วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ประวัติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางตะวันตก

ประวัติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางตะวันตก ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการสะสมความรู้ของมนุษยชาติมาเป็นเวลานาน เริ่มตั้งแต่มนุษย์ยังดำรงชีพโดยการล่าสัตว์ด้วยอาวุธที่ทำด้วยหินจนกระทั่งพัฒนาวิถีในการดำรงชีพที่เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตมากมาย อมรา ทองปาน และวีระศักดิ์ อุดมโชค (2541 : 2) กล่าวว่า นับตั่งแต่มนุษย์ Homo sapiens ได้ถือกำเนิดขึ้นมาในโลกนี้เมื่อประมาณ 40,000 ปีที่ผ่านมา มนุษย์มีวิวัฒนาการด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าลักษณะโครงร่างของมนุษย์มิได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือมีวิวัฒนาการจนแสดงความแตกต่างจากมนุษย์ในปัจจุบันมากนัก แต่มนุษย์มีวิวัฒนาการด้านอื่น เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมการศึกษาเพื่อหาความรู้ด้านต่าง ๆ จากวิวัฒนาการด้านนี้ทำให้สามารถจำแนกการเกิดมนุษย์โบราณตามลักษณะเครื่องมือเครื่องใช้ที่พบเป็นยุคต่าง ๆ เช่น มนุษย์ยุคหินเก่าและมนุษย์ยุคหินใหม่ ดังแสดงในตารางที่ 3 กล่าวได้ว่า การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของมนุษย์ยุคเริ่มแรกนั้นเป็นการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ นับแต่สิ้นสุดยุคน้ำแข็งยุคสุดท้ายเมื่อประมาณ 10,000 ปีเป็นต้นมา มนุษย์ได้เริ่มศึกษาสังเกตธรรมชาติที่รอบ ๆ ตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดกลางวัน กลางคืน ข้างขึ้น ข้างแรม ฤดูกาลต่าง ๆ และการโคจรของดวงดาว นอกจากนี้ยังศึกษาสิ่งมีชีวิตที่อยู่รอบ ๆ ตัวเราด้วย ดังนั้น วิทยาศาสตร์สมัยโบราณเกิดขึ้นควบคู่กับการเกิดอารยธรรมโบราณต่าง ๆ ได้แก่ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมอียิปต์ อารยธรรมในอเมริกากลาง และอารยธรรมใน เอเชีย ต่อจากนี้จึงเข้าสู่ยุคของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ ซึ่งเริ่มมีสูตร ทฤษฎี มีการทดลองนักวิทยาศาสตร์ในยุคนี้เป็นนักวิทยาศาสตร์ในอาณาจักรกรีกทั้งสิ้น ยุคสุดท้ายของวิทยาศาสตร์สมัยโบราณ คือ วิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นในสมัยที่มีเมืองอเล็กซานเดรียเป็นศูนย์กลางการปกครองซึ่งมีการสะสมตำรา หนังสือของวิชาความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างมาก มีหอสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลกของยุคนั้น คือ หอสมุดอเล็กซานเดรียเมื่อถึงสมัยกลาง (Middle Age) ประมาณปี ค.ศ. 476-1453 ความเจริญด้านวิทยาศาสตร์ได้ชะงักงันไปชั่วขณะ เรียกว่า "ยุคมืดทางวิทยาศาสตร์" สืบเนื่องมาจากความเชื่อทางศาสนาที่ขัดแย้งกับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ หากผู้ใดคัดค้านหรือขัดแย้งกฎเกณฑ์ทางศาสนาก็จะมีโทษถึงตาย วิวัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์จึงหยุดชะงักไป จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งเป็นสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) การศึกษาทางวิทยาศาสตร์จึงเริ่มต้นพัฒนาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาศตวรรษที่ 18 ได้มีการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ครั้งใหญ่ ทำให้วิทยาศาสตร์สาขาดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ เจริญพัฒนาขึ้น อย่างมากในยุคนี้วิทยาศาสตร์บริสุทธ์สาขาต่าง ๆ ได้พัฒนาขึ้นมาก และจัดเป็นพื้นฐานของวิชาการสาขาต่าง ๆ อย่างแท้จริง ซึ่งสามารถเปรียบเทียบความเจริญของมนุษย์ตามการศึกษาประวัติศาสตร์กับการเจริญทางวิทยาศาสตร์ ดังสรุปในตารางที่ 4
ช่วงเวลา การเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรม วัฒนธรรมภูมิอากาศในยุโรป ในโลกเก่า ในโลกใหม่ก่อนคริสต์ศักราช (B.C.) ยุคน้ำแข็งยุคสุดท้าย ยุคหินเก่าตอนปลาย 10,000 (เวิร์ม-วิสคอนซิน) การล่าสัตว์วัฒนธรรมมนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnon)9,000 การถดถอยของธารน้ำแข็ง ยุคหินเก่าตอนกลางวัฒนธรรมอากาศหนาว แห้งแล้ง ตกปลา, การล่าสัตว์และแห้งแล้ง การเก็บรวบรวมของป่า8,000 เริ่มมีวัฒนธรรมการล่าสัตว์มนุษย์ฟอลซัม(Folsom)7,000 - อาจเริ่มมีการกสิกรรม -6,000 ยุคบอเรียล (Boreal)อากาศอบอุ่น - -แห้งแล้ง5,000 ยุคแอตแลนติก (Atlantic) ยุคหินใหม่เกิดการกสิกรรม -อากาศอบอุ่น, ชุ่มชื่น และแพร่กระจายไปที่อื่น4,000 - เริ่มเกิดอารยธรรมอียิปต์-สุเมเรียน -การกสิกรรมยุคหินใหม่ในยุโรปเหนือ เริ่มมีการกสิกรรม2,000 ยุคซับบอเรียล (Subboreal) จักรวรรดิ์บาบิโลเนียน ในทวีปกาศหนาว และแห้งแล้ง (เมโสโปเตเมีย) การรุกราน อเมริกาของเผ่าอารยันสู่อินเดีย ชาวเมเดล์ และเปอร์เซีย1,000 เกิดอารยธรรมกรีก และรุ่งเรือง วัฒนธรรมถึงที่สุด แม็กซิโกและมายาตอนต้นก่อนคริสต์ศักราช ยุคซับแอตแลนติก จักวรรดิ์โรมัน การรุกรานของ วัฒนธรรมต่อกับเริ่มคริสต์ศักราช (Sub-Atlantic) กอธ (Goths) ฮั่น (Huns) มายาเสื่อมลงตอนต้น ประมาณ เกิดศาสนาอิสลามค.ศ.300ค.ศ. 1,000 การรุกรานของมองโกลและตาร์ตาร์ อารยธรรมแอทเทคส์ (Aztecs) และอินคา (Incas)การเดินทางทางเรือเพื่อต้นหาดินแดนใหม่และการล่าอาณานิคมของยุโรปค.ศ. 1,700 เริ่มยุควิทยาศาสตร์สมัยใหม่การปฏิวัติทางอุตสาหกรรม และวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ตารางที่ 3 วิวัฒนาการด้านวัฒนธรรมของมนุษย์ตั้งแต่ยุคน้ำแข็งยุคสุดท้ายจนถึงปัจจุบัน (Kupchella and Hyland, 1989) ระยะเวลา สมัยความเจริญของมนุษย์ตามประวัติศาสตร์ สมัยความเจริญของวิทยาศาสตร์ตั้งแต่โลกมีมนุษย์จนถึงยุคที่มนุษย์รู้จักการใช้โลหะ 1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Perhistoric Ages) แบ่งเป็นสมัยหินเก่า - สมัยหินใหม่ วิทยาศาสตร์สมัยโบราณ- สมัยแรกเริ่ม- สมัยกรีก- สมัยอเล็กซานเดรีย(..ถึงประมาณ ค.ศ.450)ตั้งแต่สมัยบอรนซ์หรือทองสำริด ซึ่งเป็นสมัยที่ชาติโบราณเจริญไปจนถึง ค.ศ. 476 ซึ่งจักรวรรดิโรมันเสียเอกราช แก่อนารยชน 2. สมัยโบราณ (Ancient Ages) ค.ศ. 476-ค.ศ.1453 ซึ่งเป็นปีที่จักวรรดิโรมันตะวันออกเสียอำนาจให้แก่พวกเตอร์กซึ่งแผ่อำนาจจากเอเซียเข้ามาในยุโรป 3. สมัยกลาง (Middle Ages) ตั้งแต่ต้นสมัยกลางจนถึงเกือบปลายสมัยเรียกว่าสมัยมืดมน (Dark Ages) ปลายสมัยกลางเป็นสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) วิทยาศาสตร์สมัยกลาง (ประมาณ ค.ศ. 450 ถึง ประมาณ ค.ศ. 1700)ค.ศ. 1453 - ค.ศ. 1918 ซึ่งเป็นปีที่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 4. สมัยใหม่ (Modern Ages) วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ (ประมาณ ค.ศ. 1700 ถึงปัจจุบัน)ค.ศ. 1918 - ปัจจุบัน 5. สมัยปัจจุบัน (Contemporary Ages) ตารางที่ 4 เปรียบเทียบสมัยความเจริญของมนุษย์ตามประวัติศาสตร์ และ สมัยความเจริญทางวิทยาศาสตร์ (อมรา ทองปาน และ วีรศักดิ์ อุดมโชค. 2541 : 4) จะเห็นได้ว่า การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในกระแสโลกนั้นมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไปและถ่ายเทจากฐานความรู้ความคิดเดิม ไปสู่ฐานความรู้ความคิดใหม่ เช่น จากการเกษตร ไปสู่อุตสาหกรรม จนกระทั่งถึงเทคโนโลยีสารนิเทศ เป็นต้น นอกจากนั้นนับได้ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" เป็น "วัฒนธรรม" ระบบหนึ่งด้วย ซึ่งการยอมรับวัฒนธรรมใหม่ของผู้คนในสังคมใด ๆ ย่อมมีความเกี่ยวข้องกับ "ลักษณะนิสัย" ของผู้คนในสังคมนั้น ๆ ด้วยอย่างไรก็ตามในสมัยโบราณ ไม่ใคร่มีการแยกสาขาวิชาออกมาชัดเจน นักปราชญ์แต่ละคนมักจะสนใจที่จะศึกษาความรู้ทุกด้าน วิทยาศาสตร์จึงเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญา การเรียนรู้โดยการทดลองยังมีน้อย อาจจะมีการสังเกตธรรมชาติกันบ้าง เช่น การศึกษาท้องฟ้า แต่อุปกรณ์และเทคนิคในสมัยนั้น อาจจะไม่ดีพอที่จะให้ผลที่ละเอียดแม่นยำ อย่างไรก็ตาม คนปัจจุบันก็ยังยกย่องว่าคนโบราณได้ทำการศึกษาวิชาชีววิทยาไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วนดีมากกว่าวิชาอื่น เช่น รู้ว่าปลาวาฬเป็นสัตว์ที่ต่างจากปลาประเภทอื่นทั่วไป คนปัจจุบันรู้ลึกซึ้งกว่าก็เพราะว่า มีอุปกรณ์ เช่น กล้องจุลทรรศน์เป็นเครื่องช่วย เป็นต้น

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ มนุษย์พยายามดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด มากกว่าที่จะค้นหาความรู้ทางวิชาการที่เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นอยากเข้าใจ การดำเนินชีวิตยังคงผันผวนไปตามธรรมชาติแวดล้อมโดยมนุษย์ไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขกลไกในธรรมชาติ ดังเช่นการเพาะปลูกที่ให้ผลิตผลสูงในช่วง ต้น ๆ ครั้นเมื่อดินจืด ผลิตผลเลวลงมนุษย์จะเผาป่า ย้ายไปหาที่เพราะปลูกใหม่ เฉพาะแถบริมฝั่งแม่น้ำ ที่น้ำท่วมพาโคลนมาทับถมทุกปีเท่านั้นที่สามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี แต่การที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดนี้เอง ผนวกกับความสามารถทางสติปัญญาทำให้มนุษย์เรียนรู้ทีละเล็กละน้อย ในอันที่จะเปลี่ยนแปลงกลไกธรรมชาติเพื่อปรับปรุงธรรมชาติแวดล้อมให้เหมาะกับการดำรงชีวิตของตน 1.