วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

The Selfish Gene

The Selfish Gene

ผู้แต่ง ริชาร์ด ดอว์กินส์

ตีพิมพ์ครั้งแรก ปี พ.ศ. ๒๕๓๓

ประเภท วิวัฒนาการ ปรัชญา วิเคราะห์

พิมพ์โดย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด

แนะนำโดย ชินวิทย์ เลิศบรรณพงษ์

เป็นที่ทราบกันดีว่า หนังสือจำพวกวิทยาศาสตร์ร่วมสมัย มักจะเหมาะกับผู้ใฝ่รู้ทุกเพศทุกวัย ในแง่ที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหา ที่ชวนปวดเศียรเวียนเกล้าพร้อมๆกับชวนง่วงนอน ให้กลายเป็นเนื้อหาที่ผู้คนทั่วไปอ่านเข้าใจง่าย และน่าติดตามในเวลาเดียวกันซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว จุดประสงค์อันดับแรกของผู้เขียนก็ย่อมต้องการให้ผู้อ่านในวงกว้าง “รับทราบ” ถึงความก้าวหน้าของแวดวงวิทยาศาสตร์ — อย่างน้อยก็เท่าที่ผู้เขียนคิดว่าสามารถอธิบายให้คนธรรมดาเข้าใจได้The Selfish Gene อาจเป็นหนังสืออีกเล่มที่เขียนขึ้นตามครรลองของวิทยาศาสตร์ร่วมสมัย ทว่า มันไม่ได้พอใจจะจำกัดบทบาทของตัวเองไว้เพียงแค่ตำราเรียนอ่านสนุกเท่านั้น หากพยายามก้าวข้ามขีดจำกัดของหนังสือประเภทนี้ ด้วยการท้าทายคติความเชื่อเดิมๆ ขณะเดียวกัน ก็กระตุ้นผู้อ่านในวงกว้างเข้ามา “มีส่วนร่วม” ในการขบคิดและถกเถียงประเด็นความขัดแย้งนี้ด้วยมีข้อควรระวังเล็กน้อยก่อนหยิบหนังสือเล่มนี้ ประการแรก ผู้อ่านควรมีความรู้พื้นฐานด้านชีววิทยาเบื้องต้นมาบ้าง โดยเฉพาะเกี่ยวกับกฏการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ประการที่สอง เนื้อหามองโลกในแง่ร้ายอาจไม่เหมาะสำหรับเยาวชนหรือผู้อ่านที่ยังไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอ และประการสุดท้าย นี่คือหนังสือที่ผู้อ่านควรทำความรู้จักเนื้อหาคร่าวๆของมันก่อน สำหรับพวกอนุรักษ์นิยม พวกเคร่งศีลธรรม หรือแม้แต่พวกมนุษย์นิยมบางประเภทแล้ว เนื้อหาแรงๆของ The Selfish Gene อาจทำให้น้ำลายฟูมปากได้ไม่ยากเลยในทางตรงกันข้าม สำหรับผู้ที่สอบผ่านคำเตือนดังกล่าวข้างต้นแล้ว The Selfish Gene คืออาหารสมองชั้นดีสำหรับนักอ่านที่เปิดใจกว้าง มันพูดถึงปริศนาของชีวิตในมุมกลับหัวกลับหางโดยมีหลักการวิทยาศาสตร์หนุนหลัง ขณะเดียวกัน ก็ยังสามารถนำเสนอสาระสำคัญที่น่าทึ่งและน่ากระอักกระอ่วนด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายThe Selfish Gene ยืนหยัดท้าทายความคิดความเชื่อของผู้อ่านทั่วโลกมาแล้วร่วม ๓ ทศวรรษ ได้รับการแปลเป็นภาษาอื่นๆกว่า ๒๐ ภาษา ซ้ำยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั้งแง่ชื่นชมและแง่เสียๆหายๆอย่างกว้างขวาง แน่นอน ไม่บ่อยนักที่จะมีหนังสือวิทยาศาสตร์ร่วมสมัยผ่านร้อนผ่านหนาวอย่างทรหดขนาดนี้ และนั่นก็คงเป็นคำจำกัดความของหนังสือได้อย่างดีก่อนที่คุณจะตัดสินใจอ่านมันในช่วงแรก ผู้เขียนพยายามทำความเข้าใจเบื้องต้นกับผู้อ่านเกี่ยวกับภาพกว้างๆของหนังสือเล่มนี้ ดอว์กินส์อ้างว่า ศีลธรรมอันดีของมนุษย์ไม่ได้มีเหตุผลทางทฤษฎีรองรับอยู่เลย การคาดหวังให้มนุษย์ปฏิบัติต่อกันด้วยความกรุณาและปราศจากความเห็นแก่ตัวนั้นขัดกับธรรมชาติของเราเอง เขาไม่ได้กล่าวโทษมนุษย์หรือยีนว่าเป็นต้นเหตุแห่งความชั่วร้าย แต่ “ความเห็นแก่ตัว” เป็นเรื่องปรกติธรรมดาสำหรับกฏการคัดเลือกโดยธรรมชาติยิ่งไปกว่านั้น หน่วยมูลฐานที่ผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาตินั้นไม่ใช่การคัดเลือกกลุ่ม หรือ การคัดเลือกเผ่าพันธุ์ อย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกัน การยึดถือเอาว่าสิ่งมีชีวิตเป็นผลผลิตของกระบวนการวิวัฒนาการ จึงอาจเป็นการทึกทักเอาเองจากวิธีมองโลกโดยยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ดอว์กินส์เสนอว่า หน่วยมูลฐานที่ผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติคือ ยีน นั่นหมายความว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ไม่ว่าปรสิต ต้นไม้ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หรือแม้แต่มนุษย์ อาจเป็นเพียงเกราะหุ้มหรือเครื่องกลสำหรับการดำรงชีวิตของยีนกลุ่มหนึ่งเท่านั้นดอว์กินส์ยังกล่าวอ้างถึงความสำเร็จในการสร้างโมเลกุลอินทรีย์ในห้องทดลอง ซึ่งเลียนแบบสภาพแวดล้อมโลกยุคดึกดำบรรพ์ การทดลองดังกล่าวยืนยันถึง ความเป็นไปได้ที่จะเกิดโมเลกุลอินทรีย ์ในมหาสมุทรยุคดึกดำบรรพ์ จนกระทั่ง ๓.๕ พันล้านปีก่อน มันจึงเริ่มมีความสามารถจำลองตัวเองได้ และอีกหกร้อยล้านปีให้หลัง นักจำลองตัวเองเหล่านี้ก็อาศัยอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และถูกเรียกโดยมนุษย์ว่า “ยีน”จากนั้นเขาจึงนำพาผู้อ่านไปรู้จักยีน โครโมโซม และดีเอ็นเอ ยีนหนึ่งๆ ต้องแย่งพื้นที่จำกัดบนโครโมโซมกับยีนคู่ตรงข้ามของมันเอง ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการอยู่รอดของตัวเอง ด้วยการลดโอกาสการอยู่รอดของศัตรู พฤติกรรมลักษณะนี้ผู้เขียนให้นิยามไว้ว่าเป็น ความเห็นแก่ตัวของยีน นอกจากนี้ โอกาสการอยู่รอดของตัวอ่อน – เครื่องกลเพื่อความอยู่รอด - ก็หมายถึงโอกาสการอยู่รอดของยีนเท่าๆกัน ต่อเมื่อผ่านพ้นช่วงที่ยีนจำลองตัวเองสำเร็จแล้ว เครื่องกลเพื่อความอยู่รอดจึงหมดประโยชน์ แก่ลง และตายจากไป อย่างไรก็ตาม หน่วยเล็กๆ จำนวนมากของยีนจะยังคงเพิ่มจำนวนและดำรงอยู่ในรุ่นลูก รุ่นหลาน และรุ่นต่อๆไปตลอดกาลสิ่งมีชีวิตต่างมีวิวัฒนาการที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ เพื่อปกป้องยีนที่อยู่ภายใน กระนั้น จิตสำนึกของเราก็ไม่ได้ถูกยีนบงการอยู่ตลอดเวลา ดอว์กินส์เปรียบเทียบประเด็นนี้ไว้อย่างน่าสนใจกับคอมพิวเตอร์ ที่ถูกโปรแกรมให้แข่งขันหมากรุกกับมนุษย์ นักเขียนโปรแกรมมีหน้าที่เพียง โปรแกรมให้คอมพิวเตอร์มีศักยภาพดีพอที่จะแข่งขันเท่านั้น แต่นักเขียนโปรแกรมไม่ได้มีส่วนร่วมใดใด กับการตัดสินใจของคอมพิวเตอร์ ระหว่างการแข่งขันเลย ยีนก็เช่นกัน มันไม่ได้มีอิทธิพลโดยตรง ต่อกระบวนการตัดสินใจของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน หากแต่มีส่วนต่อการกำหนดคุณสมบัติต่างๆมาตั้งแต่ต้น ซึ่งถ้าหากคุณสมบัติดังกล่าวส่งผลเสียต่อการดำรงชีวิต ณ สภาพแวดล้อมหนึ่งๆแล้ว ทั้งเครื่องกลเพื่อความอยู่รอดและยีนของมันก็จะต้อง “ถูกคัดออก” ในที่สุด“Good of the species” – ประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต - เป็นอีกวลีหนึ่ง ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะอนุมานเอาเองจากทฤษฎีวิวัฒนาการ ในมุมมองของการคัดเลือกกลุ่ม หรือชนิด ในความเป็นจริง การใช้กลยุทธหรือกลอุบายต่างๆ ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันเท่านั้น แต่มันยังแพร่หลายในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันด้วย เนื้อหาช่วงกลางของหนังสือแสดงให้เห็นว่า สิ่งมีชีวิตหนึ่งจะพยายามใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตอีกตัวหนึ่ง – ที่ไม่ใช่ลูกหลานหรือญาติใกล้ชิด - ราวกับมันเป็นเพียงสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งเท่านั้น ดอว์กินส์ยังอ้างถึงทฤษฎีเกม ที่นำมาประยุกต์กับสาขาชีววิทยาวิวัฒนาการ เพื่ออธิบายปฏิสัมพันธ์ของพฤติกรรมสัตว์ ทั้งระหว่างชนิดเดียวกัน และระหว่างชนิดต่างกัน ทั้งนี้ การคำนวณอัตราส่วนความเสถียรทางวิวัฒนาการ จะสามารถแสดงภาพคร่าวๆว่า สิ่งมีชีวิตซึ่งมีพฤติกรรมลักษณะหนึ่ง จะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไร ท่ามกลางสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีพฤติกรรมอีกแบบหนึ่ง ภายใต้กฏการคัดเลือกโดยธรรมชาติเป้าหมายสูงสุดของยีนหนึ่งๆ คือ การเพิ่มจำนวนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ใน ดังนั้น ยีนจะพยายามสำเนาตัวเองที่อาศัยอยู่ในเครื่องกลเพื่อความอยู่รอดอีกตัวหนึ่ง ความช่วยเหลือเกื้อกูลในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอาจถูกมองว่าเป็นความกรุณา แต่อีกนัยหนึ่ง มันก็คือความเห็นแก่ตัวอีกรูปแบบของยีน ความสัมพันธ์ใกล้ชิดของยีนในแต่ละปัจเจก จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญ ในการตัดสินใจของเครื่องกล เพื่อความอยู่รอด เช่น ความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่าง พ่อแม่-ลูก หรือ พี่-น้อง ที่มีค่าความเกี่ยวดองสูงถึงร้อยละห้าสิบ ย่อมมีความกรุณาต่อกัน มากกว่าความสัมพันธ์ที่เป็นญาติห่างๆ หรือสิ่งมีชีวิตเดียวกันแต่ไม่มีความเกี่ยวดองกันเลยดอว์กินส์มองว่ามนุษย์ในยุคปัจจุบันเป็นข้อยกเว้นประการหนึ่ง เนื่องจากการคุมกำเนิด และรัฐสวัสดิการ จัดเป็นกระบวนการที่ฝืนธรรมชาติ แม้จะสามารถเป็นตัวแทนของความกรุณาระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองได้ ในระดับหนึ่ง แต่มันก็เพิ่งเริ่มต้นได้เพียงอึดใจเดียวเท่านั้น เมื่อเทียบกับประวัติศาสตร์อันยาวนานของเราเขาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของพ่อแม่-ลูก-พี่-น้อง และหว่างพฤติกรรมของเพศผู้-เพศเมีย โดยอาศัยค่าความเกี่ยวดอง และอัตราส่วนความเสถียรทางวิวัฒนาการเข้ามาช่วย ดอว์กินส์อ้างถึงกลยุทธต่างๆ ที่ลูกแต่ละตัวใช้ เพื่อดึงดูดทรัพยากรจากพ่อแม่ ให้ได้มากกว่าพี่น้องของมันเอง นอกจากนี้ พ่อและแม่ก็ย่อมมีกลยุทธ ที่จะผลักภาระการเลี้ยงดูลูกให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเช่นกัน อย่างไรก็ดี ด้วยแรงกดดันทางวิวัฒนาการ สิ่งมีชีวิตเพศผู้จึงมักมีเซลล์สืบพันธุ์ที่มีขนาดเล็ก และคล่องตัวกว่า ดังนั้น ต้นทุนการเลี้ยงดูลูกจึงตกอยู่กับเพศเมียเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่เพศผู้มีแนวโน้มที่จะละเลยการเลี้ยงดูลูก หรือแม้แต่ละทิ้งลูก เพื่อไปสืบพันธุ์กับเพศเมียตัวอื่นๆในช่วงท้าย ดอว์กินส์ใช้ความคล้ายคลึงจากการจำลองตัวเองของยีน มาเทียบเคียงกับการจำลองตัวเองของแนวคิด – มีม – หมายถึง ชุดของแนวคิดที่จำลองตัวเองโดยผ่านการสื่อสารของมนุษย์ เช่น ความเชื่อทางศาสนา การเมือง วัฒนธรรมป๊อป รายการทีวี หรือแม้แต่หนังสือเล่มนี้เป็นต้น เช่นเดียวกับยีน มีมย่อมมีจุดมุ่งหมาย เพื่อจำลองตัวเองให้มีจำนวนมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ โดยกำจัดมีมที่ขัดแย้งกันออกไป โดยผ่านสื่อกลางคือ มนุษย์หกพันล้านคนทั่วโลกนั่นเองโดยสรุปแล้ว แม้ในปัจจุบัน นักชีววิทยาจะหันมาสนใจ เกี่ยวกับการคัดเลือกหลายลำดับกันมากขึ้น แต่นักชีววิทยาสมัยใหม่จำนวนมากก็มองว่า ทฤษฎีการคัดเลือกโดยยีน ยังคงสามารถอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ในกระบวนการวิวัฒนาการได้อย่างน่าพอใจกระนั้น นอกเหนือจากภาคทฤษฎีแล้ว ข้อสังเกตบางประการของดอว์กินส์ ก็ใช่ว่าจะหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ยืนยันได้ทั้งหมด ดังนั้น การอ่านหนังสือเล่มน ี้จึงออกจะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษอยู่สักหน่อย แต่ถึงอย่างไร The Selfish Gene ก็ไม่ควรถูกมองข้ามด้วยประการทั้งปวง สำหรับการทำความรู้จักตัวตนของพวกเรา — มนุษย์ — ในแง่มุมที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงหรืออยากพูดถึงนักริชาร์ด ดอว์กินส์ เกิดในประเทศเคนยาปี 1941 ใช้เวลาช่วงวัยเด็กในแอฟริกาตะวันออกถึงแปดปี ก่อนครอบครัวของเขาจะย้ายกลับมายังอังกฤษ ระหว่างศึกษาปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด เขาได้รับแรงบันดาลใจจากนิโก ทินเบอร์เกน นักชีววิทยารางวัลโนเบลชาวเดนมาร์ก ในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับศาสตร์ ว่าด้วยพฤติกรรมสัตว์ หรือ บุคลิกภาพวิทยาดอว์กินส์ เคยเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ ระยะสั้นๆ ก่อนย้ายกลับมาเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด และในช่วงต้นของทศวรรษ 70 นี้เอง เขาได้พัฒนา และสังเคราะห์ แนวความคิดสายบุคลิกภาพวิทยา เข้ากับทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน และชีววิทยาระดับโมเลกุลหลังจากหนังสือเล่มแรก The Selfish Gene ตีพิมพ์ในปีค.ศ. 1976 ชื่อของเขาก็เริ่มเป็นที่รู้จักทั้งในวงกว้างมากขึ้นส่วน The Extended Phenotype หนังสือเล่มสองของดอว์กินส์ ซึ่งต่อยอดจากแนวคิดในเล่มแรกโดยเพิ่มมิติทางสังคม สิ่งประดิษฐ์ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตสร้างสรรค์ขึ้น เขายังเคยปรารภไว้ครั้งหนึ่งว่า “ถ้าคุณจะอ่านหนังสือของผมแค่เล่มเดียวแล้วล่ะก็ อ่าน The Extended Phenotype เถอะ”เขายังเขียนหนังสือออกมาอย่างต่อเนื่อง หลายเล่มเข้าข่ายเบสต์เซลเลอร์ อย่างไรก็ดี ในรายชื่อหนังสือวิทยาศาสตร์ดี ๑๐๐ เล่มที่สถาบันเทคโนโลยีสตีเวนส์จัดทำขึ้น ได้ยกย่องให้เล่ม The Blind Watchmaker เป็นหนึ่งในนั้นตัวอย่างหนังสือขายดีเล่มอื่นๆ ของดอว์กินส์ ได้แก่ The Extended Phenotype (1982), The Blind Watchmaker (1986), River Out of Eden (1995), Climbing Mount Improbable (1996) และ Unweaving the Rainbow (1998)

