างต้นนี้คือคำถามท้าทายที่ว่าอะไรเป็นวิทยาศาสตร์
ฟายเออราเบนด์มิได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น แต่ยังตั้งคำถามต่อไปว่า แล้ววิทยาศาสตร์มีอะไรดี เขาได้นำเสนอข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพื่อแสดงให้เห็นว่า แท้ที่จริงบรรดาสิ่งที่วิทยาศาสตร์อ้างว่าเป็นผลผลิตที่มาจากตน ก็หาใช่ผลงานของวิทยาศาสตร์ไม่ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ทางการแพทย์ ซึ่งสืบเนื่องมาแต่สมัยกลางก่อนยุควิทยาศาสตร์ ความคิดเรื่องธาตุ สสาร โมเลกุล หรือปรมาณูก็เป็นความรู้ที่ก่อกำเนิดมาแต่ครั้งยุคกรีก ฯลฯ ดังนี้เป็นต้น หากสิ่งที่ทำให้จารีตวิทยาศาสตร์มีอำนาจครอบงำองค์ความรู้ส่วนใหญ่ได้ ก็เพราะวิทยาศาสตร์ได้กลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับรัฐและระบบทุนในสมัยปัจจุบัน เฉกเช่นเดียวกับที่เทวศาสตร์เคยแนบชิดกับเจ้าศักดินาในยุคกลางนั่นเอง



ปรัชญาวิทยาศาสตร์จะดีสำหรับการศึกษาธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ (อ้างอิง : มูลนิธิเสฐียร โกเศศ นาคประธีป.2545. ปรัชญาวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ในสังคมเสรี )
ปรัชญาวิทยาศาสตร์จะดีสำหรับการศึกษาธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะนำเข้าสู่การวิเคราะห์มโนทัศน์ และนำเข้าสู่การวิพากษ์วิจารณ์ทางวิทยาศาสตร์ จำเป็นจะต้องให้การสอนของครูวิทยาศาสตร์และหรือนักเรียนอยู่ในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ความไม่แน่นอนเป็นสภาพชั่วคราวขั้นต้นเป็นคุณลักษณะของวิทยาศาสตร์ทั้งหมด คุณลักษณะพื้นฐานของวิทยาศาสตร์คือความศัทธาในความเคลือบแคลงสงสัยที่จะสืบสวนในจักรวาลทางกายภาพที่มี ในแง่ของความเข้าใจและความเป็นระเบียบ ระบบ วิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมเคลื่อนไหว มากกว่าที่จะคงอยู่คงสภาพของการรวมรวม สารสนเทศแห่งความจริง ทุกๆ เรื่องในการหาเหตุผลทางวิทยาศาสตร์จะมีทั้งแบบอุปนัย และนิรนัย
ตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา ความก้าวหน้าของปรัชญาวิทยาศาสตร์ จิตวิทยาทางความคิด (cognitive psychology) และการศึกษาวิทยาศาสตร์ได้นำมาสู่การพัฒนาการปรากฏของโดเมน (emerging domain) ที่แสวงหาความเข้าใจความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Duschl.A,R; Hanmilton J.R,1992) โดยมีความเชื้อว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้สมบูรณ์ ความรู้ที่ได้จากการศึกษายังมีจุดบกพร่อง ดังนั้นใครมีข้อมูลเหตุผลสนับสนุนที่ดีกว่า ก็พร้อมที่จะยอมรับความคิดเห็นหรือความรู้ที่ถูกต้องกว่า
งานของนักวิทยาศาสตร์ศึกษา
ผู้นำด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาควรรู้ในเรื่องใด
ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบหรือผู้นำทางด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา ควรมีความรู้ในเรื่องต่อไปนี้
1. ประวัติความเป็นมาของวิทยาศาสตร์2. ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน3. วิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ4. มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์หรือจิตวิทยาศาสตร์ และมีทักษะในการใช้เครื่องมือ5. มีความสามารถที่จะทำวิจัยในทางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์6. รู้จักคิดเป็นขั้น การคิดย้อนกลับอย่างมีเหตุผล (reflective thinking)7. รู้จักปรัชญาวิทยาศาสตร์ ตรรกศาสตร์ และปรัชญาที่เกี่ยวข้อง8. มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และรู้ถึงประโยชน์ในชีวิตประจำวัน9. รู้จักอาชีพที่ใช้วิทยาศาสตร์ และการแน่แนวอาชีพ10 รู้ถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ11. รู้เรื่องการศึกษา รวมทั้งจิตวิทยา และวิธีการสอนแบบต่างๆ