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยเริ่มแรก ในยุคหินใหม่เมื่อประมาณ 6,000 ปี ก่อนคริสต์ศตวรรษ มนุษย์เริ่มมีการสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น มีการพัฒนาทางด้านเกษตรกรรม มีการใช้โลหะหลอม ซึ่งเรียกว่า ยุคสำริด (Bronze Age) โดยใช้ทองแดงผสมกับดีบุกเพื่อความแข็งแรง และที่สำคัญ คือ เริ่มมีการบันทึกเป็นภาษาเกิดขึ้นในอารยธรรมเริ่มแรก เช่น ก. อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (Mesopotamian Civilization) อารยธรรมเมโสโปเตเมีย เป็นอารยธรรมเก่าแก่ที่เกิดขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส (Tigris) และแม่น้ำยูเฟรตีส (Euphrates) คำว่า "เมโสโปเตเมีย" เป็นภาษากรีก หมายถึง ดินแดนที่อยู่ระหว่างแม่น้ำทั้งสอง ปัจจุบัน คือ ประเทศอิรัก ณ ที่แห่งนี้มีชนชาติต่าง ๆ อพยพเข้ามาอยู่อาศัยมากมาย แต่ละชนชาติเหล่านั้นได้นำความเจริญมาสู่เมโสโปเตเมีย เช่น ชาวสุเมเรียนได้ประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) ซึ่งเกิดจากการใช้กระดูกมีลักษณะเป็น รูปลิ่ม กดบนดินเหนียวในขณะอ่อนตัว เป็นรูปร่างต่าง ๆ เพื่อแสดงความหมายที่ต้องการ นับเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ชาวสุเมเรียนยังเริ่มมีการคิดค้นปฏิทินขึ้นใช้ โดยกำหนด 1 เดือน มี 29.5 วัน 1 ปี มี 12 เดือน และถือหน่วย 60 ในการนับวินาที และชั่วโมงชาวแคลเดียน (Chaldean) เป็นชนชาติหนึ่งที่เข้ามาอาศัยในเมโสโปเตเมีย และได้ทำให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์มีความเจริญและพัฒนามากขึ้น โดยมีความเชื่อว่าดาวเคราะห์มี 5 ดวง ประกอบด้วย ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ เมื่อรวมกับดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ ก็คือ เทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่ 7 องค์ อารยธรรมเมโสโปเตเมียได้ให้ความรู้แก่มนุษย์ชาติ และได้ใช้ตราบจนทุกวันนี้คือ 1 สัปดาห์มี 7 วัน การแบ่งหน้าปัทม์นาฬิกาเป็น 12 ช่อง ๆ ละ 1 ชั่วโมง ข. อารยธรรมอียิปต์ (Egyptian Civilization) ชนชาติอียิปต์โบราณตั้งถิ่นฐานในดินแดนลุ่มแม่น้ำไนส์ เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อน คริสต์ศักราช อารยธรรมอียิปต์ได้ให้ความรู้แก่มนุษยชาติมากมาย สืบเนื่องมาจากความเชื่อในเรื่องการกลับชาติมาเกิด ทำให้ชาวอียิปต์คิดค้นการทำมัมมี่ศพเพื่อรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยและสร้างที่บรรจุศพอย่างแข็งแรง คือ ปิระมิด การสร้างปิระมิดต้องใช้กำลังคนจำนวนมากและใช้หลักการด้านกลศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสถาปัตยกรรมที่ล้ำยุค ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันยังไม่สามารถให้คำตอบว่าคนสมัยโบราณสามารถทำได้อย่างไรเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวอียิปต์โบราณได้ประดิษฐ์อักษรฮีโรกราฟิก (Hieroglyphic) ซึ่งเป็นอักษรภาพ ต่อมาอักษรภาพนี้ได้ดัดแปลงเป็นตัวเดโมติก (Demotic) ซึ่งใช้ในภาษากรีกปัจจุบัน ชาวอียิปต์โบราณสามารถคำนวณพื้นที่ของสี่เหลี่ยมจตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้าและทรงกลม นอกจากนี้ชาวอียิปต์โบราณยังมีความรู้ด้านดาราศาสตร์อย่างดี และได้กำหนดปฏิทินของตนเอง โดยกำหนด 1 ปีมี 360 วัน และต่อมากำหนด 1 ปีมี 365 วัน โดยแบ่งออกเป็น 12 เดือน ความรู้ด้านชีวภาพของชาวอียิปต์โบราณ คือ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกายวิภาค และสรีรวิทยาของร่างกายมนุษย์ ซึ่งนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าด้านการแพทย์สาขา ต่าง ๆ โดยเฉพาะจักษุแพทย์ ทันตแพทย์ และศัลยแพทย์ ซึ่งเป็นพื้นฐานให้แก่ชาวกรีกในสมัยต่อมา ค. อารยธรรมในอเมริกากลาง (Central American Civilization) แหล่งอารยธรรมสำคัญในทวีปอเมริกากลางบริเวณแหลมยูกาตัน (Yucatan) หรือบริเวณที่เป็นประเทศกัวเตมาลา ฮอนดูรัส นิการากัว คอสตาริกา ปานามา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เปรู โบลิเวีย ชิลี และอาร์เจนตินาในปัจจุบัน ในสมัยโบราณบริเวณนี้มีชนเผ่าต่าง ๆ เข้าไปอยู่อาศัย ได้แก่ มายา (Mayas) แอสแทค (Aztecs) และอินคา (Incas) ซึ่งเชื่อกันว่า ชนเผ่าแอสเทคมีความรู้ด้านดาราศาสตร์มาก ส่วนชนเผ่าอื่น ๆ ก็มีร่องรอยของอารยธรรมที่เจริญมากเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสถาปัตยกรรมการก่อสร้าง ง. อารยธรรมในเอเซีย (Asian Civilization) อารยธรรมโบราณที่เกิดขึ้นในทวีปเอเซียมีแหล่งสำคัญอยู่ในประเทศอินเดียและจีน อารยธรรมในประเทศอินเดียมีความเจริญสูงสุดเมื่อ 3,000 - 2,000 ปีก่อนคริสตศักราช สำหรับในประเทศไทยเอง มีการขุดพบสิ่งของเครื่องใช้ที่แสดงถึงอารยธรรมที่มีความเจริญอย่างมาก และมีอายุมากกว่าที่พบในอินเดีย จีน และเมโสโปเตเมีย (สุเมธ ชุมสาย. 2529) 1.2 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยกรีก ในอาณาบริเวณรอบทะเลเอเจียน (Aegean Sea) มีกลุ่มชนเฮลเลียน (Hellenes) อาศัยอยู่และเรียกชื่อประเทศว่าเฮลลาส (Hellas) แต่คนส่วนใหญ่เรียกชนกลุ่มนี้ว่า กรีก (Greeks) กลุ่มชนพวกนี้มีการปกครองเป็นแคว้นเล็ก ๆ และมีการพัฒนาด้านปรัชญา กฎหมาย และวิทยาศาสตร์ อย่างสูงสุดซึ่งหลายสาขาวิชายังมีการใช้จนถึงปัจจุบัน แคว้นในจักรวรรดิ์กรีกที่ได้มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ได้แก่แคว้นไอโอเนีย (Ionia) เป็นสถานที่ ๆ วิทยาศาสตร์สมัยกรีกได้เริ่มเจริญ รุ่งเรืองเป็นแห่งแรก ชาวกรีกมีอักษรฟีนิเชียน (Phaenician) ใช้เพื่อบันทึกความรู้ต่าง ๆ ซึ่งอักษรนี้ ต่อมาได้พัฒนาเป็นอักษรละตินและอังกฤษ นักปรัชญา และนักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกที่สำคัญ ได้แก่ - เทลิสแห่งไมเลตุส (Thales of Milletus 636-546 ก่อน ค.ศ) ท่านผู้นี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกของกรีกและมนุษย์ชาติ ซึ่งให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และเรขาคณิต - เอมเพโดคลีส (Empedocles 495-430 ก่อน ค.ศ) ตั้งทฤษฎีธาตุสี่ (Theory of Four Humours) กล่าวว่า สิ่งมีชีวิตประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ - ฮิปโปเครตีส (Hippocrates 490-377 ก่อน ค.ศ) บิดาแห่งการแพทย์ ลบล้างความเชื่อที่ว่าโรคภัยไข้เจ็บเกิดจากการกระทำของสิ่งเหนือธรรมชาติ - อริสโตเติล (Aristotle 384-322 ก่อน ค.ศ) บิดาแห่งวิชาสัตววิทยา ธรรมชาติวิทยาและศาสตร์ด้านอื่น ๆ อีกมาก เป็นนักปราชญ์ชาวกรีกที่สำคัญ เนื่องจากคำสอนของอริสโตเติล มีการถ่ายทอดและเชื่อเถือในชนชาติต่าง ๆ นานถึง 2,000 ปี 1.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยอเล็กซานเดรียเมื่อ 334 ปีก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้เข้ายึดครองอียิปต์ เปอร์เซีย กรีก และได้จัดตั้งชุมชนเป็นศูนย์การค้าและวิทยาการที่เมืองอเล็กซานเดรีย ซึ่งอยู่ที่บริเวณปากแม่น้ำไนล์ ต่อมาเมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสิ้นพระชนม์ลงราชวงศ์โทเลอมีได้ครองเมืองต่อมาและได้ส่งเสริมการศึกษาด้านวิทยาศษสตร์สาขาต่าง ๆ อย่างมาก มีการทดลองและบันทึกข้อมูลในม้วนกระดาษปาปิรัส และรวบรวมไว้ที่หอสมุดอเล็กซานเดรีย ซึ่งจัดเป็นแหล่งสะสมวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในโลกของสมัยนั้น มีม้วนปาปิรัสมากถึง 7 แสนม้วน นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในสมัยนี้ ได้แก่ - ยูคลิด (Euclid 330-260 ก่อน ค.ศ) บิดาแห่งเรขาคณิต - อาร์คีมิดีสแห่งไซราคิวส์ (Archimedes of Syracuse 287 - 212 ก่อน ค.ศ) นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของฟิสิกส์ด้านกลศาสตร์ และเป็นนักประดิษฐ์ที่ฉลาดล้ำยุคเป็นผู้ค้นพบ กฏของคานดีดคานงัด ค้นพบว่าน้ำหนักของวัตถุที่หายไปเมื่อชั่งในน้ำจะเท่ากับน้ำหนักของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่ - โทเลอมี (Claudius Ptolemy ค.ศ. 127-170) เขียนหนังสืออัลมาเจส (Almagest) ซึ่งกล่าวว่าโลกนี้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ โคจรรอบโลก หนังสือเล่มนี้มีอิทธิพลต่อการศึกษาดาราศาสตร์ถึง 1,500 ปีต่อมา - เกเลน (Galen of Pergamum ค.ศ. 131-201) แพทย์ผู้ยิ่งใหญ่ศึกษา กายวิภาคและสรีระวิทยาของคน โดยการผ่าตัดลิงและหมู จึงทำให้ข้อมูลผิดพลาด และมีอิทธิพลต่อการพัฒนาด้านการแพทย์เกือบ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยกลาง วิทยาศาสตร์สมัยกลางเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 450-1700 วิทยาศาสตร์ในยุคนี้ยังคง เกี่ยวข้องกับวิชาปรัชญาอยู่บางส่วน และเนื่องจากมีการรุกรานแย่งดินแดน โดยอนารยชน (Barbarian) ไปยังอาณาจักรที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาก่อน โดยเฉพาะจักรวรรดิ์โรมัน ทำให้วิชาการต่าง ๆ ชะงักไปประกอบกับความเชื่อทางศาสนาจะบังคับให้ผู้สนใจค้นคว้าวิทยาศาสตร์ต้องจำกัดความคิดและการค้รคว้าด้านต่าง ๆ ลง ดังนั้นวิทยาศาสตร์สมัยกลางจึงแบ่งเป็นยุคมืด และยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ในยุคมืดนี้เกือบไม่มีความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นเลย ส่วนมากเป็นการเก็บรวบรวมและแปลตำราที่มีอยู่เดิมจากอียิปต์โบราณและกรีกโบราณ โดยชนชาติอาหรับเป็นผู้แปลจากต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอาหรับ ดังนั้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 อาหรับจึงเป็นผู้นำด้านปรัชญา และวิทยาศาสตร์ ต่อมายุโรปจึงรับความรู้จากอาหรับในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 และแปลตำราจากอาหรับกลับเป็นภาษาละตินและมีการใช้แพร่หลายในยุโรปจนถึงกลางศตวรรษที่ 14 จึงเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา หรือยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม กลางศตวรรษที่ 14 เมื่อวิทยาศาสตร์เข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ได้มีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์โดย โยฮันน์ กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg ค.