The Selfish Gene - ยีนที่เห็นแก่ตัว ทำทุกวิธีเพื่อให้มันอยู่รอด
จากหนังสือ The selfish gene เขียนขึ้นโดย Richard Dawkins
ห่างหายจากบันทึกเล่มนี้ไปเสียนานด้วยเหตุผลหลายอย่าง สาเหตุหนึ่งก็คือ
การเขียนบันทึกเล่มนี้ต้องใช้พลังภายใน ความคิด และความรู้สึก สูงกว่าการเขียนบันทึกเล่มอื่น ๆ อาจด้วยเพราะเราเป็นเพียงมือสมัครเล่น วิทยายุทธ์จึงยังไม่สูงพอ
วันนี้จึงขอเขียนเรื่องง่าย ๆ เบาสมอง แต่ได้สาระแง่วิชาการเล็กน้อยนะคะ ช่วงนี้ได้วนเวียนอ่านพ๊อคเก็ตบุ๊คเล่มหนึ่ง หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ครั้งแรก 30 ปีที่แล้ว (1976) และเป็นหนึ่งในหนังสือที่ได้รับความนิยมของผู้เขียนท่านนี้ก็ว่าได้ นั่นก็คือหนังสือที่ชื่อว่า The Selfish Gene ที่เขียนขึ้นโดย Richard Dawkins
หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต โดยกล่าวถึงเจ้าสิ่งหนึ่งที่วิวัฒนาการตัวเองมาเป็นเวลาหลายล้านล้านปี นับตั้งแต่โลกใบนี้เกิดขึ้นมาก็ว่าได้ จนถึงตอนนี้มันก็ยังไม่มีวี่แววที่จะหยุดวิวัฒนาการเลย