ศ. 1397-1468) ชาวเยอรมัน และทำให้มีการเผยแพร่วิชาการด้านวิทยาศาสตร์ได้กว้างขวางมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในสมัยนี้ได้แก่ - ลีโอนาโด ดาวินซี ( Leonardo da Vinci ค.ศ. 1452 - 1519 ) เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจกายวิภาค กลศาสตร์ และจลศาสตร์ของไหล นับเป็นผู้ริเริ่มนำวิทยาศาสตร์เข้าสู่ยุคใหม่

การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-18 มีการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์ครั้งใหญ่มีการค้นคว้าทดลองพิสูจน์ทฤษฎีต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ ในยุคนี้มีนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ - นิโคลัส โคเพอร์นิคัส (Nicholaus Copernicus ค.ศ. 1473-1543) เป็นนักวิทยาศาสตร์เชื้อสายโปแลนด์ ได้ให้ทฤษฎีเกี่ยวกับจักรวาลว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ โลกไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล นับเป็นการปฏิวัติทางดาราศาสตร์ครั้งสำคัญ เพราะเป็นการอ้างทฤษฎีที่ค้านกับความเชื่อเดิมเมื่อ 1,500 ปีมาแล้ว ซึ่งเสนอโดย โทเลอมี - แอนเดรียส วีเซเลียส (Andreas Vesalius ค.ศ. 1514-1563) นักกายวิภาคศาสตร์ผู้ศึกษาจากศพคนจริง ๆ และคัดค้านคำสอนของเกเลน ทำให้คำสั่งสอนของเกเลนซึ่งเชื่อกันมานานถึง 1,500 ปี ถูกล้มล้างไป การศึกษากายวิภาคของคนจากร่างกายของคนจึงทำให้การพัฒนาด้านการแพทย์เจริญก้าวหน้าเข้าสู่ยุคปัจจุบันมากขึ้น - กาลิเลโอ (Galileo Galilei ค.ศ. 1564-1642) เป็นนักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ ชาวอิตาเลียน ผู้มีความคิดเห็นก้าวหน้าล้ำยุคมาก และไม่เห็นด้วยกับความเชื่อด้านวิทยาศาสตร์โบราณของอริสโตเติล โทเลอมี และเกเลน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั้งสามท่านนี้ได้มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของวิทยาศาสตร์ด้านต่าง ๆ ยาวนานกว่าพันปีทั้งสิ้น ดังนั้น กาลิเลโอจึงประสบปัญหาในการเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างมาก เพราะขัดแย้งกับคำสอนทางศาสนาอีกด้วยเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า บิดาแห่งการทดลองทางวิทยาศาสตร์เขาค้นพบของแรงดึงดูดของวัตถุของโลกในชั้นแรก และเป็นผู้ปรพดิษฐ์กล้องดูดาว ที่สามารถส่องดูการเคลื่อนไหวของดาวได้เป็นคนแรก - โยฮัน เคปเลอร์ (Johannes Kcpler ค.ศ. 11571-1630) เป็นคนแรกที่วางรากฐานเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของจักรวาล และอธิบายวิถีการโคจรของดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวง ปัจจุบันยังใช้กันอยู่เรียกว่ากฎของเคปเลอร์ เขาสรุปว่า ดวงดาวต่าง ๆ โคจรเป็นวงรีไม่ใช่วงกลม - โรเบิร์ต บอยล์ (Robert Boyle ค.ศ. 1627-1692) บิดาแห่งวิชาเคมีและเป็นคนแรกที่ผลักดันให้เกิดวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งมีการศึกษาทดลองประกอบกับการตั้งทฤษฎีโดยโจมตีแนวคิดของอริสโตเติลที่กล่าวว่าสสารประกอบด้วยธาตุ 4 ชนิด แต่บอยล์กลับกล่าวว่าสสารประดอบด้วยธาตุมากกว่านั้นมากมาย - จอห์น เรย์ (John Ray ค.ศ. 1627 - 1705) เป็นผู้เริ่มงานด้านชีววิทยา จำแนกพืชพันธุ์ไม้ต่าง ๆ เป็นหมวดหมู่และตั้งชื่อไว้ด้วย เขาจำแนกพืชต่าง ๆ กว่า 1,186,000 ชนิด ไว้เป็นหมวดหมู่ จึงได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งวิชาพฤษศาสตร์ - เอนตัน แวน เลเวนฮุก (Anton Van Leuwenhoek ค.ศ. 1632 - 1723) ได้พบวิธีฝนเนส์ และได้สร้างกล้องจุลทรรศน์ นำไปส่องดูสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ แล้วสามารถได้รายละเอียดของสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ นั้นได้ ข้อมูลของเขาทำให้ความรู้เรื่องจุลชีวันกระจ่างขึ้นมาก กล้องจุลทรรศน์ของเขาสามารถขยายได้ถึง 270 เท่า จึงได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งโลกจุลชีวัน - เซอร์ ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton ค.ศ. 1642-1727) พบกฎแห่งความโน้มถ่วงซึ่งเป็นกฎสากลอันดับแรก จึงได้รับสมญานามว่า บิดาของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และเป็นผู้ศึกษาเรื่องแสง โดยเจาะช่องเล็ก ๆ ให้แสงส่องเข้าไปในห้องมืด เมื่อเอาแท่งแก้วปริซึมวางไว้ให้แสงแดดส่งผ่าน แสงสีขาวจะกระจายเป็น 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง พร้อมกับอธิบายถึงสาเหตุของการเกิดรุ้งกินน้ำ และ สรุปแรงดึงดูดของโลก จากการสังเกตลูกแอปเปิ้ลตกลงพื้นดิน ไม่ลอยไปในอากาศ โดยเรียกกฎนี้ว่า " กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน "

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1700 เป็นต้นมา ได้เข้าสู่ยุควิทยาศาสตร์สมัยใหม่ มีการค้นพบทฤษฎีการสันดาปโดยลาวัวซิเอ ความก้าวหน้าด้านเคมีสาขาต่าง ๆ ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อม ๆ กับความก้าวหน้าด้านฟิสิกส์และกลศาสตร์ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและมีการพัฒนาของวิทยาศาสตร์ทุกสาขาเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ในการที่จะครองโลกวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีจนถึงปัจจุบันนี้ 1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกิดขึ้นในสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อ คริสตศตวรรษที่ 18 จากความก้าวหน้าทางวิทยาการในแขนงต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ในช่วง คริสตศตวรรษที่ 18 ซึ่งได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงความเชื่อถือ แนวความคิดปรัชญาวิทยาศาสตร์โบราณมาเชื่อถือปรัชญาวิทยาศาสตร์แนวใหม่ และได้นำวิธีการวิทยาศาสตร์มาใช้ทำให้ประสบผลสำเร็จเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และใช้รูปแบบทางคณิตศาสตร์มาจำลองศีกษาธรรมชาติ ทำให้เกิดการค้นพบ และการตั้งทฤษฎีใหม่ ๆ มากมาย นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ประสาทความรู้ให้กับวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสมัยนี้ได้แก่ - เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin ค.ศ. 1706-1790) ค้นพบว่าไฟฟ้าเป็นของไหล ซึ่งเป็นรากฐานทำให้ค้นพบอิเล็กตรอนในเวลาต่อมา เขาค้นพบไฟฟ้าในอากาศ ทำให้เกิดฟ้าแลบและฟ้าผ่า และแนะนำวิธีการป้องกันฟ้าผ่า โดยการประดิษฐ์สายล่อฟ้าขึ้น นอกจากนี้ยังได้เสนอแนะว่าอาการเกิดสารพิษจากตะกั่ว มักจะเกิดกับบุคคลที่ทำงานในโรงพิมพ์ - เจมส์ วัตต์ (James Watt ค.ศ. 1736-1819) เป็นผู้ปรับปรุงเครื่องจักรไอน้ำของนิวโคเมน และประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำแบบใหม่ โดยแก้ไขจุดบกพร่องจากแบบของนิวโคเมน และได้พัฒนาเครื่องจักรไอน้ำที่ทำงานระบบ "ดับเบิลแอกชัน" ทำให้ลูกล้อหมุนไปได้ซึ่งเป็นแนวทางในการประดิษฐ์รถยนต์และรถไฟในเวลาต่อมา และเป็นผู้กำหนดกำลังเครื่องจักเป็น "แรงม้า"ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม บรรยากาศทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ที่เอื้ออำนวยให้มีการประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในอังกฤษโดยรัฐเป็นผู้สนับสนุนในทุกวิถีทางที่จะทำให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ซึ่งเชื่อกันว่า จะทำให้ชาติเป็นมหาอำนาจในทางเศรษฐกิจและการเมืองได้โดยการให้ผลประโยชน์แก่ผู้ประดิษฐ์คิดค้น และหลักประกันสิ่งประดิษฐ์ ดำเนินการจัดหาแหล่งทรัพยากรและตลาดการค้า ตลอดไปจนถึงการสนับสนุนการลงทุน รวมทั้งเผยแพร่ความคิดเห็นในทางอุตสาหกรรมทำให้มีการตื่นตัวขึ้นในสังคม และแผ่ขยายอิทธิพลความคิดไปสู่นานาประเทศ ดังนั้นกระบวนการผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการของพลเมือง ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจึงเปลี่ยนจากการทำในครัวเรือนไปเป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่มีการทำงานโดยใช้ระบบแบ่งแรงงานให้แต่ละคนทำงานเฉพาะส่วน มีการศึกษาวิจัยระบบงานให้สัมพันธ์กับเวลา และใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัยในกระบวนการประกอบการอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมด้านต่าง ๆเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดปัญหาสังคมติดตามมาด้วย ผลที่เห็นได้ชัดเจน คือ คนอพยพเข้ามารวมกันทำงานในเมืองอุตสาหกรรมเกิดความแออัด ชนชั้นกรรมกรถูกกดขี่ และทารุณจนเกิดการต่อสู่ระหว่างชนชั้นขึ้น ส่วนนายทุนเริ่มมีอำนาจก็แสวงหาอาณานิคมเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นแหล่งทรัพยากร หรือเป็นตลาด ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ประสบผลสำเร็จได้เปลี่ยนแปลงความเชื่อเก่า ๆ เกี่ยวกับแนวความคิดโบราณโดยสิ้นเชิง 2 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยสงครามโลก ในประวัติศาสตร์เกือบจะไม่มีช่วงเวลาใดเลยที่โลกปลอดจากสงคราม สงครามจัดได้ว่าเป็นกิจกรรมร่วมของมนุษยชาติอย่างหนึ่งซึ่งมักใช้เป็นทางออกเมื่อเกิดข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับผลประโยชน์ ความสามารถในการประหัตประหาร ชาติพันธุ์เดียวกันของมนุษย์เหนือกว่าสัตว์ทั้งปวง อาจเป็นเพราะว่า ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในบางช่วงเวลาของประวัติศาสตร์เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะมนุษย์ได้ทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างทั้งสติปัญญาและทรัพยากรเพื่อพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ ตลอดจนกลวิธีทำลายข้าศึก ตัวอย่างเช่น เห็นได้จากวิวัฒนาการของเครื่องบินรบ ทั้งในแง่ของความเร็วและสมรรถนะ ในมหาสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศมหาอำนาจได้ผนึกกำลังนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำเข้ามาทำงานด้วยกันเป็นกลุ่มใหญ่เพื่อพัฒนาและประยุกต์วิธีการประหัตประหารแบบใหม่ ๆ ในมหาสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นั้น จัดได้ว่าเป็นสงครามเคมี เพราะมีการทำลายล้างด้วยระเบิดชนิดต่าง ๆ และแก๊ส ส่วนมหาสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ยุติลงด้วยระเบิดปรมาณูที่ทำลายล้างชีวิตมนุษย์นับแสนคนลงในชั่วพริบตา ผลจากสงครามทำให้เกิดการกระตุ้นเตือนนักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์คิดค้นให้เพิ่มความรับผิดชอบและระมัดระวังในผลงานของตนยิ่งขึ้น บุคคลหลายกลุ่มได้ผนึกตัวขึ้นต่อต้านการทำสงครามด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการเรียกร้องให้ลดกำลังอาวุธ ถึงกระนั้นก็ตามประเทศมหาอำนาจก็ยังเร่งระดมสร้างอาวุธร้ายแรงขึ้นทุกที เช่น ระเบิดไฮโดรเจน ระเบิดนิวตรอน สารพิษ และเชื้อโรค เป็นต้น ซึ่งสงครามครั้งต่อ ๆ ไป อาจหมายถึงอวสานของมนุษย์ก็เป็นได้ นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในสมัยนี้ ได้แก่- อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein ค.ศ. 1879-1955) เป็นนักฟิสิกส์คณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้ค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพอันนำไปสู่การสร้างระเบิดปรมณู และคิดค้นทฤษฎีใหม่ ซึ่งนำไปสู่การสำรวจอวกาศ 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม ช่วงนี้เป็นช่วงต่อจากสมัยการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมและอาจกล่าวได้ว่า มีผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากมายเกิดขึ้น ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษยสุขสบายความเป็นอยู่ดีขึ้นและปลอดภัยจากโลกภัยไข้เจ็บ นักวิทยาศาสตร์สมัยนี้ได้แก่ - ลาวัวซิเอ (Antoine Laurent Lavoisier ค.ศ. 1743-1794) เป็นผู้สนใจทางด้านเคมี ได้ตั้งทฤษฎีการสันดาป เขาได้ตั้งชื่อก๊าซที่ทำให้ลุกไหม้ว่า "ก๊าซออกซิเจน" และตั้งกฎทรงแห่งมวลสาร ซึ่งมีใจความว่า "มวลของสารก่อนทำปฏิกริยาย่อมเท่ากับมวลของสารหลังการทำ ปฏิกริยา" - วอลตา (Alessandro A. Volta ค.ศ. 1744-1827) ได้ทดลองใช้แผ่นสังกะสีและทองแดงตัดให้กลมคล้ายเหรียญบาทประกบสลับกัน แล้วนำปลายข้างหนึ่งจุ่มลงในอ่างน้ำที่มีเกลือและชิ้นส่วนของหนังสัตว์ปนอยู่ด้วย ปรากฎว่าเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น เขาเรียกเครื่องมือนี้ว่า "โวลทาอิกไฟล์" และเมื่อเชื่อมโวลทาอิกไฟล์หลายอันเข้าด้วยกันพบว่าเกิดประแสมากขึ้นซึ่งเป็นหลักของแบตเตอรี่ในปัจจุบัน - ลามาร์ก (Jean Baptise - Chevalier de Lamark ค.ศ.1744-1829) เขาได้สนใจเรื่องความแตกต่างและความเหมือนกันของสิ่งมีชีวิต จึงได้จัดแบ่งสัตว์เป็นหมวดหมู่และได้ตั้งกฎการใช้และไม่ใช้ ที่อธิบายว่าลักษณะด้อยจะถ่ายทอดจากบรรพบุรุษไปยังลูกหลาน และลักษณะที่ไม่จำเป็นจะค่อย ๆ เสื่อมสลายไป - เอ็ดมันด์ ฮัลลีย์ (Edmund Halley ค.ศ. 1656 - 1742 เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษศึกษาค้นคว้าหาตำแหน่งดาวฤกษ์ต่าง ๆ เขาได้บันทึกการเคลื่อนที่ของดาวหางดาวหนึ่งและได้พยากรณ์ว่าดาวหางดวงนั้นจะปรากฎให้เห็นในทุก 76 ปี และก็เป็นดังที่เขาทำนาย เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาดาวหางดวงนั้นจึงชื่อว่า "ดาวหางฮัลลีย์" - เอ็ดวาร์ด เจนเนอร์ ( Edward Jenner ค.ศ. 1749 - 1823) เป็นผู้ค้นพบวิธีลูกผีเพื่อป้องกันไข้ทรพิษ - เซอร์ ฮัมฟรีย์ เดวี (Sir Humphry Davy ค.ศ. 1778 -1829) ได้ค้นพบก๊าซไนตรัสออกไซด์ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นยาสลบได้ - แอมแปร์ (Andre- Marie Ampere ค.ศ. 1774 - 1836) เป็นผู้ค้นพบกระแสไฟฟ้าสลับ ซึ่งต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อหน่วยวัดกระแสไฟฟ้าว่า "แอมแปร์"เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา - ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday ค.