สิ่งนี้เกิดขึ้นมาจากวัตถุดิบง่าย ๆ ที่โลกใบนี้มีอยู่เมื่อหลายล้านล้านปีที่แล้ว นั่นก็คือ น้ำ แสงแดด และอากาศ รวมตัวขึ้นเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ และพัฒนาความซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ ตามเวลาที่ผ่านไปจนถึงปัจจุบันมันก็ยังวิวัฒนาการตัวเองไม่หยุดยั้ง นักวิทยาศาสตร์ยังต้องตามค้นหาปริศนาและความสามารถอีกหลาย ๆ อย่าง และสิ่งนี้ปัจจุบันถูกตั้งชื่อที่เรารู้จักกันดีว่า ยีน (Gene)

ต่างคนต่างมองวิวัฒนาการในต่างแง่มุม Richard Dawkins มองว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในวิวัฒนาการคือ ยีน ในขณะที่สิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลกใบนี้ รวมทั้งมนุษย์เอง เป็นเพียงแค่พาหนะ (survival machines) ที่ถูกสร้างขึ้น ถูกควบคุม และถูกใช้ไปโดยยีนเท่านั้น

ยีนสร้างดีเอ็นเอและโครโมโซมขึ้นมาให้เป็นที่อยู่ของมัน ยีนสร้างเซลล์ขึ้นมาเพื่อป้องกันตัวเอง และเซลล์เหล่านี้รวมกันในรูปแบบที่ซับซ้อนขึ้นเป็นสิ่งมีชีวิต จุดมุ่งหมายก็เพื่อปกป้องยีนผู้เป็นเจ้านายของสิ่งมีชีวิต ให้ปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกและคู่ต่อสู้ของยีน เพื่อให้ยีนอยู่รอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งได้อย่างปลอดภัย

Richard Dawkins เสนอทฤษฎีว่า สิ่งมีชีวิตรวมทั้งมนุษย์เราเกิดมาและตายไป เช่นมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่เฉลี่ยไม่ถึงร้อยปี แต่สิ่งที่อยู่มาเป็นล้านปี ยังคงอยู่ต่อไปและวิวัฒนาการตัวเองอย่างไม่รู้จักสิ้นสุดคือ ยีน นั่นเอง
แล้วทำไม Richard Dawkins ถึงมองว่ายีนเป็นสิ่งที่เห็นแก่ตัว (selfish gene) นั่นก็เพราะยีนทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวมันเองอยู่รอด กำจัดยีนที่ไม่ดีทิ้ง และเก็บยีนที่ดีไว้ในที่พักหรือพาหนะ (ซึ่งก็คือสิ่งมีชีวิต) ที่เหมาะสม
ตัวอย่างเช่น ยีนที่ทำให้มีจงอยปากแหลม ถูกเก็บไว้ในสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่านก ยีนที่ทำให้ปีนป่ายต้นไม้ได้ไม่ร่วงตกมาง่าย ๆ ก็ถูกเก็บไว้ในสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าลิง ยีนที่ทำให้ว่ายน้ำได้ถูกเก็บไว้ในสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าปลา ยีนที่ทำให้ใช้ประโยชน์จากแสงแดดได้ถูกเก็บไว้ในสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าต้นไม้
ทั้งนก ลิง ปลา และต้นไม้ จึงจัดเป็นเพียงแค่ survival machines ให้กับยีน เพราะสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ไม่สามารถวิวัฒนาการตัวเองได้ มันเกิดขึ้นมาและมันก็ตายไป แต่สิ่งที่ถูกถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งต่อไปเรื่อย ๆ นั่นคือยีน ฉะนั้น แม้ปลารุ่นพ่อจะตายไป แต่ยีนสำหรับว่ายน้ำไม่ได้ตายไปด้วยเพราะปลารุ่นลูกยังว่ายน้ำต่อไปได้ เช่นเดียวกันกับปลารุ่นหลาน รุ่นเหลนยังคงว่ายน้ำต่อไปได้เช่นกันแม้ปลารุ่นก่อนหน้ามันจะตายไป เพราะปลาเป็นเพียงแค่ survival machine ให้ยีนสำหรับว่ายน้ำให้วิวัฒนาการตัวเองและอยู่ต่อไปเท่านั้นเอง
ในขณะเดียวกัน หากมีการกลายพันธุ์ของยีนสำหรับว่ายน้ำเกิดขึ้นระหว่างที่มีการถ่ายทอดยีนจากรุ่นพ่อไปรุ่นลูก การกลายพันธุ์นี้อาจจะทำให้ปลาว่ายน้ำไม่ได้อีกต่อไป แน่นอนว่าถ้าปลาว่ายน้ำไม่ได้ ยีนว่ายน้ำก็จะหายไปด้วย ฉะนั้น วิธีง่าย ๆ ที่ยีนว่ายน้ำใช้เพื่อไม่ให้ตัวมันสูญหายไปจากโลกนี้ก็คือ กำจัด survival machine ที่มียีนกลายพันธุ์ทิ้งไปซะ ที่เห็นชัดก็เช่น ทำให้ปลาตัวที่มียีนกลายพันธุ์ตัวนี้ฟักออกจากไข่ไม่ได้ ถ้ามันยังฟักออกมาได้ก็ให้มันตายไปตั้งแต่เกิดได้ใหม่ ๆ หรือถ้าปลาตัวนี้ยังมีชีวิตรอดต่อไปได้ ก็ทำให้มันเป็นหมันซะจะได้ไม่มีรุ่นลูกรุ่นหลานปลาที่ว่ายน้ำไม่ได้ เหล่านี้เป็นต้น
นี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งจากหนังสือเล่มนี้ ยังมีสิ่งที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้อีกหลายแง่มุม เช่น การต่อสู้กันระหว่างยีนเพื่อให้ยีนที่ดีที่สุดเท่านั้นอยู่รอด ยีนที่แพ้ต้องถูกกำจัด แต่เช่นเดียวกับนักรบ ยีนไหนล่ะจะยอมแพ้ง่าย ๆ ยีนที่แพ้ครั้งแรกพยายามหาวิถีทางอื่นเพื่อให้ตัวมันเองอยู่ได้และกลับมาต่อสู้กับยีนอื่น ๆ อีกครั้ง
ถ้ามีโอกาสเหมาะ ๆ จะแวะเวียนมาเล่าเพิ่มเติม หากใครสนใจหาหนังสือเล่มนี้มาอ่านเพิ่มเติมได้จากอ้างอิงที่ให้ไว้ค่ะ
อ้างอิง Title: The selfish gene, Author: Richard Dawkins, Publisher: Oxford University Press 3Rev Ed edition (16 Mar 2006), ISBN 978-0199291151
Selfish - Symbiosis: จากยีนเห็นแก่ตัว ถึงสัมพันธภาพแบบอิงอาศัย กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม บทความชิ้นนี้เคยได้รับการเผยแพร่แล้วที่ http://onehundredfirst.blogspot.com แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการในปัจจุบัน
หน้า 4 จาก 4
อีกมุมมองหนึ่งเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่น่าสนในเป็นของ ริชาร์ด ดอว์กิ้นส์ (Richard Dawkins, พ.ศ.2484-ปัจจุบัน) ซึ่งได้เขียนหนังสือเรื่อง The Selfish Gene ตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2519 เขากล่าวว่าตัวการที่ก่อให้เกิดวิวัฒนาการคือ ยีนในตัวสิ่งมีชีวิตนั่นเอง เพราะยีนจะเป็นหน่วยสำคัญที่บงการให้สิ่งมีชีวิตต้องทำสิ่งต่างๆเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตนั้นแสดงพฤติกรรมใดๆออกมาเพื่อให้อยู่รอดในสภาวะนั้นได้ดีที่สุด และถึงแม้จะมีข้อกล่าวแย้งถึงเรื่องการเสียสละของสิ่งมีชีวิตเช่น การที่แม่ปกป้องเพื่อให้ลูกอยู่รอดนั้น ก็อาจอธิบายได้ถึงการอุทิศตัวเองเพื่อให้สายพันธุ์ที่มียีนใกล้เคียงกันได้อยู่รอดสืบเชื้อสายต่อไปในอนาคตได้ ซึ่งทั้งหมดเป็นมุมมองที่เห็นว่ายีนนั่นเองที่เป็นศูนย์กลางของการคัดเลือกเพื่อให้เกิดวิวัฒนาการ



รายการแดนสนธยา เสนอสารคดีชุดพิเศษ ตอน โบโนโบแห่งคองโก (BONOBO) วันอังคารที่ 25 วันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม 2549 ทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี
Monday, 24 July 2006 11:19 -- บันเทิง
กรุงเทพฯ--24 ก.ค.--แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์
แกะรอยถิ่นที่อยู่ของลิงสายพันธุ์ที่คล้ายคลึงกับมนุษย์มากที่สุด ... ลิงโบโนโบ กับพฤติกรรม และปฎิสัมพันธ์ที่นุ่มนวล อ่อนโยน ซึ่งแตกต่างจากชิมแปนซี ญาติสนิทที่เราเคยรู้จักอย่างสิ้นเชิง ติดตามดูพฤติกรรม การใช้ชีวิตในผืนป่าคองโกของลิงโบโนโบทั้งฝูง กับจำนวนที่ลดลงไปทุกที
วันที่ 25 ก.ค. 49 พบเรื่องราวของเจ้าลิงหางสั้น...โบโนโบ กลางป่าวัมบ้ากับการอยู่อย่างสันติ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับลิงโบโนโบต่างฝูง ที่แสดงกิริยาข่มกัน หรือเขย่ากิ่งไม้ และสังคมของโบโนโบ ที่ตัวเมียคือผู้ปกครอง และผู้ตัดสินทุกอย่างในฝูง
วันที่ 26 ก.ค. 49 ชมภาพความเห็นอกเห็นใจของฝูงลิงโบโนโบ เมื่อเห็นลูกลิงกำพร้าถูกทำร้าย การช่วยเหลือ นกสตาริ่งที่ได้รับบาดเจ็บให้กลับมาบินได้ และวิธีการแหวกแนวในการมีเพศสัมพันธ์ของโบโนโบ ที่หมายถึงพฤติกรรมทุกอย่างที่มันทำ ทั้งการทักทาย จับมือ กอด โดยใช้เวลาแค่ 8 ถึง 10 วินาที !!!
วันที่ 27 ก.ค. 49 ติดตามความพยายามของทีมนักวิจัยในการตามหาครอบครัวลิงโบโนโบรุ่นสุดท้าย เมื่อประชากรโบโนโบลดจำนวนลงอย่างน่าใจหาย ในช่วงสภาวะสงครามในประเทศคองโก ซึ่งส่งผลให้ประชากรล่าสัตว์ เพื่อนำมาเป็นอาหาร และนำมาเร่ขายเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยง
ลิงชิมแพนซีพันธุ์เล็ก โบโนโบร่วมเพศกันเพื่อวัตถุประสงค์หลายอย่าง เช่นเข้าสังคม การแสดงการยอมรับ คลายเครียด สืบพันธุ์ และสนุกสนานไปยังงั้นเองมีการทำวิจัยด้วย พบว่ามีการร่วมเพศกันทั้งตัวผู้กับตัวผู้ ตัวเมียกับตัวเมีย ตัวเมียจู่โจมเข้าผสมพันธุ์ตัวผู้ ลิงเด็กกับลิงเด็ก ลิงแก่กับลิงเด็กก็มี สารพัดท่วงท่า หน้าชนหน้า เข้าข้างหลัง โหนเถาวัลย์ปั๊มกันกลางอากาศ เดินไปทำไป โอยสารพัด ดูแล้วฮา จนแฟนเรียกเราว่า โบโนโบ เลยเคยฉายทางช่องดิสคัฟเวอรี่ กับ แอนนิม่อลแพลนเน็ตอีกชนิด คงเป็นช้าง ไปดูนิทรรศการได้ที่เขาใหญ่ ชื่อพี่ดื้อ