ศ. 1791- 1867) เป็นผู้ค้นพบสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า พบหลักการของหม้อแปลง พบกฎการแยกสลายด้วยไฟฟ้าซึ่งยังใช้กันในปัจจุบัน - โทมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edisson ค.ศ. 1847 - 1931) เป็นนักประดิษฐ์ที่สำคัญคนหนึ่งของโลกได้ประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียงเครื่องแรกของโลก หลอดไฟฟ้าเครื่องฉายภาพยนต์ มีสิ่งประดิษฐ์ที่จดลิขสิทธิ์ 1,328 ชิ้น และที่ไม่ได้จดลิขสิทธิ์อีกมากมาย - ชาลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน (Charles Robert Dawin ค.ศ. 1809 - 1882) เป็นผู้ค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต - เกรกอร์ โยฮันน์ เมนเดล (Gregoe Johann Mendel ค.ศ. 1822-1884) เขาได้ศึกษาทดลองเกี่ยวกับการผสมพันธุ์พืช และได้สรุปเป็นกฎเรียกว่า "กฎทางพันธุ์กรรมของเมนเดล" และได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งพันธุ์กรรม - ลูเธอร์ เบอร์แบงค์ (Luther Burbank ค.ศ. 1849-1926) เขาได้ทดลองผสมพันธุ์ไม้ดอกและไม้ผล และทดลองผสมข้ามพันธุ์และเลือกพันธุ์ที่ดีที่สุดไว้ จนได้พันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพดีมากมายเขาได้สมญานามว่า "ผู้วิเศษแห่งต้นไม้" - หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur ค.ศ. 1822 - 1895) เป็นผู้ค้นพบจุลินทรีย์ และวางรากฐานทฤษฎีแบคทีเรีย ใช้วิธีการพาสเจอร์ไรเซชั่น (Pasteurization) ในการกำจัดแบคทีเรียในอาหาร โดยการทำให้อาหารอุ่น แล้วทำให้เย็นลงโดยเร็ว และยังค้นพบวิธีการทำเซรุ่มแก้พิษสนัขบ้า และผลิตวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า - ลอร์ด โจเซฟ ลิสเตอร์ (Lord Joseph Lister ค.ศ. 1827 - 1912) เป็นศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ เขาคิดว่าการเกิดหนองหลังจากการผ่าตัด อาจจะเกิดจากเชื้อโรคในอากาศ ดังนั้นจึงต้องหาวิธีกำจัดเสียก่อน เขาทดลองใช้กรดคาร์บอลิกเจือจาง ทำความสะอาดบริเวณที่จะทำการผ่าตัด และทำความสะอาดเครื่องมือ ใช้ผ้าเช็ดมือที่สะอาดขณะที่มีการผ่าตัด และได้ทดลองผ่าตัดคนไข้คนหนึ่ง ปรากฎว่าไม่มีหนอง และการอักเสบเกิดขึ้นอีกเลย 4. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยปัจจุบัน การศึกษาและการประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งครั้งหนึ่งในสมัยประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เป็นเพียงกิจกรรมส่วนหนึ่งของนักปราชญ์กลุ่มย่อยๆ ในสังคม ได้เปลี่ยนแปลงกลายมาเป็นอาชีพที่หลายคนให้ความเชื่อถือ และใฝ่ฝันที่จะได้เข้าไปมีบทบาทร่วมดำเนินการ ฐานะ และภาพพจน์ของสังคมที่มีต่ออาชีพการวิจัยและการประดิษฐ์คิดค้น ไม่ว่าจะเป็นของนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร หรือ นักเทคโนโลยี ไม่เป็นรองอาชีพใด ๆ ประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ ได้กำหนดนโยบายสนับสนุนงานค้นคว้าวิจัยเป็นอย่างมาก จึงเกิดสถาบันค้นคว้าวิจัยที่มีผู้ทำงานเป็นกลุ่มซึ่งแต่ละคนจะฝึกฝนมาเป็นผู้ชำนาญเฉพาะด้านเฉพาะแขนง งบประมาณสำหรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น ได้จากงบประมาณแผ่นดิน แหล่งเงินทุน มูลนิธิ และบริษัทอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งให้ในรูปเงินทุนวิจัยแก่มหาวิทยาลัย หรือจัดตั้งห้องปฏิบัติการของตนเองแล้วจ้างนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรเข้าไปทำงานวิจัย การคิดค้นทฤษฎีและวิธีการประยุกต์จึงเป็นไปอย่างกว้างขวางต่อเนื่องและรวดเร็ว ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่พิมพ์เผยแพร่กันในปัจจุบันและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ มีมากมายจนไม่สามารถที่จะรวบรวมไว้ ณ ที่หนึ่งที่ใดได้หมดสิ้น เนื้อหาความรู้ในแต่ละแขนงวิชาก็มีความลึกซึ้ง และเริ่มขยายขอบเขตไปคาบเกี่ยวกับคน ในบางครั้งไม่อาจจะแยกลงไปอย่างชัดเจนว่าจัดอยู่ในสาขาใดแน่ ตัวอย่างเช่น วิชาชีวเคมี วิชาชีวฟิสิกส์ และวิศวกรรมการแพทย์ เป็นต้น (เติมศักดิ์ เศรษฐวัชราวนิช. 2540 :4-10)

1 ความคิดเห็น:

  1. โดยความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมว่าวิทยาศาสตร์ค่อยๆ พัฒนาขึ้นอย่างมีลำดับและพัฒนาการของตัวเอง แต่มีบางช่วงที่วิทยาศาสตร์จะพัฒนาอย่างก้าวกระโดด แล้วผมก็เชื่อว่าในอนาคตวิทยาศาสตร์จะมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดมากขึ้น (แต่ยังคงอาศัยฐานความรู้เดิม แต่อาจจะมีบางศาสตร์ที่มีการปรับเปลี่ยนไปอย่างมาก) และที่จะเห็นได้ชัดเจน คือ การบูรณาการระหว่างศาสตร์ต่างจะเกิดมีมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน

    ตอบลบ