วันนี้อีกเช่นกันได้ดูสารคดี Out In Nature : Homosexual Behavior in the Animal Kingdom ของช่อง National Geographic รอบสอง รอกแรกดูแบบสบาย ๆ ไม่ได้จดบันทึกอะไรไว้ คราวนี้ดูอย่างตั้งใจแล้วก็จดบันทึกเอาไว้มาเล่าสู่กันฟัง เค้าเริ่มเรื่องจากชาล์ ดาร์วิน เจ้าพ่อทฤษฎีการกลายพันธ์เพื่อการอยู่รอดของสรรพสัตว์ ทฤษฎีของดาร์วินสนับสนุนแนวความคิดการมีเพศสัมพันธ์เพื่อการผลิตซ้ำสมาชิกภายในกลุ่มสังคมของสัตว์ นักวิทยาศาสตร์ ก็ใช้แนวคิดนี้ในการอธิบายพฤติกรรมต่าง ๆ ของสัตว์ มีบันทึกในปี ค.ศ. 1892 ว่าช้างแอฟริกันที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ ทำผิดก่ออาชญากรรมทางเพศต้องห้ามของชาวคริสต์ นอกจากนี้พฤติกรรมรักร่วมเพศของสัตว์อีกหลายชนิดที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาก็ไม่ได้บันทึกถึงพฤติกรรมรักร่วมเพศของสัตว์เหล่านี้ไว้เลย แล้วเค้าก็เริ่มยกตัวอย่างพฤติกรรมรักร่วมเพศที่พบในสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น แมวน้ำช้าง ตามปกติที่ไม่ใช่ฤดูผสมพันธ์ มันจะแยกกันอยู่ตามเพศนักวิทยาศาสตร์ก็จะบอกว่าการที่ไม่มีเพศเมียเป็นสาเหตุให้เกิดพฤติกรรมรักร่วมเพศขึ้น ในฤดูผสมพันธ์มันจะมาอยู่รวมกัน ตัวผู้จะต่อสู้แย่งตัวเมีย ตัวที่ชนะจะได้เป็นเจ้าหาด (เข้าใจว่ามีเพียงไม่กี่ตัวหรืออาจจะมีตัวเดียว) ตัวผู้ที่เหลือก็ต้องหลบหน้าไป จนฤดูผสมพันธ์ผ่านพ้นไป ตัวเมียและตัวผู้เจ้าหาดก็กลับลงทะเลไป ปล่อยให้ลูกแมวน้ำอยู่กับแมวน้ำหนุ่มกลัดมันที่ไม่ได้ผสมพันธ์ในฤดูผสมพันธ์ ไอ้แมวน้ำหนุ่มพวกนี้ก็จะพากันข่มขืนลูกแมวน้ำ ไม่ว่าลูกแมวน้ำนั้นจะเป็นเพศผู้หรือเพศเมีย แมวน้ำเสือดาว ตามปกติแล้วจะเป็นนักล่าที่ดุร้าย แต่ในกรณีกับคู่ของมัน (ที่ไม่ใช่ตัวเมีย) มันจะมีความนุ่มนวลต่อกัน กวางในแอฟริกา ก็มีการแยกกันอยู่ตามเพศ ในฤดูผสมพันธุ์ก็จะมารวมตัวกัน ตัวเมียจะมีพฤติกรรมรักร่วมเพศ นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศในกวางตัวเมียก็เพื่อที่จะเรียกร้องความสนใจจากกวางตัวผู้ หรือเป็นการฝึกฝนทางเพศ การที่ตัวเมียเอาหัวโขกกันนักวิทยาศาสตร์เคยมองว่าเป็นการปฏิเสธพฤติกรรมรักร่วมเพศจากตัวเมียอีกตัวหนึ่ง แต่ก็เป็นไปได้ที่มันจะไม่ถูกใจตัวเมียตัวนั้น แต่อย่างไรก็ตามตัวเมียก็ยังผสมพันธ์กับตัวผู้ ลิงโบโนโบ ที่การมีเพศสัมพันธ์ไม่เลือกว่าตัวผู้ตัวเมีย ตัวเล็กตัวใหญ่ ไม่ว่าลิงตัวเมียจะตกไข่หรือไม่ แม้แต่คำอธิบายที่ว่ากิจกรรมทางเพศเป็นการแสดงออกถึงลำดับชั้นทางสังคมที่ลิงตัวใหญ่กว่าจะขึ้นคร่อมลิงตัวที่เล็กกว่า ก็ใช้ไม่ได้กับลิงโบโนโบ เพราะลิงตัวเล็กบางทีก็ขึ้นคร่อมลิงตัวใหญ่ มันเอากันตลอดเวลาแม้แต่ตอนกินอาหาร นักวิทยาศาสตร์ก็อธิบายอีกว่าลิงโบโนโบมีเพศสัมพันธ์เพื่อแบ่งปันอาหารแทนที่จะต่อสู้แย่งชิงอาหารแบบที่สัตว์ชนิดอื่นทำ
ลิงบาบูน ลิงตัวผู้สองตัวมีความสัมพันธ์ทางเพศต่อกัน และเป็นชีวิตคู่ที่ยาวนานหลายปี ตรงนี้เค้าเอาภาพสิงตัวผู้สองตัวทำท่ากอดกันเมื่อมีมือที่สามพยายามจะเข้ามาแทรก สักพักลิงตัวนึงก็เดินไป พร้อมกันหันมาเรียกลิงตัวผู้อีกตัวที่เป็นคู่ของมัน ทำนองว่าไปดีกว่า อย่าไปยุ่งกะมันเลย ดูน่ารักดี ปลาโลมาตัวผู้สองตัวก็มีความสัมพันธ์ที่ยาวนาน มันอาจจะโตมาด้วยกัน กอดรัดฟัดเหวี่ยงคอลเคลียมีเพศสัมพันธ์กัน แต่มันก็เดินทางไปเรื่อง ๆ หาตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์ ถ้ามันเจอตัวเมียมันก็จะแบ่งตัวเมียกัน แล้วก็แยกจากตัวเมียไป ในบางครั้งโลมาตัวผู้สองคู่ก็อาจจะอยู่ด้วยกัน ในบางครั้งโลมาสองสายพันธ์ก็อาจจะมีความสัมพันธ์ทางเพศกันเช่นโลมาด่างกับโลมาปากขวด นักวิทยาศาสตร์ก็อธิบายว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศของปลาโลมาเป็นการผนึกความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม ห่านอะไรก็ไม่รู้จำชื่อไม่ได้ ตัวผู้ ๒ตัวจะอยู่ด้วยกัน โดยมีตัวเมียหนึ่งตัว แต่ก็มีห่านตัวผู้ที่คู่กับห่านตัวเมียด้วย แต่คู่แบบห่านตัวผู้สองตัวห่านตัวเมียหนึ่งตัว ห่านตัวเมียจะสบายกว่า เพราะตัวผู้ตัวนึงทำหน้าที่คุ้มครองดูแล ไม่ให้ห่านตัวอื่นมายุ่มย่ามห่านตัวผู้อีกตัวก็ดูแลลูก ๆ ตัวเมียก็มีเวลาหากินตามสบายไม่ต้องกังวลมาก เมื่อสิ้นสุดฤดูผสมพันธุ์ตัวเมียก็จะแยกจากไป นักวิทยาศาสตร์ก็อธิบายว่าธรรมชาติค้นพบวิธีการที่จะทำให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์สูงสุด นกอะไรก็ไม่รู้จำไม่ได้อีกเหมือนกัน ตัวเมียสองตัวจะช่วยกันกกไข่ ตัวผู้ไม่มีส่วนในการเลี้ยงดูลูกนก ตัวเมียสองตัวจะผลัดกันไปหาอาหารและดูแลลูกนก นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าอาจจะเป็นเพราะสารเคมีแปลกปลอมที่ปล่อยออกสู่สภาพแวดล้อมทำให้นกมีพฤติกรรมเช่นนั้น ปลาหมึกยักษ์ตัวผู้สองสายพันธ์พยายามจะร่วมเพศกัน ตัวที่เล็กกว่าคร่อมตัวที่ใหญ่กว่าตัวมันเองถึง ๑๐ เท่า นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าในระดับความลึกขนาดนั้นการที่หมึกตัวผู้จะมีโอกาสพบหมึกตัวเมียสายพันธ์เดียวกันมันนั้นมีน้อยมาก การที่มันมาเจอตัวผู้อีกตัวนึงถึงแม้ว่าจะเป็นคนละสายพันธ์และขนาดก็ต่างกันมาก มันก็เลยไม่ปล่อยโอกาสให้หลุดลอยไป อีกสองตัวอย่างเป็นแมลงผมฟังไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่มีต่อดูดเลือดกับแมลงวัน กรณีของต่อดูดเลือดเค้าบอกว่าต่อตัวผู้กับตัวเมียพยามที่จะผสมพันธุ์กัน ต่อตัวผู้อีกตัวก็พยายามจะผสมพันธุ์กับต่อตัวผู้อีกตัวหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าต่อตัวผู้อีกตัวมีกลิ่นของต่อตัวเมียที่มันเกี้ยวอยู่ จนทำให้ต่อตัวผู้อีกตัวเข้าใจผิดว่ามันเป็นตัวเมีย แต่ต่อตัวผู้ตัวแรกก็ไม่ได้มีท่าทีขัดขืนต่อการกระทำของต่อตัวผู้อีกตัวนึงเลย กลับสงบนิ่งปล่อยให้เค้าทำ ส่วนแมลงวันนักวิทยาศาสตร์บอกมันมีระบบทางชีววิทยาเหมือนสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังเช่นมนุษย์ (นี่ละมั๊งต้นต่อของหนังเรื่อง The Fly ) ร้อยละ ๘ ของแมลงวันมีพฤติกรรมรักร่วมเพศ นักวิทยาศาสตร์สามารถเพิ่มพฤติกรรมรักร่วมเพศในแมลงวันให้สูงถึง ร้อยละ ๙๐ ได้ และท้ายสุดลิงแสมญี่ปุ่น เค้าเริ่มอธิบายว่าเมื่อ ๒๐ ปีก่อนลิงตัวเมียตัวนึงเก็บก้อนหินมาเล่น ต่อมาลิงตัวอื่น ๆ ในฝูงก็ทำตาม ฟังดูคล้าย ๆ แนวคิดแบบ Socialconstruction เลย ลิงแสมตัวเมียจะมีพฤติกรรมรักร่วมเพศ คำอธิบายก็เหมือนกับกรณีกวางที่ว่าเป็นการเรียกร้องความสนใจจากตัวผู้ แต่ก็ไม่จริงเพราะในเวลาที่ไม่มีตัวผู้ลิงตัวเมียก็มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ และการเลือกคู่ของตัวเมียก็ไม่ได้เลือกคู่ที่มีลักษณะโด่ดเด่นหรือมีความแข็งแรง เพื่อผลประโยชน์ในการปกป้องคุ้มครองอย่างที่นักวิทยาศาสตร์อธิบาย ต้อนท้ายของสารคดีเค้าให้ดูภาพลิงแสมแช่น้ำอุ่น แล้วก็บอกว่าการแช่น้ำอุ่นนักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะอากาศที่หนาวเย็น แต่ภาพลิงแช่น้ำอุ่นมันดูสบาย ๆ ผ่อนคลาย แบบคนชอบแช่น้ำอุ่นยังไงไม่รู้ เค้าสรุปตอนท้ายว่าอย่างไรก็ตามพฤติกรรมรักร่วมเพศของสัตว์เพียงไม่กี่ร้อยสายพันธุ์ไม่สามารถเปรียบได้กับจำนวนสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกนี้ เปรียบได้กับเพียงน้ำหยดหนึ่งในทะเล ต่อยังไงอีกผมก็จำไม่ได้แล้ว ประมาณว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศในสัตว์นี้ก็ยังเป็นปัญหาให้นักวิทยาศาสตร์ขบคิดกันต่อไป ครั้งแรกที่ดูสารคดีเรื่องนี้จบก็รู้สึกว่า ไอ้คำอธิบายของนักวิทยาศาสตร์ต่อพฤติกรรมรักร่วมเพศของสัตว์นั้นมันดูคล้าย ๆ กับคำอธิบายของหมอและนักจิตเวชศาสตร์ต่อพฤติกรรมรักร่วมเพศในคนเลย ไม่ใช่สาเหตุนั้นก็ต้องเป็นสาเหตุนี้ ไม่ใช่สาเหตุนี้ก็ต้องเป็นสาเหตุโน้น จนหาความปกติในพฤติกรรมรักร่วมเพศไม่ได้ แต่นี่เป็นสัตว์ที่การกระทำทุกอย่างของมันต้องมีคำอธิบายเสมอ สัตว์ไม่สามารถที่จะร่วมเพศกันเพื่อความพอใจของมันได้ ลิงแสมลงไปแช่น้ำอุ่นเพราะมันอยากจะแจ่ไม่ได้ เพราะมันเป็นสัตว์ต้องมีสัญชาติญาณของการอยู่รอด การกระทำทุกอย่างของสัตว์เพื่อการอยู่รอด เหมือนกับว่าเกิดเป็นสัตว์นี่มีชีวิตอยู่ไปวัน ๆ สืบพันธุ์เพื่อคงสายพันธ์ของมันไว้ ไม่มีความรู้สึกรู้สม ชอบพออะไรได้เลย ทุกอย่างเป็นไปตามกฎที่นักวิทยาศาสตร์อธิบายได้ ในกรณีของคน คนเป็นสัตว์ประเสริฐ คิดเป็น ชอบเป็น พฤติกรรมรักร่วมเพศในคนเลยกลายเป็นความวิปริตที่มีสาเหตุและอธิบายได้เสมอ ไม่ผิดปกติทางฮอร์โมน ก็ผิดปกติที่ยีนส์ ไม่ผิดปกติที่ยีนส์ ก็ที่สมองส่วนใดส่วนหนึ่ง ถ้าทางร่างกายไม่ผิดปกติเลย ก็ต้องเป็นครอบครัวเลี้ยงดูไม่ถูกต้อง เลี้ยงเด็กผิดเพศ พ่อแม่ไม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก ถ้าร่างกายปกติ พ่อแม่ดี ก็โทษประสบการณ์ในวัยเด็ก ถูกญาติข่มขืน หรือมีประสบการณ์ทางเพศแบบรักร่วมเพศตั้งแต่วัยเด็กทำให้ติดใจ ร้อยแปดสาเหตุที่จะมาอธิบายพฤติกรรมรักร่วมเพศ ขอสรุปด้วยสโลแกนของยาทาหน้ายี่ห้อหนึ่งว่า "แล้วคุณยังจะเชื่ออยู่อีกเหรอ"หยุดได้แล้วมาหาสาเหตุของความเป็นเกย์เป็นรักร่วมเพศนี่น่ะ ยิ่งหาก็ยิ่งตอกย้ำว่าคุณไม่ปกติ ทฤษฎีทั้งหลายโยนเข้ากองขยะไปเลย แล้วมาดูกันดีกว่าว่าไอ้พวกที่ว่าตัวเองปกติน่ะ มันผิดปกติยังไงบ้าง
ลิง การสมสู่กับเพศเดียวกันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอ แม้ว่าการสมสู่กับเพศตรงกันข้ามก็มีโอกาสกระทำได้อยู่แล้ว จะเห็นได้จาการที่ลิงตัวผู้ลูบไล้ขนให้กันและกัน การสำรวจอวัยวะเพศ การขึ้นขี่คร่อมกัน การสำเร็จความใคร่ให้กันและกัน การใช้นิ้วสอดเข้าไปในทวารหนัก การโลมเล้าให้เกิดความรู้สึกทางเพศ และการใช้ปากกับอวัยวะเพศ พฤติกรรมรักร่วมเพศในสัตว์บางชนิดเกี่ยวข้องกับบทบาททางสังคมเช่น ลิงโบโนโบ (Bonobo; pygmy chimpanzee) จะมีเซ็กส์กับเพศเดียวกันเพื่อลดความตึงเครียดหลังจากที่ต่อสู้หรือทะเลาะกะเพื่อนร่วมฝูงมา หรือเพื่อให้แน่ใจว่าจะได้อาหารส่วนแบ่ง(จากคู่ขา)มากขึ้น

พฤติกรรมรักร่วมเพศในสัตว์อื่น "
เดิมผู้คนส่วนใหญ่คิดว่ามีแต่มนุษย์ที่มีการรักร่วมเพศ ศาสนาคริสต์ถือการรักร่วมเพศเป็นบาป แต่ปัจจุบันนี้ฝรั่งหลายๆประเทศเปิดกว้างขึ้น และอนุญาตให้เพศเดียวกันแต่งงานได้ ขณะที่ศาสนาอิสลามยิ่งถือว่าเป็นความชั่วมหันต์ เพราะแม้แต่สัตว์ก็ยังไม่ทำกัน ปัจจุบันรักร่วมเพศในตะวันออกกลางเป็นเรื่องต้องห้ามร้ายแรง ถ้าจับได้อาจถูกประหารแขวนคอ คัมภีร์ไบเบิลและอัลกุรอ่านมีการระบุเรื่องราวหนึ่งเหมือนกันว่า พระเจ้าทรงบันดาลให้ไฟบรรลัยกัลป์ตกลงมาจากฟากฟ้า ทำลายล้างเมืองโสโดม และโกโมราห์จนพินาศ เพราะว่าชาวเมืองนิยมประพฤติตัวเป็นเกย์
แต่ถ้าย้อนไปก่อนหน้านั้น ในกรีกยุคโบราณ ชายรักชายถือเป็นความรักที่ประเสริฐ สูงส่งกว่าธรรมดา เพราะมันคือการถ่ายทอดพลัง วิชาความรู้แก่กันและกัน (แบบครูกับศิษย์สนิทกันมากๆเลยอาจเลยเถิดไปจึ๊กกระดึ๋ยกันบ้าง) ชายบางคนที่แต่งงานมีภรรยาแล้ว ก็ยังคงมีความสัมพันธ์ทางเพศกับเด็กหนุ่มแรกรุ่นในอเมริกาเหนือ อินเดียนแดงเผ่า Berdache เด็กชายมีความสัมพันธ์ทางเพศกับชายที่มีอายุมากกว่าโดยเป็นฝ่ายถูกกระทำชนเผ่าใน New Guinea เด็กชายอายุ 8-15 ปี ใช้ปากสำเร็จความใคร่ให้กับชายที่มีอายุมากกว่าเพื่อดูดดื่มเอาความเป็นชายและความเข้มแข็งของนักรบเข้ามาไว้ในตัว ชายที่มีอายุมากกว่าก็แต่งงานกับผู้หญิงและมีลูกหลานสืบทอดเผ่าพันธุ์ต่อไปฉะนั้นแต่เดิม ตอนที่แนวคิดทางศาสนายังไม่ครอบงำโลก พฤติกรรมต่างๆที่มนุษย์ปัจจุบันนี้เรียกว่ารักร่วมเพศ ไม่ใช่สิ่งแปลกอะไร การมีเพศสัมพันธ์กับทั้งชายและหญิงถือเป็นเรื่องปกติ แต่หลังจากศาสนาขยายอิทธิพลออกไปกว้าง กำหนดแนวคิดวิถีต่างๆของคนมากขึ้น แนวคิดต่อพฤติกรรมสมสู่กับเพศเดียวกันก็เปลี่ยนไป ถูกตีกรอบว่าเป็นเรื่องผิดธรรมชาติ ผิดไปจากแนวทางของพระเจ้า เกย์ในยุคมืดจึงต้องไม่แสดงอาการที่เรียกว่ารักร่วมเพศออกมาเพราะจะถูกสังคมลงโทษ จนมาถึงสมัยปัจจุบันที่มีการเปิดกว้างขึ้น ชาวเกย์จึงออกมาเรียกร้องสิทธิการใช้ชีวิตอย่างอิสระตามแบบของตัวเองกันมากมาย
มนุษย์ก็เหมือนกับสัตว์อื่นอีกหลายๆชนิด มีความซับซ้อนและหลากหลายทางเพศเหมือนกันมีพฤติกรรมคลอเคลียระหว่างเพศเดียวกัน (เพียงแต่มนุษย์สร้างวัฒนธรรมมาแบ่งแยกและกีดกันพฤติกรรมทางเพศมากกว่า)

1 ความคิดเห็น:

  1. น่าสนใจมากเลยครับ เป็นความรู้ใหม่ที่เพิ่งได้รู้ ถ้ามีเวลาเขียนเรื่องที่น่าสนใจอย่างนี้อีกนะครับ

    ตอบลบ